สบส. เผย สนช. เตรียมพิจารณาร่าง พ.ร.บ. สถานพยาบาลฉบับใหม่ 16 มิ.ย. ปรับสาระเพิ่ม สรพ. เป็น คกก. สถานพยาบาล ช่วยกำหนดมาตรฐาน ทั้งกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน โรคติดต่อ เข้มโฆษณาทั้งภาพ เสียง ข้อความ เพิ่มบทลงโทษหนักขึ้น
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กรม สบส. ได้จัดทำ “ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่...) พ.ศ. ....” ขึ้นใหม่ โดยปรับปรุงจากกฎหมายฉบับเดิม คือ “พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541” ซึ่งใช้มานาน 18 ปี ให้มีความทันสมัยขึ้น เพิ่มกลไกความเข้มแข็งในการคุ้มครองประชาชนผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน ทั้งสถานพยาบาลภาครัฐ และเอกชน โดยคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกฎหมายฉบับนี้ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 และจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาวาระที่ 1 ในวันที่ 16 มิถุนายน 2559 เพื่อออกเป็นกฎหมายต่อไป
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ร่างกฎหมายสถานพยาบาลฉบับใหม่นี้ จะมีผลใช้บังคับสถานพยาบาลที่มีทั่วประเทศทั้งหมด 36,433 แห่ง ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทมีเตียงนอน คือ โรงพยาบาลภาครัฐทุกสังกัด โรงเรียนแพทย์ มูลนิธิ องค์กรอิสระ องค์กรมหาชน องค์การบริการส่วนท้องถิ่นรวม 13,036 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 343 แห่ง และประเภทคลินิกต่าง ๆ 23,054 แห่ง ให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกันตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด เช่น มาตรฐานเจซีไอ (JCI) หรือ เอชเอ (HA) ลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพบริการ โดยสถานพยาบาลเอกชนจะต้องยื่นขออนุญาตเปิดดำเนินการเช่นเดิม ส่วนภาครัฐได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต
นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า สาระที่ปรับเพิ่มเติม ได้แก่ การเพิ่มผู้แทนสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) เป็นคณะกรรมการสถานพยาบาล โดยเพิ่มบทบาทให้คณะกรรมสถานพยาบาลกำหนดลักษณะและมาตรฐาน หรือการรับรองมาตรฐานสถานพยาบาล กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือ สาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาล และร่างกฎหมายฉบับนี้ยังส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล โดยสามารถจัดการศึกษา ฝึกอบรม การวิจัย หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีการประกอบโรคศิลปะแก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชนได้
“กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาล ต้องแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่น ๆ และสิทธิของผู้ป่วยไว้อย่างชัดเจน จะเรียกเก็บเกินอัตราที่แสดงไว้ไม่ได้ ต้องให้บริการผู้ป่วยตามสิทธิที่ได้แสดงไว้ และต้องเยียวยาผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งอยู่ในสภาพอันตราย จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลให้พ้นจากอันตรายก่อนส่งต่อไปสถานพยาบาลอื่น” นพ.ธงชัย กล่าวและว่า ส่วนกรณีเปิดสถานพยาบาลเถื่อนโดยไม่ได้ขออนุญาต มีความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเดิมปรับไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท การโฆษณาสถานพยาบาลจะต้องได้รับอนุญาตทั้งข้อความ ภาพ และเสียง หากฝ่าฝืนหรือพบว่าเข้าทำนองอวดอ้างสรรพคุณ มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท นับตั้งแต่วันฝ่าฝืนคำสั่งที่ให้ระงับการโฆษณาหรือประกาศ พร้อมให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ โดยในส่วนกลางมีอธิบดีกรม สบส. เป็นประธาน ส่วนภูมิภาคมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กรม สบส. ได้จัดทำ “ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่...) พ.ศ. ....” ขึ้นใหม่ โดยปรับปรุงจากกฎหมายฉบับเดิม คือ “พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541” ซึ่งใช้มานาน 18 ปี ให้มีความทันสมัยขึ้น เพิ่มกลไกความเข้มแข็งในการคุ้มครองประชาชนผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน ทั้งสถานพยาบาลภาครัฐ และเอกชน โดยคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกฎหมายฉบับนี้ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 และจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาวาระที่ 1 ในวันที่ 16 มิถุนายน 2559 เพื่อออกเป็นกฎหมายต่อไป
น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ร่างกฎหมายสถานพยาบาลฉบับใหม่นี้ จะมีผลใช้บังคับสถานพยาบาลที่มีทั่วประเทศทั้งหมด 36,433 แห่ง ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทมีเตียงนอน คือ โรงพยาบาลภาครัฐทุกสังกัด โรงเรียนแพทย์ มูลนิธิ องค์กรอิสระ องค์กรมหาชน องค์การบริการส่วนท้องถิ่นรวม 13,036 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 343 แห่ง และประเภทคลินิกต่าง ๆ 23,054 แห่ง ให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกันตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด เช่น มาตรฐานเจซีไอ (JCI) หรือ เอชเอ (HA) ลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพบริการ โดยสถานพยาบาลเอกชนจะต้องยื่นขออนุญาตเปิดดำเนินการเช่นเดิม ส่วนภาครัฐได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต
นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า สาระที่ปรับเพิ่มเติม ได้แก่ การเพิ่มผู้แทนสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) เป็นคณะกรรมการสถานพยาบาล โดยเพิ่มบทบาทให้คณะกรรมสถานพยาบาลกำหนดลักษณะและมาตรฐาน หรือการรับรองมาตรฐานสถานพยาบาล กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือ สาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาล และร่างกฎหมายฉบับนี้ยังส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล โดยสามารถจัดการศึกษา ฝึกอบรม การวิจัย หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีการประกอบโรคศิลปะแก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชนได้
“กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาล ต้องแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่น ๆ และสิทธิของผู้ป่วยไว้อย่างชัดเจน จะเรียกเก็บเกินอัตราที่แสดงไว้ไม่ได้ ต้องให้บริการผู้ป่วยตามสิทธิที่ได้แสดงไว้ และต้องเยียวยาผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งอยู่ในสภาพอันตราย จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลให้พ้นจากอันตรายก่อนส่งต่อไปสถานพยาบาลอื่น” นพ.ธงชัย กล่าวและว่า ส่วนกรณีเปิดสถานพยาบาลเถื่อนโดยไม่ได้ขออนุญาต มีความผิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเดิมปรับไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท การโฆษณาสถานพยาบาลจะต้องได้รับอนุญาตทั้งข้อความ ภาพ และเสียง หากฝ่าฝืนหรือพบว่าเข้าทำนองอวดอ้างสรรพคุณ มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท นับตั้งแต่วันฝ่าฝืนคำสั่งที่ให้ระงับการโฆษณาหรือประกาศ พร้อมให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ โดยในส่วนกลางมีอธิบดีกรม สบส. เป็นประธาน ส่วนภูมิภาคมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่