สธ. เล็งตั้งศูนย์อุบัติเหตุระดับเขตและจังหวัด เน้นงานป้องกันลดอันตราย พร้อมจัดช่องทางด่วนบริการโรคฉุกเฉินอันตรายถึงชีวิต พ่วงศูนย์ประสานส่งต่อ หวังพัฒนางานบริการอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
วันนี้ (8 ก.ค.) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จะเน้นครอบคลุม 3 เรื่อง คือ 1. บริการอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุจราจร เน้นการป้องกันเพื่อลดอันตรายให้ได้มากที่สุด เช่น การสวมหมวกกันน็อก คาดเข็มขัดนิรภัย เมาไม่ขับ โดยจะตั้งศูนย์อุบัติเหตุระดับเขตและจังหวัดใหญ่ รวมทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการรักษา 2. บริการโรคฉุกเฉินที่รุนแรงอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคหัวใจวาย สมองขาดเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม ทันเวลา จะให้มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและพยาบาลฉุกเฉินเช่นกัน จัดช่องทางด่วนเฉพาะให้การรักษาเบื้องต้นในช่วงวิกฤต มีศูนย์ประสานส่งต่อ เชื่อมโยงข้อมูลการรักษาไปยังโรงพยาบาลปลายทาง เพื่อเตรียมการรักษาต่อได้ทันทีที่ผู้ป่วยมาถึง เช่น การผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดสมอง เป็นต้น และสร้างการทำงานเป็นทีมผ่านโครงสร้างทีมหมอครอบครัว ซึ่งเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า และ 3. บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะภัยพิบัติดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นเรื่องท้าทาย โดยให้ทุกพื้นที่ประเมินความเสี่ยงของพื้นที่และเตรียมความพร้อมทีมแพทย์เมิร์ต (MERT) จังหวัดละอย่างน้อย 1 ทีม และทีมเล็ก (มินิเมิร์ต) มีครบทุกอำเภอ จัดฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกับนานาชาติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ทีมเมิร์ตที่ไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล แสดงถึงศักยภาพของทีมแพทย์ไทย และได้รับความชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (8 ก.ค.) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จะเน้นครอบคลุม 3 เรื่อง คือ 1. บริการอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุจราจร เน้นการป้องกันเพื่อลดอันตรายให้ได้มากที่สุด เช่น การสวมหมวกกันน็อก คาดเข็มขัดนิรภัย เมาไม่ขับ โดยจะตั้งศูนย์อุบัติเหตุระดับเขตและจังหวัดใหญ่ รวมทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการรักษา 2. บริการโรคฉุกเฉินที่รุนแรงอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคหัวใจวาย สมองขาดเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม ทันเวลา จะให้มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและพยาบาลฉุกเฉินเช่นกัน จัดช่องทางด่วนเฉพาะให้การรักษาเบื้องต้นในช่วงวิกฤต มีศูนย์ประสานส่งต่อ เชื่อมโยงข้อมูลการรักษาไปยังโรงพยาบาลปลายทาง เพื่อเตรียมการรักษาต่อได้ทันทีที่ผู้ป่วยมาถึง เช่น การผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดสมอง เป็นต้น และสร้างการทำงานเป็นทีมผ่านโครงสร้างทีมหมอครอบครัว ซึ่งเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า และ 3. บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะภัยพิบัติดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นเรื่องท้าทาย โดยให้ทุกพื้นที่ประเมินความเสี่ยงของพื้นที่และเตรียมความพร้อมทีมแพทย์เมิร์ต (MERT) จังหวัดละอย่างน้อย 1 ทีม และทีมเล็ก (มินิเมิร์ต) มีครบทุกอำเภอ จัดฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกับนานาชาติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ทีมเมิร์ตที่ไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล แสดงถึงศักยภาพของทีมแพทย์ไทย และได้รับความชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่