xs
xsm
sm
md
lg

“นับดาวล้านดวง” มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์เมืองไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สดร.ประกาศผลตัดสินมหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์เมืองไทย “นับดาวล้านดวง” คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ พร้อมมหัศจรรย์ภาพวัตถุอวกาศ “เนบิวลากุหลาบ”, ปรากฏการณ์ “จันทรุปราคากลางทางช้างเผือก”, จุดดำเรียงตัวบนดวงอาทิตย์ และสีสันชั้นบรรยากาศแห่งเดือน มิ.ย.คว้ารางวัลชนะเลิศอีก 4 ประเภท มอบรางวัลในงาน “มหกรรมวิทย์ 54”

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ประกาศผลการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ในหัวข้อ “มหัศจรยย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย” โดยการประกวดดังกล่าวได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และในปีนี้ได้ร่วมกับ บริษัท แคนนอนมาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด จัดกิจกรรมนี้ขึ้น และได้จัดการอบรมการถ่ายภาพดาราศาสตร์เบื้องต้นโดยวิทยากรจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ แก่ผู้สนใจ 100 คน

ผลการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ 5 ประเภท ดังนี้

1.ประเภท Deep Sky Objects
รางวัลชนะเลิศ เนบิวลาดอกกุหลาบ โดย นายพรชัย  อมรศรีจิรทร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ดาวลูกไก่และเนบิวลา โดย นายสิทธิ์   สิตไทย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 หนอนน้อย (Flaming Star Nebula) โดย ทพ.ชัยยศ   หงส์จินดาพงศ์


2. ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์


รางวัลชนะเลิศ  จันทรุปราคากลางทางช้างเผือก โดย นายณวรัญญ์ ศิริสุนทร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 สุริยุปราคาเต็มดวงที่ประเทศจีน โดย นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 สุริยุปราคา โดย นายอดิศร  จันทร์วิจิตรกุล


3. ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ


รางวัลชนะเลิศ  จุดดำบนดวงอาทิตย์เรียงตัว โดย นายคมกฤษณ์   จันกลิ่น
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จันทร์แรม 3 ค่ำ โดย นายสิทธิ์ สิตไทย
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ลูกไก่เคียงเดือน โดย นายพรชัย  อมรศรีจิรทร


4. วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์



รางวัลชนะเลิศ นับดาวล้านดวง โดย นายทวีศักดิ์ บุทธรักษา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 Star Boke โดย นายณัฐพงศ์   วงษ์ชุ่ม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เส้นดาว..แสงเดือน โดย นายโอภาส ชาญมงคล


5. ปรากฏการณ์ในบรรยากาศโลก



รางวัลชนะเลิศ Color of June โดย นายไพศาล  ช่วงฉ่ำ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 หมวกเมฆสีรุ้ง โดย นายทัศนัย สุขขีวรรณ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ขอบโลก ขอบอากาศ ขอบอวกาศเหนือประเทศไทย โดย นายปฏิพัทธ์ สุสำเภา
สำหรับภาพที่ได้รางวัลนั้น สดร.จะนำไปจัดทำเป็นสื่อทางดาราศาสตร์เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นปฏิทินดาราศาสตร์ ภาพประกอบสื่อดาราศาสตร์ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมภาพถ่ายทางดาราศาสตร์สัญจรไปตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้ประชาชน นิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสสัมผัสความสวยงาม ความมหัศจรรย์ของท้องฟ้า ดวงดาว รวมถึงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ได้อย่างทั่งถึง

ทั้งนี้ จะมีพิธีมอบรางวัลภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2554 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ชมภาพที่ได้รับรางวัลเพิ่มเติม Click!
กำลังโหลดความคิดเห็น