คกก. กำหนดทิศทาง สสส. มีมติเสนอแก้ข้อบังคับ สสส. เน้นผลประโยชน์ทับซ้อน อำนาจการออกระเบียบ เตรียมชง รมว.สธ. พิจารณาตัดสินใจในสัปดาห์นี้
วันนี้ (10 พ.ย.) นพ.เสรี ตู้จินดา ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการบริหารจัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และกำหนดแนวทางแก้ไขให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตาม พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 กล่าวภายหลังประชุมหารือกำหนดแนวทางการทำงานของ สสส. นัดสุดท้ายก่อนสรุปให้ รมว.สธ. พิจารณา ว่า คณะกรรมการมีความเห็นสรุปใน 3 ประเด็น คือ 1. ประโยชน์ทับซ้อนและเรื่องธรรมาภิบาลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นเรื่องหลักที่ต้องมีการแก้ไข 2. สสส. ต้องบูรณาการโครงการต่าง ๆ มากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมามีโครงการมาก แต่ไม่ค่อยมีการบูรณาการเท่าที่ควร และ 3. อยากให้ สสส. เผยแพร่ขั้นตอนการทำงานของ สสส. มากขึ้น ตั้งแต่การขอทุน การอนุมัติ และการประเมินว่าผลงานทะลุเป้าหรือไม่ ผ่านสื่อ อย่างน้อยคือเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อให้สังคมเข้าใจ
“คณะกรรมการมีมติร่วมกันให้แก้ข้อบังคับ ซึ่งถือเป็นเรื่องเฉพาะหน้า และต้องทำทันที ส่วนการแก้ พ.ร.บ.สสส. ยอมรับว่า มีบางจุดที่ต้องมีการปรับปรุง แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ รมว.สธ. ว่า จะให้มีการแก้ไขข้อบังคับ หรือ พ.ร.บ. แต่คณะกรรมการเสนอให้แก้ข้อบังคับก่อน ซึ่งหลังจากนี้จะร่างข้อสรุปดังกล่าวและทำหนังสือเวียนข้อสรุปให้กรรมการทุกคน จากนั้นจึงจะสรุปและเสนอต่อ รมว.สธ. เป็นผู้ตัดสินใจ คาดว่า จะเสนอได้ภายในสัปดาห์นี้” นพ.เสรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การแก้ข้อบังคับในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึงการคัดเลือกกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ นพ.เสรี กล่าวว่า มีหลายเรื่อง อย่างเรื่องผู้ทรงคุณวุฒิก็เป็นเรื่องสำคัญ
เมื่อถามว่า จะมีการกำหนดในข้อบังคับหรือไม่ว่า ห้ามผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งในมูลนิธิอื่น ๆ หรือไม่ นพ.เสรี กล่าวว่า ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ แต่คณะกรรมการฯมีแนวทางแล้ว แต่ไม่สามารถบอกได้ โดยจะมอบให้ รมว.สธ. เป็นผู้ตัดสินใจ
เมื่อถามว่า แนวทางการแก้ข้อบังคับมีรายละเอียดอย่างไร นพ.เสรี กล่าวว่า จะเน้นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และอำนาจการออกระเบียบ ซึ่ง สสส. ยอมรับว่า ที่ผ่านมา มีช่วงวิกฤตที่ไม่สามารถออกระเบียบได้ เนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงมีการออกระเบียบโดย ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. ในขณะนั้น ทั้งที่ต้องออกโดยประธานบอร์ดฯ ซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรี ทำให้การปฏิบัติไม่ตรงกับข้อบังคับใน พ.ร.บ. แต่ สสส. ได้ชี้แจงเหตุผลว่ามีความจำเป็นต้องให้บอร์ดมอบอำนาจให้ ผู้จัดการ สสส. เป็นผู้ลงนาม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 พ.ย.) นพ.เสรี ตู้จินดา ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการบริหารจัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และกำหนดแนวทางแก้ไขให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตาม พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 กล่าวภายหลังประชุมหารือกำหนดแนวทางการทำงานของ สสส. นัดสุดท้ายก่อนสรุปให้ รมว.สธ. พิจารณา ว่า คณะกรรมการมีความเห็นสรุปใน 3 ประเด็น คือ 1. ประโยชน์ทับซ้อนและเรื่องธรรมาภิบาลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นเรื่องหลักที่ต้องมีการแก้ไข 2. สสส. ต้องบูรณาการโครงการต่าง ๆ มากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมามีโครงการมาก แต่ไม่ค่อยมีการบูรณาการเท่าที่ควร และ 3. อยากให้ สสส. เผยแพร่ขั้นตอนการทำงานของ สสส. มากขึ้น ตั้งแต่การขอทุน การอนุมัติ และการประเมินว่าผลงานทะลุเป้าหรือไม่ ผ่านสื่อ อย่างน้อยคือเว็บไซต์ของตัวเอง เพื่อให้สังคมเข้าใจ
“คณะกรรมการมีมติร่วมกันให้แก้ข้อบังคับ ซึ่งถือเป็นเรื่องเฉพาะหน้า และต้องทำทันที ส่วนการแก้ พ.ร.บ.สสส. ยอมรับว่า มีบางจุดที่ต้องมีการปรับปรุง แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ รมว.สธ. ว่า จะให้มีการแก้ไขข้อบังคับ หรือ พ.ร.บ. แต่คณะกรรมการเสนอให้แก้ข้อบังคับก่อน ซึ่งหลังจากนี้จะร่างข้อสรุปดังกล่าวและทำหนังสือเวียนข้อสรุปให้กรรมการทุกคน จากนั้นจึงจะสรุปและเสนอต่อ รมว.สธ. เป็นผู้ตัดสินใจ คาดว่า จะเสนอได้ภายในสัปดาห์นี้” นพ.เสรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การแก้ข้อบังคับในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึงการคัดเลือกกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ นพ.เสรี กล่าวว่า มีหลายเรื่อง อย่างเรื่องผู้ทรงคุณวุฒิก็เป็นเรื่องสำคัญ
เมื่อถามว่า จะมีการกำหนดในข้อบังคับหรือไม่ว่า ห้ามผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งในมูลนิธิอื่น ๆ หรือไม่ นพ.เสรี กล่าวว่า ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ แต่คณะกรรมการฯมีแนวทางแล้ว แต่ไม่สามารถบอกได้ โดยจะมอบให้ รมว.สธ. เป็นผู้ตัดสินใจ
เมื่อถามว่า แนวทางการแก้ข้อบังคับมีรายละเอียดอย่างไร นพ.เสรี กล่าวว่า จะเน้นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และอำนาจการออกระเบียบ ซึ่ง สสส. ยอมรับว่า ที่ผ่านมา มีช่วงวิกฤตที่ไม่สามารถออกระเบียบได้ เนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงมีการออกระเบียบโดย ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. ในขณะนั้น ทั้งที่ต้องออกโดยประธานบอร์ดฯ ซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรี ทำให้การปฏิบัติไม่ตรงกับข้อบังคับใน พ.ร.บ. แต่ สสส. ได้ชี้แจงเหตุผลว่ามีความจำเป็นต้องให้บอร์ดมอบอำนาจให้ ผู้จัดการ สสส. เป็นผู้ลงนาม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่