ทีเซลส์ - ชีววิทยาศาสตร์คือทางรอดในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว TCELS เชิญชวน นักวิชากการ นักวิจัย และอาจารย์ ร่วมส่งบทคัดย่อผลงานวิจัยที่สามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ และต่อระบบสุขภาพได้ พร้อมให้ทุนสนับสนุนและผลักดันเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ มั่นใจกู้วิกฤติได้หากนำไปใช้อย่างเต็มรูปแบบ
นายจรัญ จักรวาลชัยศรี รักษาการณ์ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) กล่าวว่า TCELS มีวัตถุสงค์ที่จะส่งเสริมงานต่อยอดงานวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจชีววิทยาศาสตร์สู่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนส่งเสริมงานวิจัยต่อยอดที่มีความจำเป็นและสำคัญต่อระบบสุขภาพและเศรษฐกิจในองค์รวม
ดังนั้นจึงขอเชิญชวนนักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ ร่วมส่งบทคัดย่อผลงานวิจัย มายังTCELS โดยเราจะให้ทุนสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการสู่เชิงธุรกิจ และจะนำผลการศึกษาดังกล่าวใช้เป็นข้อมูลประกอบการให้ทุนสนับสนุนโครงการให้เกิดผลเชิงพาณิชย์ และช่วยเหลือสังคมต่อไป
โครงการวิจัยที่นำเสนอมานั้นต้องเป็นโครงการที่ดำเนินการในประเทศไทย และผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาขั้นพื้นฐานแล้วความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 ภายใต้กรอบการวิจัย 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 การพัฒนาเภสัชภัณฑ์ สารสกัด และผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบธรรมชาติ
กลุ่มที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการจากเทคโนโลยีใหม่ เช่น Regenerative medicine : stem cells, Biological products : vaccine,Medical devices and equipment,Genomics/Biomarker/Genes diagnostics
สำหรับหลักการประเมินนั้น จะพิจารณาใน 2 มิติ คือ มิติที่ 1 ความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม ความพร้อมทางเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ ที่มาของนวัตกรรมและความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐาน มิติที่ 2 พิจารณาถึงความเป็นได้ในการดำเนินการเชิงธุรกิจ การลงทุน การตลาด ความสนใจของนักลงทุน โอกาสและระยะเวลาในการคืนทุน โดยสามารถส่งงานวิจัยได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2552 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.tcels.or.th โทร.0-2644-5499 ต่อ 142 หรือ suwimon@tcels.or.th
นายจรัญ จักรวาลชัยศรี รักษาการณ์ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) กล่าวว่า TCELS มีวัตถุสงค์ที่จะส่งเสริมงานต่อยอดงานวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจชีววิทยาศาสตร์สู่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนส่งเสริมงานวิจัยต่อยอดที่มีความจำเป็นและสำคัญต่อระบบสุขภาพและเศรษฐกิจในองค์รวม
ดังนั้นจึงขอเชิญชวนนักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ ร่วมส่งบทคัดย่อผลงานวิจัย มายังTCELS โดยเราจะให้ทุนสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการสู่เชิงธุรกิจ และจะนำผลการศึกษาดังกล่าวใช้เป็นข้อมูลประกอบการให้ทุนสนับสนุนโครงการให้เกิดผลเชิงพาณิชย์ และช่วยเหลือสังคมต่อไป
โครงการวิจัยที่นำเสนอมานั้นต้องเป็นโครงการที่ดำเนินการในประเทศไทย และผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาขั้นพื้นฐานแล้วความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 ภายใต้กรอบการวิจัย 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 การพัฒนาเภสัชภัณฑ์ สารสกัด และผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบธรรมชาติ
กลุ่มที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการจากเทคโนโลยีใหม่ เช่น Regenerative medicine : stem cells, Biological products : vaccine,Medical devices and equipment,Genomics/Biomarker/Genes diagnostics
สำหรับหลักการประเมินนั้น จะพิจารณาใน 2 มิติ คือ มิติที่ 1 ความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม ความพร้อมทางเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ ที่มาของนวัตกรรมและความพร้อมทางโครงสร้างพื้นฐาน มิติที่ 2 พิจารณาถึงความเป็นได้ในการดำเนินการเชิงธุรกิจ การลงทุน การตลาด ความสนใจของนักลงทุน โอกาสและระยะเวลาในการคืนทุน โดยสามารถส่งงานวิจัยได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2552 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.tcels.or.th โทร.0-2644-5499 ต่อ 142 หรือ suwimon@tcels.or.th