xs
xsm
sm
md
lg

มันมากับสายน้ำ “ปลาเอเลี่ยน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ฝูงสตัฟฟ์ของปลาเพคูหรือปลาจาระเม็ดน้ำจืด ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายปลาปิรินยา และเคยมีข่าวกัดอัณฑะมนุษย์
เหตุเพราะช่วงในช่วงอุทกภัยมีสัตว์สายสปีชีส์ถูกพัดพามาพร้อมกับสายน้ำ ในจำนวนนั้นมี “ปลาเอเลี่ยน” หรือปลาสายพันธุ์ต่างถิ่นที่ไหลมาพร้อมกระแสน้ำ ภายในกิจกรรม “ถนนสายวิทยาศาสตร์” จึงได้จัดนิทรรศการเพื่อให้เราได้รู้จัก

หุ่นสตัฟฟ์ของ “ปลาช่อนอเมซอน” ตัวยักษ์ใหญ่กว่าเด็กประถมตั้งตระหง่านอยู่ในตู้ปลา คือส่วนหนึ่งของนิทรรศการภายในสถานี “มาตามน้ำ Alien Species” ใน กิจกรรม “ถนนสายวิทยาศาสตร์” รับวันเด็กแห่งชาติ ปี 2555 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 ม.ค.55 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ.พระราม 6

สถานีดังกล่าวจับสถานการณ์อุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 มาเป็นบทเรียนให้เราได้รู้จักเอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) หรือสัตว์สายพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่เคยปรากฏในเขตที่พบมาก่อน แต่เมื่อนำมาปล่อยแล้วสามารถดำรงชีวิตและสืบพันธุ์ในพื้นที่นั้นได้ ซึ่งในกรณีที่บางสายพันธุ์มีความแข็งแรงจนสามารถยึดครองพื้นที่กลายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเด่น และทำให้สัตว์สายพันธุ์เดิมสูญพันธุ์หรืออาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสุขอนามัยของประชาชน สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นจัดเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์รุกราน (Invasive species)

ตัวอย่างผลกระทบจากสายพันธุ์

เป็นผู้ล่าต่อสัตว์พื้นเมืองเดิม (Predator) ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์และก่อผลเสียต่อระบบนิเวศ เช่น ปลาดุกรัสเซีย ที่เป็นตัวแก่งแย่งถิ่นที่อยู่อาศัย อาหารและพื้นที่สืบพันธุ์ของสัตว์ท้องถิ่นเดิมจนสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ เป็นต้น

เอเลี่ยนสปีชีส์นำโรคหรือปรสิต (Disease and parasite carrier) ที่สัตว์พื้นเมืองไม่มีภูมิต้านทาน เช่น ปลาจีนเป็นพาหะนำโรคหนอนสมอและราปุยฝ้าย เป็นต้น

รบกวนหรือทำลายระบบนิเวศ (Habitat Disturbance) ในท้องถิ่นเดิมมีผู้ล่าและผู้ถูกล่าอยู่ในจำนวนที่สมดุลอยุ่แล้ว แต่การเพิ่มของสัตว์ต่างถิ่นที่เข้ามาใหม่ ทำสมดุลทางนิเวศวิทยาเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบระยะยาว

ก่อการเสื่อมทางพันธุกรรม (Genetic pollution, Erosion) เอเลี่ยนสปีชีส์บางชนิดมีลักษณะทางพันธุกรรมใหล้เคียงสัตว์พื้นเมืองจนอาจผสมข้ามพันธุ์เกิดเป็นลูกผสม ทำให้ลูกรุ่นต่อไปมีอัตรารอดต่ำหรือเป็นหมัน ทำให้ความหลากลหายทางพันธุกรรมเดิมเสื่อมลง เช่น ปลาดุกรัสเซีย ทำให้พันธุกรรมปลาดุกด้านหรือปลาดุกอุยปนเปื้อน กลายเป็นลูกผสมคือปลาดุกบิ๊กอุย เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้สนใจเที่ยวชมกิจกรรมถนนสายวิทยาศาสตร์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 14 ม.ค.55 ตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. ซึ่งสามารถโดยสารรถประจำทางสาย 8, 44, 67, 92, 97 ,ปอ.44, ปอ.157,ปอ.509 และ ปอ.538 หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทั้งนี้ มีรถรับส่ง 3 จุด ได้แก่ ปากซอยโยธีใกล้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, ฝั่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอาคารจอดรถ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2577-9999 ต่อ 2108 หรือ 2109
นิทรรศการเกี่ยวกับปลาเอเลี่ยนในสถานี มาตามน้ำ Alien Species
ปลานิลที่กินกันอยู่ทุกวันก็เป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ เพราะไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่เราใช้ประโยชน์จากปลาชนิดนี้ได้ (ในภาพปลาตัวที่ 1 2 และ 4 จากบนลงล่าง คือปลานิล โดยตัวสีแดงรู้จักกันในชื่อปลาทับทิม เป็นปลานิลที่ถูกปรับปรุงให้ไม่สามารถขยายพันธุ์ในธรรมชาติได้)
เด็กๆ ชมปลาช่อนอเมซอนตัวเขื่องที่ถูกสตัฟฟ์ไว้ (ปลาช่อนอเมซอนหรือปลาอะราไพมาตัวนี้เป็นของสวนสัตว์แห่งหนึ่ง ซึ่งเสียชีวิตระหว่างขนส่ง และได้มอบให้องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาตินำไปสตัฟฟ์)
จรเข้ก็มาพร้อมสายน้ำ
ปลาดุกบิ๊กอุยที่เข้ามาสร้างปัญหาให้ปลาดุกด้านหรือปลาดุกหรือปลาดุกอุยที่เป็นพันธุ์ท้องถิ่น
ปลาช่อนพันธุ์ท้องถิ่นของไทยก็กลายเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ในแหล่งน้ำสหรัฐฯ
กำลังโหลดความคิดเห็น