รมว.สธ.เผยเขตสุขภาพที่ 4 เดินหน้าประสานความร่วมมือ รพ.รัฐนอกสังกัด รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง หัวใจเร็วขึ้น ลดอัตราตายอุบัติเหตุจราจร ดูแลผู้สูงอายุชะลอติดบ้านติดเตียง และการใช้งบท้องถิ่นร่วมดูแลสุขภาพประชาชน
วันนี้ (18 ก.ย.) ที่โรงพยาบาลสระบุรี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมเขตสุขภาพที่ 4 ซึ่งมี 8 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครนายก ลพบุรี และสระบุรี ประชุมร่วมกับคณะกรรมการเขตสุขภาพที่ 4 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ผู้บริหารโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม โรงพยาบาลเอกชน ศูนย์วิชาการ วิทยาลัยพยาบาล หัวหน้าส่วนราชการ และภาคีเครือข่ายสุขภาพจังหวัดสระบุรี เพื่อติดตามการดำเนินงานและรับฟังปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชนในเขตสุขภาพ ซึ่งมี 5 ล้าน 1 แสนกว่าคน
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ในภาพรวมของการจัดบริการในเขตสุขภาพที่ 4 พบว่าดำเนินการได้ดี บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐเอกชน มีเป้าหมายการทำงานชัดเจน ภายใต้การนำของผู้ว่าราชการจังหวัด และความเข้มแข็งของภาคเอกชนและประชาชน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในอนาคตอันใกล้จะมีการพัฒนาด้านคมนาคมที่พื้นที่สระบุรี และเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จึงต้องวางแผนในการป้องกันผลกระทบสุขภาพ บูรณาการทำงานข้ามกระทรวงและทุกภาคส่วน ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการดูแลสุขภาพประชาชน
ได้มอบนโยบายให้พื้นที่เน้นหนักการทำงาน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ซึ่งประเทศไทยมีการเสียชีวิตจากสาเหตุนี้สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ประมาณ 23,000 คนต่อปี สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการบาดเจ็บ พิการ หลายแสนล้านบาทต่อปี โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้นการทำงานเชิงรุกเพื่อการป้องกันให้มากขึ้น ซึ่งการรักษาด้านการแพทย์ทำได้ดีอยู่แล้ว โดยให้จังหวัดตั้งศูนย์รวบรวมข้อมูลรายวันต่อเนื่องไม่เฉพาะเทศกาล จะทำให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. การบูรณาการรักษาพยาบาลและการส่งต่อผู้ป่วยโรคยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉาะโรคหัวใจ ซึ่งในเขตสุขภาพนี้มีอัตราตายสูงที่สุดในประเทศ แสนละ 42 คน และโรคมะเร็ง ให้ได้รับการรักษาเร็วขึ้นกว่าที่ผ่านมา คิวรอผ่าตัดหัวใจไม่เกิน 1 ปี คิวรอฉายแสงไม่เกิน 6 สัปดาห์ 3.การดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ซึ่งมีหลายแห่งที่เป็นต้นแบบระดับชาติ เช่น ที่ลำสนธิ จ.ลพบุรี อยากให้ขยายผลให้ทั่วประเทศ และเพิ่มการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีควบคู่ไปด้วย เพื่อชะลอเวลาติดบ้านติดเตียงให้ได้มากที่สุด และ4.การแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการงบประมาณของท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้ไม่สามารถนำมาใช้ดูแลสุขภาพประชาชนได้ จะเร่งหารือกับสตง. เพื่อคลี่คลาย และสามารถนำมาใช้ร่วมกับงบของกระทรวงสาธารณสุข จะช่วยให้งานเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 เป็นพื้นที่ปริมณฑล ซึ่งมีประชากรหนาแน่นกว่าพื้นที่ทั่วไป ส่วนใหญ่ทำงานในภาคบริการ อุตสาหกรรม จะต้องพัฒนารูปแบบบริการให้เหมาะสมครอบคลุมตั้งแต่ระดับขึ้นพื้นฐานจนถึงระดับเชี่ยวชาญและให้เพิ่มเรื่องการดูแลโรคจากการประกอบอาชีพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เช่นที่สระบุรีมีฝุ่นจากโรงโม่หิน โรงงานปูนซีเมนต์ จะต้องวางแผนร่วมกันแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ก.ย.) ที่โรงพยาบาลสระบุรี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมเขตสุขภาพที่ 4 ซึ่งมี 8 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครนายก ลพบุรี และสระบุรี ประชุมร่วมกับคณะกรรมการเขตสุขภาพที่ 4 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ผู้บริหารโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม โรงพยาบาลเอกชน ศูนย์วิชาการ วิทยาลัยพยาบาล หัวหน้าส่วนราชการ และภาคีเครือข่ายสุขภาพจังหวัดสระบุรี เพื่อติดตามการดำเนินงานและรับฟังปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดบริการสุขภาพแก่ประชาชนในเขตสุขภาพ ซึ่งมี 5 ล้าน 1 แสนกว่าคน
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ในภาพรวมของการจัดบริการในเขตสุขภาพที่ 4 พบว่าดำเนินการได้ดี บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐเอกชน มีเป้าหมายการทำงานชัดเจน ภายใต้การนำของผู้ว่าราชการจังหวัด และความเข้มแข็งของภาคเอกชนและประชาชน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในอนาคตอันใกล้จะมีการพัฒนาด้านคมนาคมที่พื้นที่สระบุรี และเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จึงต้องวางแผนในการป้องกันผลกระทบสุขภาพ บูรณาการทำงานข้ามกระทรวงและทุกภาคส่วน ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการดูแลสุขภาพประชาชน
ได้มอบนโยบายให้พื้นที่เน้นหนักการทำงาน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ซึ่งประเทศไทยมีการเสียชีวิตจากสาเหตุนี้สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ประมาณ 23,000 คนต่อปี สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการบาดเจ็บ พิการ หลายแสนล้านบาทต่อปี โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้นการทำงานเชิงรุกเพื่อการป้องกันให้มากขึ้น ซึ่งการรักษาด้านการแพทย์ทำได้ดีอยู่แล้ว โดยให้จังหวัดตั้งศูนย์รวบรวมข้อมูลรายวันต่อเนื่องไม่เฉพาะเทศกาล จะทำให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. การบูรณาการรักษาพยาบาลและการส่งต่อผู้ป่วยโรคยุ่งยากซับซ้อน โดยเฉาะโรคหัวใจ ซึ่งในเขตสุขภาพนี้มีอัตราตายสูงที่สุดในประเทศ แสนละ 42 คน และโรคมะเร็ง ให้ได้รับการรักษาเร็วขึ้นกว่าที่ผ่านมา คิวรอผ่าตัดหัวใจไม่เกิน 1 ปี คิวรอฉายแสงไม่เกิน 6 สัปดาห์ 3.การดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ซึ่งมีหลายแห่งที่เป็นต้นแบบระดับชาติ เช่น ที่ลำสนธิ จ.ลพบุรี อยากให้ขยายผลให้ทั่วประเทศ และเพิ่มการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีควบคู่ไปด้วย เพื่อชะลอเวลาติดบ้านติดเตียงให้ได้มากที่สุด และ4.การแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการงบประมาณของท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้ไม่สามารถนำมาใช้ดูแลสุขภาพประชาชนได้ จะเร่งหารือกับสตง. เพื่อคลี่คลาย และสามารถนำมาใช้ร่วมกับงบของกระทรวงสาธารณสุข จะช่วยให้งานเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 เป็นพื้นที่ปริมณฑล ซึ่งมีประชากรหนาแน่นกว่าพื้นที่ทั่วไป ส่วนใหญ่ทำงานในภาคบริการ อุตสาหกรรม จะต้องพัฒนารูปแบบบริการให้เหมาะสมครอบคลุมตั้งแต่ระดับขึ้นพื้นฐานจนถึงระดับเชี่ยวชาญและให้เพิ่มเรื่องการดูแลโรคจากการประกอบอาชีพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เช่นที่สระบุรีมีฝุ่นจากโรงโม่หิน โรงงานปูนซีเมนต์ จะต้องวางแผนร่วมกันแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่