Microcephaly ไมโครเซฟาลี (ศีรษะเล็ก) คือ ความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด ของทารก ที่หมายถึงการที่ทารกมีศีรษะเล็กกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับทารกคนอื่น ๆ ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ที่คลอดเมื่ออายุครรภ์เท่า ๆ กัน ร่วมกับมีการเจริญเติบโตของสมองที่เลวกว่าคนอื่น ๆ ทารกที่คลอดออกมา อาจเจริญเติบโตต่อไปเป็นเด็กที่มีความพิการ มีความผิดปกติต่าง ๆ มีความรุนแรงผันแปรได้ตั้งแต่มีความผิดปกติอ่อน ๆ จนถึงรุนแรงมากก็ได้
สภาพของปัญหา
ไมโครเซฟาลี เป็นความผิดปกติที่พบได้น้อย อุบัติการณ์ของไมโครเซฟาลีจึงคาดประมาณได้ยาก
เพราะมีความแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความ และกลุ่มประชากรเป้าหมาย
แม้ว่า ยังไม่ได้พิสูจน์ขั้นสุดทายแล้วอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม นักวิจัยยังทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อหาศักยภาพของความเชื่อมโยงเกี่ยวพัน ระหว่างการปรากฏของผู้ป่วยที่มีภาวะไมโครเซฟาลี กับภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา
๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ประเทศบราซิลรายงานว่ามีผู้ป่วยมีไข้ออกผื่นในรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
• บราซิล พบผู้ป่วยสงสัยไข้ซิกาประปรายมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๖/๕๗ แล้ว แต่ได้รายงานผู้ป่วยชันสูตรยืนยันไปยังองค์การอนามัยโลกเมื่อกลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๘
• ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ ก่อนรายงานไปยังองค์การอนามัยโลก บราซิลเริ่มพบอุบัติการณ์ไมโครเซฟาลีแล้ว และ
• ในต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ก็มีรายงานผู้ป่วยเด็กที่สงสัยว่าจะมีปัญหาไมโครเซฟาลี หรือมีปัญหาทางระบบประสาทแล้วรวม ๖,๔๘๐ ราย
ซึ่งเมื่อก่อนปีหนึ่ง ๆ อย่างมากในบราซิลจะเจอไมโครเซฟาลีไม่ถึง ๒๐๐ คน แต่นี่เพียงปีเดียว เพิ่มพรวดพราดสูงขึ้น กว่า ๓๐ เท่าตัว
๒๕๕๙ รายงานไมโครเซฟาลีสัปดาห์ที่ ๖
วันที่ ๘ - วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
บราซิล จำนวนไมโครเซฟาลี จำนวนรวมสะสม ๒๕๕๘-๕๙ หรือความพิการอื่นๆ ที่น่าจะเกิดตั้งแต่ แรก อยู่หว่างการศึกษา ๓๙๓๕ ยืนยัน ๕๐๘ คัดออก ๘๓๗ รวมสะสม ๕๒๘๐
วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙
• กระทรวงสาธารณสุขบราซิลยืนยันว่ามีทารกพิการศีรษะเล็กแต่กำเนิดทั่วประเทศ ที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันแล้วถึงวันนี้ ๙๔๔ ราย และกำลังดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมอีก ๔,๒๙๑ ราย
• ๑๐.๓๐ น. ๕ เมษายน ๒๕๕๙ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดอุดรธานี มีการบรรยายเรื่องนี้ให้แก่บุคลากรทางแพทย์ในจังหวัดนั้นและจัหวัดใกล้เคียง กรรมการราชวิทยาลัยสูติ-นรีแพทย์ท่านหนึ่งท่านไปบรรยายร่วมต่อจากผม บรรยายต่อหน้าผม ว่าท่านไม่เชื่อเรื่องไมโครเซฟลีเกิดจากตืดเชื้อซิกา..... ท่านว่ามั่ว วาสารมาตรฐานนานาชาติที่เสนอรายงานก็มั่ว
• ๑๓ เมษายน ๒๕๕๙ USCDC analysis concludes Zika causes microcephaly.
• ผู้อำนวยการซีดีซี นายแพทย์ ทอม ฟรีเด็น ประกาศยืนยันว่า ไมโครเซฟาลีเกิดจากหญิงมีครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างตั้งครรภ์
• ท่านกล่าวว่า หลังจากได้ปริทัศน์ทบทวนกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ อย่างมากมายแล้ว ได้แถลงข่าวถึง ความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ป้องกันควบคุมโรคสหรัฐฯ ได้สรุปแล้วว่า ภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นเหตุก่อความพิการแต่กำเนิด “ไมโครเซฟาลี” อย่างแน่นอน
การวินิจฉัย
อาจให้กายวินิจฉัยได้ ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ โดยการทำอัลตราซาวนด์ โอกาสจะเห็นความผิดปกติได้ ก็เมื่อปลายการตั้งครรภ์อายุครรภปลายไตรมาสที่ ๒ หรือประมาณอายุครรภ์สัปดาห์ที่ ๒๘ และกำลังจะเข้าสู่อายุครรภ์ไตรมาสที่ ๓
การวินิจฉัยจะทำได้แม่นยำกว่าในทารกแรกคลอดมาแล้ว หรือขณะอายุมากขึ้น ทารกมีพัฒนาการมากขึ้น การวัดรอบวงศีรษะภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังคลอดแล้วนำไปเปรียบเทียบกับตารางเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก
การแปลผลจะต้องคำนึงถึง ปัจจัยที่สำคัญคือ อายุครรภ์ทีคลอด น้ำหนักและส่วนสูงของทารก ในรายที่เข้าข่ายสงสัย ควรได้รับการทบทวนตรวจสอบ จากกุมารแพทย์ ทารกต้องได้รับการ “สแกนสมอง” ได้รับการวัดเส้นรอบศีรษะ เป็นระยะ ๆ ทุก ๑ เดือน ในช่วงที่ทารกอายุยังน้อยแล้วนำไปเทียบกับตารางมาตรฐาน แพทย์จะต้องทำการทดสอบ หาเหตุอื่น ๆ ที่อาจก่อไมโครเซฟาลีด้วย เพื่อตัดเหตุอื่นออกไป (เช่นเหตุทางพันธุกรรม เหตูจากการติดเชื้ออีกหลายชนิดด้วย)
สาเหตุของไมโครเซฟาลี
ยังมีเหตุอีกมากมายหลายประการ ที่อาจมีศักยภาพก่อไมโครเซฟาลีได้ แต่ก็มีอีกหลายเหตุที่ยังไม่เป็นที่ทราบกันอยู่อีกเหมือนกัน เหตุที่ทราบกันดีอยู่แล้วได้แก่ ภาวะติดเชื้อของทารกในมดลูก ท็อกโซพลาสโมสิส (โรคขี้แมว อาจพบเชื้อปาราสิตก่อโรคขี้แมวในเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ)
โรคหัดเยอรมัน หรือ รูเบลล่า ไวรัสเริม (ไวรัสเฮอร์ปีส) เชื้อซิฟิลิส ไวรัสซัยโตเมกะโลไวรัส และ ไวรัสเอ็ชไอวี
การที่ได้สัมผัสกับสารพิษสารเคมี มารดาสัมผัสกับสารโลหะหนัก เช่น สารหนู และสารปรอท (อาร์เซนิค และเมอร์คิวรี) แอลกอฮอล์ (มารดาขี้เมาระหว่างมีครรภ์ รังสีต่าง ๆ และการสูบบุหรี่ ภาวะทางด้านพันธุกรรม การขาดสารอาหารอย่างรุนแรงขณะมีครรภ์อายุครรภ์น้อย
อาการและอาการแสดง
ทารกที่เกิดมามีไมโครเซฟาลี อาจไม่แสดงอาการผิดปกติอะไรเลยในตอนแรกเกิด แต่จะมีอาการชักกระตุกเป็นการต่อเนื่อง, มีซีรีบัล พัลซี : (อาการอัมพาตจากสมองผิดปกติ) มีความผิดปกติในการเรียนรู้ หูหนวก และมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น มีบางราย เด็กที่มีภาวะไมโครเซฟาลี อาจจะเติบโตต่อไปได้ตามปกติ การดูแล
อัตราอุบัติการณ์เกิดไมโครเซฟาลี ตัวเลขในขณะนี้ คิดได้มีความผันแปรกว้างขวางมาก คือ ตั้งแต่ ๑% ถึง ๓๐% เมื่อมีผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้น การวิเคราะในระยะหลัง อัตรานี้ก็จะเปลี่ยนไป
กระทรวงสาธารณสุขไทย เปิดเผยเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙ ว่า ได้กำลังติดตามหญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาอยู่ ๓๐ รายด้วยกัน ถ้ายึดเอาตัวเลขนี้เป็นเกณฑ์ ก็เป็นทีคาดเดาได้ว่าในวันข้าหน้า ประเทศไทยมีโอกาสจะได้รายงานผู้ป่วยไมโครเซฟาลีในทารกแรกเกิดจำนวนมากที่สุด ไม่เกิน ๙ คน และไม่น้อยกว่า ๓ คน
การรักษา บริบาล
ไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะสำหรับทารกและเด็กที่มีเภาวะไมโครเซฟาลี ในการประเมินและรักษาเด็กไมโครเซฟาลี ที่สำคัญก็คือ ให้มีคณะแพทย์หลายสาขาวิชาเข้ามาร่วมมือกัน การดำเนินการดูแลบริบาลตั้งแต่ระยะแรกๆ ด้วยการกระตุ้น อาจมีผลที่สำคัญ ต่อการพัฒนาการเติบโต การให้คำปรึกษาหารือและเกื้อหนุน ให้แก่ครอบครัว ให้แก่พ่อ - มีเด็ก ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
การสนองตอบขององค์การอนามัยโลก
องค์การอนามัยโลก กำลังดำเนินการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศที่ได้รับผลกระทบในทวีปอเมริกา ในการสอบค้น ของการระบาดมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว โดยได้วางกรอบยุทธศาสตร์ในการโต้ตอบสนองและมีแผนการดำเนินการร่วมอยู่ด้วย สื่อสารกับประชาชนในชุมชนที่มีโรคระบาดให้รูจักวธีป้องกันตัวเอง ดำเนินการจัดให้มีแนวทางในการดำเนินการหรือ ไกด์ไลน์สำหรับการดำเนินการให้คำแนะนำสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงมีครรภ์ถึงศักยภาพของผลกระทบต่าง ของภาวะติดเชื้อไวรัสซิกาให้แก่ครอบครัว ให้ความช่วยเหลือ แก่ประเทศต่าง ๆ ที่กำลังไห้รับผลกระทบ ให้เพิ่มความเข้มแข็งในการดูแลหญิงมีครรภ์ และครอบครัวของเด็กที่คลอดออกมามีไมโครเซฟาลี ดำเนินกรสอบค้นการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยไมโครเซฟาลี และความเชื่อมโยงเกียวพัน ของภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา โดยการนำเอาผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ และผู้เกี่ยวข้อง มาปรีกษหารือร่วมกันด้วย
ปัญหาของประเทศไทย
ยังไม่มีหน่วยงานใดที่ตั้งใจศึกษาเรื่องไมโครเซฟาลีอย่างจริงจัง สูติแพทย์ทั่วประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยสูตินรีเวช แห่งประเทศไทย ยังไม่มีไก๊ด์ไลน์อะไรที่จะปฏิบัติตามให้เป็นมาตรฐานอันเดียวกัน กรรมการราชวิทยาลัยท่านหนึ่งได้รับเชิญไปบรรยายให้บุคลากรทางแพทย์เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๙ ที่โรงแรมรามาการ์เด้น ก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีว่าไมโครเซฟาลี เกิดจากภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา ผมสับสนและมีความรู้สึกวังเวง ว่า วันนี้อาจยังมีผู้สงสัยว่าโลกไม่ได้กลม โลกมันแบนอยู่อีกหรือ
สำหรับอนาคตผู้ที่จะต้องรับภาระเลี้ยงดูกับทารก เด็กพิการเหล่านั้น น่าสงสารอนาคตประเทศไทยครับ โถประเทศไทย น่าวังเวงครับ
ปล.บทความต่อไปนี้ ส่วนหนึ่งผมถอดความมาจากเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไมโครเซฟาลี หรือภาวะศีรษะเล็ก เอกสารขององค์การอนามัยโลก (WHO: Microcephaly 2March 2016 Fact sheet Updated 2 March 2016) ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๙ ผนวกกับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ผมเก็บรวบรวมเอาไว้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
สภาพของปัญหา
ไมโครเซฟาลี เป็นความผิดปกติที่พบได้น้อย อุบัติการณ์ของไมโครเซฟาลีจึงคาดประมาณได้ยาก
เพราะมีความแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความ และกลุ่มประชากรเป้าหมาย
แม้ว่า ยังไม่ได้พิสูจน์ขั้นสุดทายแล้วอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม นักวิจัยยังทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อหาศักยภาพของความเชื่อมโยงเกี่ยวพัน ระหว่างการปรากฏของผู้ป่วยที่มีภาวะไมโครเซฟาลี กับภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา
๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ประเทศบราซิลรายงานว่ามีผู้ป่วยมีไข้ออกผื่นในรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
• บราซิล พบผู้ป่วยสงสัยไข้ซิกาประปรายมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๖/๕๗ แล้ว แต่ได้รายงานผู้ป่วยชันสูตรยืนยันไปยังองค์การอนามัยโลกเมื่อกลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๘
• ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ ก่อนรายงานไปยังองค์การอนามัยโลก บราซิลเริ่มพบอุบัติการณ์ไมโครเซฟาลีแล้ว และ
• ในต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ก็มีรายงานผู้ป่วยเด็กที่สงสัยว่าจะมีปัญหาไมโครเซฟาลี หรือมีปัญหาทางระบบประสาทแล้วรวม ๖,๔๘๐ ราย
ซึ่งเมื่อก่อนปีหนึ่ง ๆ อย่างมากในบราซิลจะเจอไมโครเซฟาลีไม่ถึง ๒๐๐ คน แต่นี่เพียงปีเดียว เพิ่มพรวดพราดสูงขึ้น กว่า ๓๐ เท่าตัว
๒๕๕๙ รายงานไมโครเซฟาลีสัปดาห์ที่ ๖
วันที่ ๘ - วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
บราซิล จำนวนไมโครเซฟาลี จำนวนรวมสะสม ๒๕๕๘-๕๙ หรือความพิการอื่นๆ ที่น่าจะเกิดตั้งแต่ แรก อยู่หว่างการศึกษา ๓๙๓๕ ยืนยัน ๕๐๘ คัดออก ๘๓๗ รวมสะสม ๕๒๘๐
วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙
• กระทรวงสาธารณสุขบราซิลยืนยันว่ามีทารกพิการศีรษะเล็กแต่กำเนิดทั่วประเทศ ที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันแล้วถึงวันนี้ ๙๔๔ ราย และกำลังดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมอีก ๔,๒๙๑ ราย
• ๑๐.๓๐ น. ๕ เมษายน ๒๕๕๙ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดอุดรธานี มีการบรรยายเรื่องนี้ให้แก่บุคลากรทางแพทย์ในจังหวัดนั้นและจัหวัดใกล้เคียง กรรมการราชวิทยาลัยสูติ-นรีแพทย์ท่านหนึ่งท่านไปบรรยายร่วมต่อจากผม บรรยายต่อหน้าผม ว่าท่านไม่เชื่อเรื่องไมโครเซฟลีเกิดจากตืดเชื้อซิกา..... ท่านว่ามั่ว วาสารมาตรฐานนานาชาติที่เสนอรายงานก็มั่ว
• ๑๓ เมษายน ๒๕๕๙ USCDC analysis concludes Zika causes microcephaly.
• ผู้อำนวยการซีดีซี นายแพทย์ ทอม ฟรีเด็น ประกาศยืนยันว่า ไมโครเซฟาลีเกิดจากหญิงมีครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างตั้งครรภ์
• ท่านกล่าวว่า หลังจากได้ปริทัศน์ทบทวนกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ อย่างมากมายแล้ว ได้แถลงข่าวถึง ความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ป้องกันควบคุมโรคสหรัฐฯ ได้สรุปแล้วว่า ภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นเหตุก่อความพิการแต่กำเนิด “ไมโครเซฟาลี” อย่างแน่นอน
การวินิจฉัย
อาจให้กายวินิจฉัยได้ ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ โดยการทำอัลตราซาวนด์ โอกาสจะเห็นความผิดปกติได้ ก็เมื่อปลายการตั้งครรภ์อายุครรภปลายไตรมาสที่ ๒ หรือประมาณอายุครรภ์สัปดาห์ที่ ๒๘ และกำลังจะเข้าสู่อายุครรภ์ไตรมาสที่ ๓
การวินิจฉัยจะทำได้แม่นยำกว่าในทารกแรกคลอดมาแล้ว หรือขณะอายุมากขึ้น ทารกมีพัฒนาการมากขึ้น การวัดรอบวงศีรษะภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังคลอดแล้วนำไปเปรียบเทียบกับตารางเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก
การแปลผลจะต้องคำนึงถึง ปัจจัยที่สำคัญคือ อายุครรภ์ทีคลอด น้ำหนักและส่วนสูงของทารก ในรายที่เข้าข่ายสงสัย ควรได้รับการทบทวนตรวจสอบ จากกุมารแพทย์ ทารกต้องได้รับการ “สแกนสมอง” ได้รับการวัดเส้นรอบศีรษะ เป็นระยะ ๆ ทุก ๑ เดือน ในช่วงที่ทารกอายุยังน้อยแล้วนำไปเทียบกับตารางมาตรฐาน แพทย์จะต้องทำการทดสอบ หาเหตุอื่น ๆ ที่อาจก่อไมโครเซฟาลีด้วย เพื่อตัดเหตุอื่นออกไป (เช่นเหตุทางพันธุกรรม เหตูจากการติดเชื้ออีกหลายชนิดด้วย)
สาเหตุของไมโครเซฟาลี
ยังมีเหตุอีกมากมายหลายประการ ที่อาจมีศักยภาพก่อไมโครเซฟาลีได้ แต่ก็มีอีกหลายเหตุที่ยังไม่เป็นที่ทราบกันอยู่อีกเหมือนกัน เหตุที่ทราบกันดีอยู่แล้วได้แก่ ภาวะติดเชื้อของทารกในมดลูก ท็อกโซพลาสโมสิส (โรคขี้แมว อาจพบเชื้อปาราสิตก่อโรคขี้แมวในเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ)
โรคหัดเยอรมัน หรือ รูเบลล่า ไวรัสเริม (ไวรัสเฮอร์ปีส) เชื้อซิฟิลิส ไวรัสซัยโตเมกะโลไวรัส และ ไวรัสเอ็ชไอวี
การที่ได้สัมผัสกับสารพิษสารเคมี มารดาสัมผัสกับสารโลหะหนัก เช่น สารหนู และสารปรอท (อาร์เซนิค และเมอร์คิวรี) แอลกอฮอล์ (มารดาขี้เมาระหว่างมีครรภ์ รังสีต่าง ๆ และการสูบบุหรี่ ภาวะทางด้านพันธุกรรม การขาดสารอาหารอย่างรุนแรงขณะมีครรภ์อายุครรภ์น้อย
อาการและอาการแสดง
ทารกที่เกิดมามีไมโครเซฟาลี อาจไม่แสดงอาการผิดปกติอะไรเลยในตอนแรกเกิด แต่จะมีอาการชักกระตุกเป็นการต่อเนื่อง, มีซีรีบัล พัลซี : (อาการอัมพาตจากสมองผิดปกติ) มีความผิดปกติในการเรียนรู้ หูหนวก และมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น มีบางราย เด็กที่มีภาวะไมโครเซฟาลี อาจจะเติบโตต่อไปได้ตามปกติ การดูแล
อัตราอุบัติการณ์เกิดไมโครเซฟาลี ตัวเลขในขณะนี้ คิดได้มีความผันแปรกว้างขวางมาก คือ ตั้งแต่ ๑% ถึง ๓๐% เมื่อมีผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้น การวิเคราะในระยะหลัง อัตรานี้ก็จะเปลี่ยนไป
กระทรวงสาธารณสุขไทย เปิดเผยเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙ ว่า ได้กำลังติดตามหญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาอยู่ ๓๐ รายด้วยกัน ถ้ายึดเอาตัวเลขนี้เป็นเกณฑ์ ก็เป็นทีคาดเดาได้ว่าในวันข้าหน้า ประเทศไทยมีโอกาสจะได้รายงานผู้ป่วยไมโครเซฟาลีในทารกแรกเกิดจำนวนมากที่สุด ไม่เกิน ๙ คน และไม่น้อยกว่า ๓ คน
การรักษา บริบาล
ไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะสำหรับทารกและเด็กที่มีเภาวะไมโครเซฟาลี ในการประเมินและรักษาเด็กไมโครเซฟาลี ที่สำคัญก็คือ ให้มีคณะแพทย์หลายสาขาวิชาเข้ามาร่วมมือกัน การดำเนินการดูแลบริบาลตั้งแต่ระยะแรกๆ ด้วยการกระตุ้น อาจมีผลที่สำคัญ ต่อการพัฒนาการเติบโต การให้คำปรึกษาหารือและเกื้อหนุน ให้แก่ครอบครัว ให้แก่พ่อ - มีเด็ก ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
การสนองตอบขององค์การอนามัยโลก
องค์การอนามัยโลก กำลังดำเนินการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศที่ได้รับผลกระทบในทวีปอเมริกา ในการสอบค้น ของการระบาดมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว โดยได้วางกรอบยุทธศาสตร์ในการโต้ตอบสนองและมีแผนการดำเนินการร่วมอยู่ด้วย สื่อสารกับประชาชนในชุมชนที่มีโรคระบาดให้รูจักวธีป้องกันตัวเอง ดำเนินการจัดให้มีแนวทางในการดำเนินการหรือ ไกด์ไลน์สำหรับการดำเนินการให้คำแนะนำสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงมีครรภ์ถึงศักยภาพของผลกระทบต่าง ของภาวะติดเชื้อไวรัสซิกาให้แก่ครอบครัว ให้ความช่วยเหลือ แก่ประเทศต่าง ๆ ที่กำลังไห้รับผลกระทบ ให้เพิ่มความเข้มแข็งในการดูแลหญิงมีครรภ์ และครอบครัวของเด็กที่คลอดออกมามีไมโครเซฟาลี ดำเนินกรสอบค้นการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยไมโครเซฟาลี และความเชื่อมโยงเกียวพัน ของภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา โดยการนำเอาผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ และผู้เกี่ยวข้อง มาปรีกษหารือร่วมกันด้วย
ปัญหาของประเทศไทย
ยังไม่มีหน่วยงานใดที่ตั้งใจศึกษาเรื่องไมโครเซฟาลีอย่างจริงจัง สูติแพทย์ทั่วประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยสูตินรีเวช แห่งประเทศไทย ยังไม่มีไก๊ด์ไลน์อะไรที่จะปฏิบัติตามให้เป็นมาตรฐานอันเดียวกัน กรรมการราชวิทยาลัยท่านหนึ่งได้รับเชิญไปบรรยายให้บุคลากรทางแพทย์เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๙ ที่โรงแรมรามาการ์เด้น ก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีว่าไมโครเซฟาลี เกิดจากภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา ผมสับสนและมีความรู้สึกวังเวง ว่า วันนี้อาจยังมีผู้สงสัยว่าโลกไม่ได้กลม โลกมันแบนอยู่อีกหรือ
สำหรับอนาคตผู้ที่จะต้องรับภาระเลี้ยงดูกับทารก เด็กพิการเหล่านั้น น่าสงสารอนาคตประเทศไทยครับ โถประเทศไทย น่าวังเวงครับ
ปล.บทความต่อไปนี้ ส่วนหนึ่งผมถอดความมาจากเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไมโครเซฟาลี หรือภาวะศีรษะเล็ก เอกสารขององค์การอนามัยโลก (WHO: Microcephaly 2March 2016 Fact sheet Updated 2 March 2016) ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๙ ผนวกกับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ผมเก็บรวบรวมเอาไว้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่