xs
xsm
sm
md
lg

กทม.วิกฤตป่วยสูง 1,843 ราย ยอดเสียชีวิตมากสุด คุกสาหัสยังซีลไม่อยู่ ปูพรมตรวจเชิงรุกต่อเนื่อง ตจว.ตัวเลขลดลง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศบค. เผย ไทยพบผู้ป่วยโควิดรายใหม่ 9,635 ราย จากเรือนจำ 6,853 ราย สะสม 111,082 ราย ผู้เสียชีวิต 25 ราย มากสุดใน กทม. ถึง 18 ราย โรคประจำตัวเป็นปัจจัยเสี่ยง กทม. ปริมณฑล ยอดขึ้นมา 2,362 ราย แนวโน้มการระบาดยังคงเพิ่มขึ้น พบผู้ป่วยหนักและใช้ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้น เรือนจำตรวจไปแล้ว 24,000 ราย พบติดเชื้อเกินหมื่น ยังคงตรวจเชิงรุกต่อเนื่อง ส่วนต่างจังหวัดดีขึ้น ยอดป่วยลดลง

วันนี้ (15 พ.ค.) เวลา 12.32 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,635 ราย โดยแบ่งเป็นติดเชื้อใหม่ 2,782 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 6,853 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 111,082 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 1,397 ราย สะสม 67,200 ราย กำลังรักษาอยู่ 43,268 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 22,662 ราย และโรงพยาบาลสนาม 20,606 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มเป็น 1,226 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 400 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 25 ราย รวมเสียชีวิต 614 คน

ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 9,635 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,820 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 953 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 6,853 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 9 ราย

สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 25 ราย เป็นชาย 15 ราย หญิง 10 ราย อายุน้อยสุด 33 ปี อายุมากสุด 86 ปี อยู่ใน กทม. 18 ราย สุพรรณบุรี สุโขทัย สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี นคร จังหวัดละ 1 ราย ส่วนมากมีโรคประจำตัว ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 คือ จากการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่เป็นคนในครอบครัว ระยะครองเตียงบางรายนานที่สุด 31 วัน ค่ากลางอยู่ที่ 60 ปี

กราฟแนวโน้มยังเพิ่มขึ้น ยอดที่พุ่งเป็นยอดในเรือนจำ ซึ่งมีการค้นหาเชิงรุก มีการรอการสรุปรายงานออกมา ก่อนรวมในยอดของ ศบค. ส่วนผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ยังคงพบผู้ลักลอบเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติอยู่ ย้ำ ขอให้เดินทางเข้ามาตามช่องทางที่ถูกต้อง

กทม. ปริมณฑล ยอดขึ้นมา 2,362 รายการระบาดยังคงเพิ่มขึ้น ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดดีขึ้น ยอดป่วยลดลง 411 ราย สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 6,853 ราย มีการค้นหาเชิงรุกไปแล้วกว่า 24,000 ราย พบติดเชื้อกว่า 10,000 ราย คิดเป็นราว 49% ยังรอรายงานผลอีก 2,235 ราย พบผู้ป่วยหนักและใช้ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้น อัตราครองเตียงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะใน กทม. ปริมณฑล สถานที่เสี่ยง ได้แก่ แคมป์ก่อสร้าง ชุมชนแออัด ตลาด โรงงาน และภายในครอบครัว

10 อันดับ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ วันที่ 17 พ.ค. 2564 คือ 1. กรุงเทพมหานคร 1,843 ราย 2. สมุทรปราการ 155 ราย 3. ปทุมธานี 146 ราย 4. นนทบุรี 129 ราย 5. สมุทรสาคร 53 ราย 6. ชลบุรี 45 ราย 7. สงขลา 42 ราย 8. เพชบุรี 39 ราย 9. นครปฐม 36 ราย 10. พระนครศรีอยุธยา 31 ราย

ภาพรวมทั้งประเทศแบ่งเป็น 5 ขั้น ส่วนวันนี้พบพื้นที่สีขาว 17 จังหวัด ตัวเลขเป็น 0 ไม่พบผู้ติดเชื้อ ได้แก่ ลำพูน, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, นครพนม, น่าน, สุโขทัย, แพร่, อุตรดิตถ์, ชัยนาท, หนองคาย, อำนาจเจริญ, มุกดาหาร, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ, พังงา และ สตูล


ขณะที่ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 เป็นต้นมา พบผู้ติดเชื้อแล้ว 82,219 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่ตรวจพบในระบบเฝ้าระวังและบริการ 58,035 ราย ตรวจพบจากการค้นหาคัดกรองเชิงรุก 13,061 ราย เรือนจำ/ที่ต้องขัง 10,748 เดินทางมาจากต่างประเทศ 375 ราย เสียชีวิตสะสม 520 ราย

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 163,691,053 ราย อาการรุนแรง 102,492 ราย รักษาหายแล้ว 142,140,858 ราย เสียชีวิต 3,392,588 ราย

อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 33,715,951 ราย
2. อินเดีย จำนวน 24,964,925 ราย
3. บราซิล จำนวน 15,627,475 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 5,877,787 ราย
5. ตุรกี จำนวน 5,117,374 ราย

ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 92 จำนวน 111,082 ราย
























กำลังโหลดความคิดเห็น