xs
xsm
sm
md
lg

สมเด็จพระเทพฯ ตรัสต้องทดสอบอุปกรณ์ยังชีพก่อนแจกผู้ประสบน้ำท่วม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สกว.-สมเด็จพระเทพฯ มีพระราชดำรัสห่วงใยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งมีหลายปัญหาต้องจัดการ ทั้งเรื่องผู้ประสบภัยย้ายถิ่นมาอยู่รวมกันจนลำบากในการคัดแยกผู้ป่วย การจัดการอนามัยสัตว์และการจำกัดเชื้อโรค ตลอดจนเครื่องมือยังชีพที่ต้องทดสอบทางวิทยาศาสตร์ให้มั่นใจคุณภาพก่อนแจกจ่ายประชาชน ทั้งจุลินทรีย์บำบัด ไม้ตรวจไฟรั่ว และเครื่องกรองน้ำ พร้อมกันนี้ทรงสนพระทัยการวิจัยรวบรวมพืชหายาก เช่น ทุเรียนนนท์ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 23 พ.ย.54 พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศ. ดร. นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นำคณะผู้บริหาร สกว. พร้อมด้วย ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี 2553-2554 เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี 2553-2554 และดุษฎีบัณฑิต คปก. ดีเด่น ประจำปี 2554 เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับพระราชทานโล่เกียรติยศ เพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิจัยผู้มีผลงานดีเด่นของประเทศในแต่ละสาขาวิชา

ทั้งนี้ สกว. ได้ให้การสนับสนุนทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยตั้งแต่ พ.ศ. 2538 และยกย่องผู้รับทุนเป็น “เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมนักวิจัยที่มีจริยธรรมสูง และมีความเชี่ยวชาญในการทำงานวิจัย เครือข่ายวิจัยกว้างขวาง มีผลงานดีเด่นระดับสูงสุดของประเทศในสาขาต่าง ๆ มาช่วยกันสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสูงเพื่อสร้างศักยภาพเชิงปัญญาระยะยาวของประเทศ สามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง และตอบโจทย์วิจัยได้อย่างแท้จริง

ต่อมาในปี 2552 สกว. และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เล็งเห็นความสำคัญของอาจารย์อาวุโสระดับศาสตราจารย์ที่มีผลงานวิจัยดีเด่น จึงให้การสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อให้นักวิจัยเหล่านี้มีโอกาสพัฒนาและผลิตผลงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ชื่อทุน “ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น” ในลักษณะไตรภาคีระหว่าง สกว. สกอ. และสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การผลิตองค์ความรู้ที่จะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางวิชาการ สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดหรือก่อประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ อันรวมถึงประโยชน์เชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะ และเชิงนโยบาย

สำหรับในปี 2554 นี้ สกว. จัดให้มีรางวัล “ดุษฎีบัณฑิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกดีเด่น” ขึ้นเป็นครั้งแรกเนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจแก่ดุษฎีบัณฑิต คปก. ในทุกสาขาวิชาที่ได้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพหลังสำเร็จการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเป็นแรงผลักดันให้มีความมุ่งมั่นในการสร้างผลงานวิจัยต่อไป

หลังเสร็จพิธีพระราชทานโล่เกียรติยศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตรัสซักถามนักวิจัยที่ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมกับมีพระราชดำริกับผู้บริหาร สกว. และนักวิจัยถึงความห่วงใยสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ว่ามีปัญหาด้านการจัดการต่าง ๆ มากมาย อาทิ โรคและเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการที่ผู้ประสบอุทกภัยย้ายถิ่นฐานมาอยู่รวมกัน ทำให้การคัดแยกผู้ป่วยและโรคต่าง ๆ ทำได้ลำบาก โดยเฉพาะโรคไตที่มีปัญหาทั้งเรื่องการฟอกไตและมีผู้ป่วยไตวายจนเสียชีวิต รวมถึงเรื่องการจัดการด้านอนามัยสัตว์และการกำจัดเชื้อโรค ตลอดจนเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการยังชีพและการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งจะต้องมีการทดสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและประสิทธิภาพก่อนนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบอุทกภัย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกรองน้ำ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย ไม้วัดไฟรั่ว เป็นต้น ทั้งนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยการวิจัยและรวบรวมพันธุกรรมพืชสกุลต่าง ๆ ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ เช่น พันธุ์ทุเรียนนนท์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมด้วยเช่นกัน

อนึ่ง รายชื่อนักวิจัยที่เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติยศ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๒ จำนวน 4 ราย ได้แก่ ศ. ดร.ประเสริฐ โศภน สาขากายวิภาคศาสตร์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศ. ดร.สายชล เกตุษา สาขาเกษตรศาสตร์-สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยว สังกัดคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศ. ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม สาขาวิศวกรรมเคมี สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ.อรศิริ ปาณินท์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ศ. ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร สาขาเศรษฐศาสตร์ สังกัดศูนย์เศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี 2553 จำนวน 3 ราย ได้แก่ ศ.ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา สาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น ประจำปี 2554 จำนวน 2 ราย ได้แก่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ สาขาแพทยศาสตร์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.อารันต์ พัฒโนทัย สาขาพืชไร่ สังกัดคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประกอบด้วย เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี 2553 จำนวน 11 ราย ได้แก่ศ. ดร.เพทาย เย็นจิตโสมนัส สาขามนุษยพันธุศาสตร์และอณูชีววิทยาการแพทย์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, ศ. นพ.ธีระ ทองสง สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารก สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศ. นพ.วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด สาขาโปรตีโอมิกส์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, ศ. นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ สาขาพันธุศาสตร์คลินิก สังกัดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รศ. ดร.สุภา หารหนองบัว สาขาเคมีคอมพิวเตอร์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศ. ดร.ธวัชชัย ตันฑุลานิ สาขาเคมี สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ. ดร.รัตนา จิระรัตนานนท์ สาขาวิศวกรรมเคมี สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ศ. ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล สาขาวิศวกรรมโยธา สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ศ. ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ สาขาภาษาศาสตร์ สังกัดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ. ดร.สุวิมล ว่องวาณิช สาขาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา สังกัดคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ. ดร.สมทรง บุรุษพัฒน์ สาขาภาษาศาสตร์ สังกัดสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี 2554 จำนวน 11 ราย ได้แก่ ศ. ดร. เวช ชูโชติ สาขาปรสิตวิทยา สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศ. ดร.สาวิตรี ลิ่มทอง สาขาจุลชีววิทยา สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม สาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน สังกัดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ. ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร สังกัดคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศ. ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ สาขาเคมีพอลิเมอร์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศ. ดร.วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล สาขาเคมีอินทรีย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศ. ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ สาขาวิศวกรรมโยธา สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ศ. ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ สาขาวิศวกรรมเคมี สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ. ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ สาขาวรรณคดีไทย สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ศ. ดร.ศิราพร ณ ถลาง สาขาคติชนวิทยา สังกัดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.สุรพล นาถะพินธุ สาขาโบราณคดี นักวิจัยอิสระ

รางวัลดุษฎีบัณฑิต คปก. ดีเด่น จำนวน 8 ราย ได้แก่ ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สังกัดศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, รศ. ดร.ชัชชัย ตะยาภิวัฒนา สาขาเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สังกัดคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผศ. ดร.สุรัตน์ ละภูเขียว สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ สังกัดสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, รศ. ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สังกัด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, รศ. ดร.ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ดร.ชนากานต์ พรมอุทัย สาขาวิทยาศาสตร์เกษตรและและเทคโนโลยีการเกษตร สังกัดคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, รศ. ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย สาขาสังคมศาสตร์ สังกัดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.ปรมินท์ จารุวร สาขามนุษยศาสตร์ สังกัดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำลังโหลดความคิดเห็น