นักวิชาการ ชี้ แนะปรับระเบียบ สสส. ให้รัดกุม แก้ปมงบ - บริหาร แทนแก้ พ.ร.บ. ชี้ ต้องเพิ่มการสื่อสาร “ระบบการทำงาน” ให้สังคมเข้าใจ ศจย. แจงภาคีหน้าเดิมรับทุน เพราะเป็น “จุดจัดการ” กระจายงาน - ทุนรายย่อย
วันนี้ (9 พ.ย.) ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.) กล่าวในงานเสวนาวิชาการ “สสส. ในฐานะองค์กรจัดการภาครัฐแนวใหม่จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร” จัดโดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ว่า แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่นำผลลัพธ์ ความสำเร็จเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย หน่วยงานราชการหลายแห่งกำลังปรับไปสู่ทิศทางนี้ ซึ่งมีความต่างกับรูปแบบเดิม โดยเฉพาะในเรื่องการจัดระบบงบประมาณ สำหรับการเสนอให้มีการปรับแก้ พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 คิดว่าน่าจะเป็นความเข้าใจที่ยังไม่ตรงกันในความหมายของคำว่า สุขภาวะ ซึ่งจริง ๆ แล้วกรณี สสส. สามารถแก้ไขได้ใน 2 ระยะ คือ ระยะสั้น การปรับกฎระเบียบขององค์กรเพื่อให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องแก้กฎหมาย รวมทั้งการสื่อสารทำความเข้าใจกับสังคม ซึ่ง สสส. มีจุดแข็งในเรื่องการสื่อสารรณรงค์ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงมาก แต่ในสาระของระบบการทำงาน สังคมยังเข้าใจระดับที่ไม่มากพอ นำไปสู่การตั้งคำถามทั้งในเรื่องความโปร่งใส และระบบการตรวจสอบที่มีอยู่แล้วในหลายระดับแต่ไม่เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง และความหมายของคำว่า สุขภาวะ ที่กว้างกว่าสุขภาพทางกาย เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ ดังนั้น ควรทำในขั้นนี้ก่อนหากยังไม่เป็นที่พอใจร่วมกัน ก็อาจจะขยับไปสู่การแก้ไข พ.ร.บ. ซึ่งควรทำเมื่ออยู๋ในสภาวะรัฐบาลปกติ มีการพิจารณาจากทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ช่วยตรวจสอบถ่วงดุลอย่างรอบคอบ จะทำให้ไม่มีปัญหาสุ่มเสี่ยงในการแก้ไข
ด้าน ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การแก้ปัญหาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสุรา ยาสูบ และปัจจัยคุกคามอื่น ๆ การทำงานจะต้องอาศัยการสะสมประสบการณ์และทักษะ เมื่อภาคีส่วนหนึ่งมีประสบการณ์มากพอก็จะทำหน้าที่เป็น “จุดจัดการ” ในการทำงานของภาคีด้วยกันได้
สสส. จึงใช้แนวทางการเพิ่มจำนวนจุดจัดการที่มีประสบการณ์ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้กระจายไปสู่หน่วยทำงานอื่นได้มากขึ้น ซึ่งเมื่อรับทุนไปแล้ว หน่วยงานที่เป็นจุดจัดการไม่ได้เอาเงินไปใช้เอง แต่นำเงินไปสนับสนุนภาคีย่อยอีกทีหนึ่ง เช่น ศจย. เป็นจุดจัดการด้านงานศึกษาและโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ ซึ่งเมื่อไม่เข้าใจกระบวนการทั้งหมด อาจเข้าใจว่า สสส. ให้ทุนกับหน่วยงานหน้าเดิม หรือขาประจำ ซึ่งในขั้นตอนการทำงาน สสส. ไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่เป็นเจ้าของงบ เพราะการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ ต้องอาศัยหน่วยงานมากกว่า 1 แห่ง สสส. ไปเป็นส่วนเสริมให้องค์กรที่ 1 ที่ 2 หรือที่ 3 ที่ทำงานด้านนี้มาเจอกัน ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการขับเคลื่อน นำองค์ความรู้ไปเสริม หรือไปทำให้คนที่ทำงานด้วยกันได้รู้จักกัน หรือทำให้การทำงานที่ไม่สะดวกได้ทำงานสะดวกมากขึ้น
“กรณีผลประโยชน์ทับซ้อนที่พบว่าบางโครงการมีรายชื่อคณะกรรมการกองทุนฯ ได้รับทุนนั้น เนื่องจากภาคีที่สั่งสมประสบการณ์มานานทำงานอย่างใกล้ชิด อาจถูกเชิญไปเป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการแผนงานต่าง ๆ ในขณะที่เขาเหล่านั้นก็มีภารกิจในมูลนิธิ หน่วยงานที่ขับเคลื่อนของเขาบางส่วนแล้ว แต่ สสส. มีกระบวนที่เรียกว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการตรวจพิจารณา ตรวจทานโครงการต่าง ๆ ที่เข้ามาขอรับทุน จะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้รับทุน มีการแสดงใบยืนยันการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่แล้ว เป็นกระบวนการที่ใช้กลั่นกรองโครงการก่อน ถึงจะเข้าไปสู่กระบวนการของการอนุมัติทุน กระบวนการเป็นการป้องกันและมีการตรวจสอบด้วยตัวเอง” ทพญ.ศิริวรรณ กล่าว
นายวิเชียร พงศธร ประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี สสส. กล่าวว่า พ.ร.บ. กองทุนฯ ได้ถูกออกแบบไว้อย่างรอบคอบเพื่อให้ สสส. ทำงานสร้างเสริมสุขภาพในเชิงรุกได้อย่างยั่งยืน ซึ่งหากเทียบกับภาคธุรกิจแล้วถือว่ามีการกำกับติดตามในอยู่เกณฑ์ที่เข้มข้นกว่ามาก ดังนั้น การปรับปรุงและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพสามารถทำได้ด้วยการบริหาร และกำกับดูแลของคณะกรรมการกองทุนฯ ซึ่งมีอำนาจสูงสุด เนื่องจากปัญหาสังคมและปัญหาสุขภาวะ ซึ่งรวมถึงทางกาย ทางใจ และทางสังคม เป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่มาก ดังนั้น จึงควรเพิ่มขีดความสามารถของ สสส. ให้ทำงานเพิ่มขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ด้อยโอกาส
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 พ.ย.) ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.) กล่าวในงานเสวนาวิชาการ “สสส. ในฐานะองค์กรจัดการภาครัฐแนวใหม่จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร” จัดโดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ว่า แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่นำผลลัพธ์ ความสำเร็จเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย หน่วยงานราชการหลายแห่งกำลังปรับไปสู่ทิศทางนี้ ซึ่งมีความต่างกับรูปแบบเดิม โดยเฉพาะในเรื่องการจัดระบบงบประมาณ สำหรับการเสนอให้มีการปรับแก้ พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 คิดว่าน่าจะเป็นความเข้าใจที่ยังไม่ตรงกันในความหมายของคำว่า สุขภาวะ ซึ่งจริง ๆ แล้วกรณี สสส. สามารถแก้ไขได้ใน 2 ระยะ คือ ระยะสั้น การปรับกฎระเบียบขององค์กรเพื่อให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องแก้กฎหมาย รวมทั้งการสื่อสารทำความเข้าใจกับสังคม ซึ่ง สสส. มีจุดแข็งในเรื่องการสื่อสารรณรงค์ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงมาก แต่ในสาระของระบบการทำงาน สังคมยังเข้าใจระดับที่ไม่มากพอ นำไปสู่การตั้งคำถามทั้งในเรื่องความโปร่งใส และระบบการตรวจสอบที่มีอยู่แล้วในหลายระดับแต่ไม่เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง และความหมายของคำว่า สุขภาวะ ที่กว้างกว่าสุขภาพทางกาย เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ ดังนั้น ควรทำในขั้นนี้ก่อนหากยังไม่เป็นที่พอใจร่วมกัน ก็อาจจะขยับไปสู่การแก้ไข พ.ร.บ. ซึ่งควรทำเมื่ออยู๋ในสภาวะรัฐบาลปกติ มีการพิจารณาจากทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ช่วยตรวจสอบถ่วงดุลอย่างรอบคอบ จะทำให้ไม่มีปัญหาสุ่มเสี่ยงในการแก้ไข
ด้าน ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การแก้ปัญหาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสุรา ยาสูบ และปัจจัยคุกคามอื่น ๆ การทำงานจะต้องอาศัยการสะสมประสบการณ์และทักษะ เมื่อภาคีส่วนหนึ่งมีประสบการณ์มากพอก็จะทำหน้าที่เป็น “จุดจัดการ” ในการทำงานของภาคีด้วยกันได้
สสส. จึงใช้แนวทางการเพิ่มจำนวนจุดจัดการที่มีประสบการณ์ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้กระจายไปสู่หน่วยทำงานอื่นได้มากขึ้น ซึ่งเมื่อรับทุนไปแล้ว หน่วยงานที่เป็นจุดจัดการไม่ได้เอาเงินไปใช้เอง แต่นำเงินไปสนับสนุนภาคีย่อยอีกทีหนึ่ง เช่น ศจย. เป็นจุดจัดการด้านงานศึกษาและโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ ซึ่งเมื่อไม่เข้าใจกระบวนการทั้งหมด อาจเข้าใจว่า สสส. ให้ทุนกับหน่วยงานหน้าเดิม หรือขาประจำ ซึ่งในขั้นตอนการทำงาน สสส. ไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่เป็นเจ้าของงบ เพราะการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ ต้องอาศัยหน่วยงานมากกว่า 1 แห่ง สสส. ไปเป็นส่วนเสริมให้องค์กรที่ 1 ที่ 2 หรือที่ 3 ที่ทำงานด้านนี้มาเจอกัน ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการขับเคลื่อน นำองค์ความรู้ไปเสริม หรือไปทำให้คนที่ทำงานด้วยกันได้รู้จักกัน หรือทำให้การทำงานที่ไม่สะดวกได้ทำงานสะดวกมากขึ้น
“กรณีผลประโยชน์ทับซ้อนที่พบว่าบางโครงการมีรายชื่อคณะกรรมการกองทุนฯ ได้รับทุนนั้น เนื่องจากภาคีที่สั่งสมประสบการณ์มานานทำงานอย่างใกล้ชิด อาจถูกเชิญไปเป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการแผนงานต่าง ๆ ในขณะที่เขาเหล่านั้นก็มีภารกิจในมูลนิธิ หน่วยงานที่ขับเคลื่อนของเขาบางส่วนแล้ว แต่ สสส. มีกระบวนที่เรียกว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการตรวจพิจารณา ตรวจทานโครงการต่าง ๆ ที่เข้ามาขอรับทุน จะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้รับทุน มีการแสดงใบยืนยันการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่แล้ว เป็นกระบวนการที่ใช้กลั่นกรองโครงการก่อน ถึงจะเข้าไปสู่กระบวนการของการอนุมัติทุน กระบวนการเป็นการป้องกันและมีการตรวจสอบด้วยตัวเอง” ทพญ.ศิริวรรณ กล่าว
นายวิเชียร พงศธร ประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี สสส. กล่าวว่า พ.ร.บ. กองทุนฯ ได้ถูกออกแบบไว้อย่างรอบคอบเพื่อให้ สสส. ทำงานสร้างเสริมสุขภาพในเชิงรุกได้อย่างยั่งยืน ซึ่งหากเทียบกับภาคธุรกิจแล้วถือว่ามีการกำกับติดตามในอยู่เกณฑ์ที่เข้มข้นกว่ามาก ดังนั้น การปรับปรุงและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพสามารถทำได้ด้วยการบริหาร และกำกับดูแลของคณะกรรมการกองทุนฯ ซึ่งมีอำนาจสูงสุด เนื่องจากปัญหาสังคมและปัญหาสุขภาวะ ซึ่งรวมถึงทางกาย ทางใจ และทางสังคม เป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่มาก ดังนั้น จึงควรเพิ่มขีดความสามารถของ สสส. ให้ทำงานเพิ่มขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ด้อยโอกาส
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่