ไอแท็ป - โครงการไอแท็ปนำผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาของไทย บินลัดฟ้าสู่ประเทศเยอรมนี หวังเปิดโลกทัศน์ใหม่ด้านเทคโนโลยีในงานมหกรรมสารออกฤทธิ์สำหรับการผลิตยาแผนปัจจุบัน “CPhI Worldwide 2008” เวทีงานแสดงนวัตกรรมความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมยาระดับแนวหน้าของโลก พร้อมนำเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันชั้นนำ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยาของไทยต่อไปในอนาคต
ตามที่โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือไอแท็ป (iTAP) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทำ “ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตยาแผนปัจจุบัน” เป็นการสนับสนุนและช่วยผลักดันให้บริษัทผู้ผลิตยาเอกชนของไทยเกิดการตื่นตัวและเร่งพัฒนาศักยภาพของกลุ่มอุตสาหกรรมยา ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันสู่ระดับสากลรวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนายาในรูปแบบใหม่ๆ ( New Generic Drugs ) เพื่อสามารถทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
ล่าสุดโครงการ iTAP ได้ร่วมกับหอการค้าเยอรมัน–ไทย จัดกิจกรรมกรเสาะหาเทคโนโลยีต่างประเทศ โดยการนำผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาไทยที่เข้าร่วมโครงกรฯ เดินทางไปร่วมงานแสดงมหกรรมสารออกฤทธิ์ สำหรับผลิตยาแผนปัจจุบันระดับนานาชาติ หรือ ที่เรียกว่า “ CPhI Worldwide 2008” เมือง Frankfurt ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 27 ก.ย. – 5 ต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นงานแสดงนวัตกรรมความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมด้านยาและเป็นงานที่รวบรวมผู้ผลิตสารออกฤทธิ์ รวมถึงวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตยาแผนปัจจุบันจากผู้ผลิตทั่วโลกและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ผลิตยาของไทยได้รับทราบถึงข้อมูลความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จนเกิดแนวคิดต่อยอดไปสู่การพัฒนาคุณภาพสินค้า รวมถึงโอกาสในการเจรจาธุรกิจ ขณะเดียวกันได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานในโรงงานอุตสาหกรรมชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาแผนปัจจุบัน และบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาแผนปัจจุบันของประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีที่มีชื่อเสียงระดับโลก
รศ.ดร. ประสาน ธรรมอุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาอิสระด้าน GMP ผลิตภัณฑ์ยา และเครื่องสำอาง เปิดเผยว่า จากการที่ได้ร่วมกับโครงการ iTAP นำผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยาเดินทางไปเสาะหาเทคโนโลยีจากต่างประเทศนั้นก็เพื่อให้ทราบถึงนวัตกรรมความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมยา ความหลากหลายของกรรมวิธีในการผลิตยา ตลอดจนเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรต่างๆ
“ ต้องยอมรับว่า ศักยภาพของอุตสาหกรรมยาบ้านเราหากเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่มีการลงทุนด้าน R&Dแล้วของไทยเรายังไม่สามารถเทียบกับเขาได้ ทำให้อุตสาหกรรมยาของไทยยังตามหลังเขาอยู่ ดังนั้นแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยาของไทย ควรเร่งกระตุ้นให้ผู้ผลิตยาเกิดการตื่นตัวในการคิดค้นและพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนายาสามัญใหม่ๆ ( New Generic Drugs ) เพื่อให้สามารถทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง และนับวันการนำเข้ายาจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น หากผู้ผลิตยาไทยขาดวิสัยทัศน์ และไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ อาจทำให้โอกาสที่คนยากจนจะเข้าถึงยาคุณภาพราคาถูกลดน้อยลง ” รศ.ดร. ประสาน กล่าว
สำหรับการเดินทางไปร่วมงานครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้เกิดการเจรจาธุรกิจระหว่างบริษัทผู้ผลิตยาของไทยและบริษัทชั้นนำของประเทศเยอรมนีเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีความร่วมมือทางธุรกิจและการตลาด ในการสร้างศักยภาพการวิจัยและพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอีกด้วย ซึ่งนอกจากประโยชน์ด้านการเปิดโลกทัศน์ที่ได้เห็นถึงนวัตกรรมด้านต่างๆแล้วยังช่วยกระตุ้นให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ เกิดองค์ความรู้ ความคิดเห็นและทัศนคติต่างๆที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้กับการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมยาของไทยได้
ด้าน นายมิ่งมิตร ส่งไพศาล กรรมการบริหาร บริษัท เภสัชกรรมศรีประสิทธิ์ จำกัด ในฐานะผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันหนึ่งในผู้ประกอบการที่ร่วมเดินทางในการเสาะหาเทคโนโลยีครั้งนี้ กล่าวว่า การร่วมเดินทางครั้งนี้บริษัทฯได้รับประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิตยาชั้นนำและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก รวมทั้งการเข้าชมงานแสดงมหกรรมสารออกฤทธิ์ สำหรับผลิตยาแผนปัจจุบันระดับนานาชาติ CPhI Worldwide 2008 ซึ่งเป็นงานที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมได้ง่ายนัก
“ ที่ผ่านมาบริษัทฯ มีความสนใจเข้าร่วมงานกับทางโครงการ iTAP เพราะนอกจากจะได้รับการสนับสนุนและการให้คำแนะนำช่วยเหลือในด้านต่างๆแล้ว ยังได้รับสิทธิพิเศษจาก iTAP ที่สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในการเดินทางไปเสาะหาเทคโนโลยีในต่างประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะครั้งนี้ที่ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิตวัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตยา โรงงานผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก และแต่ละแห่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมทั้งสิ้น ที่สำคัญคือปกติโรงงานเหล่านี้จะไม่ได้เปิดเผยข้อมูลหรือเปิดให้เข้าชมได้ทั่วไป เฉพาะผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษเท่านั้น ซึ่งจุดนี้ทางโครงการ iTAP เป็นผู้ดำเนินการประสานให้ทั้งสิ้น ”
นายมิ่งมิตร กล่าวต่อว่า จากที่ได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิตยาระดับโลก ช่วยทำให้ได้รับรู้ถึงมุมมองเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัย ได้เจรจาด้านการค้าที่จะนำไปสู่คู่ค้าทางธุรกิจและยังเกิดมุมมองใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้และทัศนคติด้านต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยาของไทยให้มีมาตรฐานได้มากยิ่งขึ้น ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์และสร้างมิตรภาพให้เกิดขึ้นได้ในวงการยาอีกด้วย
นอกจากการจัดกิจกรรมการเสาะหาเทคโนโลยีในต่างประเทศเพื่อเพิ่มวิสัยทัศน์และมุมองใหม่ให้กับผู้ผลิตยาของไทยแล้ว โครงการ iTAP ยังมีการจัดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยาด้านต่างๆ อาทิ การอุดหนุนเงินสำหรับการทดสอบชีวสมมูล , การจัดทำระบบ ISO/ IEC 17025 เป็นต้น สำหรับผู้ประกอบการยาแผนปัจจุบันของไทยที่สนใจขอรับการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพการผลิตสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โครงการ iTAP (สวทช.) โทรศัพท์ 02-564-7000 ต่อ 1364 , 1365
ตามที่โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือไอแท็ป (iTAP) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทำ “ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตยาแผนปัจจุบัน” เป็นการสนับสนุนและช่วยผลักดันให้บริษัทผู้ผลิตยาเอกชนของไทยเกิดการตื่นตัวและเร่งพัฒนาศักยภาพของกลุ่มอุตสาหกรรมยา ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันสู่ระดับสากลรวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนายาในรูปแบบใหม่ๆ ( New Generic Drugs ) เพื่อสามารถทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ
ล่าสุดโครงการ iTAP ได้ร่วมกับหอการค้าเยอรมัน–ไทย จัดกิจกรรมกรเสาะหาเทคโนโลยีต่างประเทศ โดยการนำผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาไทยที่เข้าร่วมโครงกรฯ เดินทางไปร่วมงานแสดงมหกรรมสารออกฤทธิ์ สำหรับผลิตยาแผนปัจจุบันระดับนานาชาติ หรือ ที่เรียกว่า “ CPhI Worldwide 2008” เมือง Frankfurt ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 27 ก.ย. – 5 ต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นงานแสดงนวัตกรรมความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมด้านยาและเป็นงานที่รวบรวมผู้ผลิตสารออกฤทธิ์ รวมถึงวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตยาแผนปัจจุบันจากผู้ผลิตทั่วโลกและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ผลิตยาของไทยได้รับทราบถึงข้อมูลความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จนเกิดแนวคิดต่อยอดไปสู่การพัฒนาคุณภาพสินค้า รวมถึงโอกาสในการเจรจาธุรกิจ ขณะเดียวกันได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานในโรงงานอุตสาหกรรมชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาแผนปัจจุบัน และบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาแผนปัจจุบันของประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีที่มีชื่อเสียงระดับโลก
รศ.ดร. ประสาน ธรรมอุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาอิสระด้าน GMP ผลิตภัณฑ์ยา และเครื่องสำอาง เปิดเผยว่า จากการที่ได้ร่วมกับโครงการ iTAP นำผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยาเดินทางไปเสาะหาเทคโนโลยีจากต่างประเทศนั้นก็เพื่อให้ทราบถึงนวัตกรรมความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมยา ความหลากหลายของกรรมวิธีในการผลิตยา ตลอดจนเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรต่างๆ
“ ต้องยอมรับว่า ศักยภาพของอุตสาหกรรมยาบ้านเราหากเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่มีการลงทุนด้าน R&Dแล้วของไทยเรายังไม่สามารถเทียบกับเขาได้ ทำให้อุตสาหกรรมยาของไทยยังตามหลังเขาอยู่ ดังนั้นแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยาของไทย ควรเร่งกระตุ้นให้ผู้ผลิตยาเกิดการตื่นตัวในการคิดค้นและพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนายาสามัญใหม่ๆ ( New Generic Drugs ) เพื่อให้สามารถทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง และนับวันการนำเข้ายาจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น หากผู้ผลิตยาไทยขาดวิสัยทัศน์ และไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ อาจทำให้โอกาสที่คนยากจนจะเข้าถึงยาคุณภาพราคาถูกลดน้อยลง ” รศ.ดร. ประสาน กล่าว
สำหรับการเดินทางไปร่วมงานครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้เกิดการเจรจาธุรกิจระหว่างบริษัทผู้ผลิตยาของไทยและบริษัทชั้นนำของประเทศเยอรมนีเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีความร่วมมือทางธุรกิจและการตลาด ในการสร้างศักยภาพการวิจัยและพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอีกด้วย ซึ่งนอกจากประโยชน์ด้านการเปิดโลกทัศน์ที่ได้เห็นถึงนวัตกรรมด้านต่างๆแล้วยังช่วยกระตุ้นให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ เกิดองค์ความรู้ ความคิดเห็นและทัศนคติต่างๆที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้กับการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมยาของไทยได้
ด้าน นายมิ่งมิตร ส่งไพศาล กรรมการบริหาร บริษัท เภสัชกรรมศรีประสิทธิ์ จำกัด ในฐานะผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันหนึ่งในผู้ประกอบการที่ร่วมเดินทางในการเสาะหาเทคโนโลยีครั้งนี้ กล่าวว่า การร่วมเดินทางครั้งนี้บริษัทฯได้รับประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิตยาชั้นนำและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก รวมทั้งการเข้าชมงานแสดงมหกรรมสารออกฤทธิ์ สำหรับผลิตยาแผนปัจจุบันระดับนานาชาติ CPhI Worldwide 2008 ซึ่งเป็นงานที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมได้ง่ายนัก
“ ที่ผ่านมาบริษัทฯ มีความสนใจเข้าร่วมงานกับทางโครงการ iTAP เพราะนอกจากจะได้รับการสนับสนุนและการให้คำแนะนำช่วยเหลือในด้านต่างๆแล้ว ยังได้รับสิทธิพิเศษจาก iTAP ที่สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในการเดินทางไปเสาะหาเทคโนโลยีในต่างประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะครั้งนี้ที่ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิตวัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตยา โรงงานผู้ผลิตยาแผนปัจจุบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก และแต่ละแห่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมทั้งสิ้น ที่สำคัญคือปกติโรงงานเหล่านี้จะไม่ได้เปิดเผยข้อมูลหรือเปิดให้เข้าชมได้ทั่วไป เฉพาะผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษเท่านั้น ซึ่งจุดนี้ทางโครงการ iTAP เป็นผู้ดำเนินการประสานให้ทั้งสิ้น ”
นายมิ่งมิตร กล่าวต่อว่า จากที่ได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิตยาระดับโลก ช่วยทำให้ได้รับรู้ถึงมุมมองเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัย ได้เจรจาด้านการค้าที่จะนำไปสู่คู่ค้าทางธุรกิจและยังเกิดมุมมองใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้และทัศนคติด้านต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยาของไทยให้มีมาตรฐานได้มากยิ่งขึ้น ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์และสร้างมิตรภาพให้เกิดขึ้นได้ในวงการยาอีกด้วย
นอกจากการจัดกิจกรรมการเสาะหาเทคโนโลยีในต่างประเทศเพื่อเพิ่มวิสัยทัศน์และมุมองใหม่ให้กับผู้ผลิตยาของไทยแล้ว โครงการ iTAP ยังมีการจัดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยาด้านต่างๆ อาทิ การอุดหนุนเงินสำหรับการทดสอบชีวสมมูล , การจัดทำระบบ ISO/ IEC 17025 เป็นต้น สำหรับผู้ประกอบการยาแผนปัจจุบันของไทยที่สนใจขอรับการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพการผลิตสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โครงการ iTAP (สวทช.) โทรศัพท์ 02-564-7000 ต่อ 1364 , 1365