พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีเสนอรายชื่อข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตรอบที่ 3 ว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ยังไม่ได้รายงานความคืบหน้ามายังตน เนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสอบ หากได้ข้อสรุปอย่างไรแล้ว ก็จะส่งผ่านมายังนายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขานุการ ศอตช.
สำหรับกรณีของนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการคณะกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ถูกโยกย้าย คำสั่งตาม มาตรา 44 หลังถูกศอตช.เข้าไปตรวจสอบการใช้งบประมาณของ สปสช. อีกทั้งคณะกรรมการของ สปสช. ออกมาระบุว่า ในระเบียบสามารถเปิดให้ทำได้ ไม่ผิดวัตถุประสงค์ นั้น พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ชี้แจงแล้ว สัปดาห์ที่ผ่านมาได้นัดหมายให้ทั้งสองฝ่ายพูดคุยกัน ว่าปัญหาและมูลเหตุคืออะไร เคยบอกแล้วว่า ถ้าใครคนไหนมีความสงสัยในเรื่องใด ก็ให้ทำหนังสือมาถึงตน และจะให้หน่วยงานนั้นๆ เป็นผู้ชี้แจง แต่ไม่ได้เข้าไปยุ่งในรายละเอียด เพราะเป็นเรื่องของหน่วยงานที่ตรวจสอบและสตง. ก็เป็นองค์กรอิสระ
เมื่อถามว่า หลังจากนั้นจะมีการคืนตำแหน่งให้ เลขาฯ สปสช. หรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ สตง.จะต้องรายงานมาว่า หลังจากชี้แจงแล้ว ทำความเข้าใจกันแล้ว และหากผลของการชี้แจงไม่มีข้อบกพร่องถึงขั้นเป็นโทษ ก็ต้องคืนตำแหน่ง
**สธ.เล็งตั้งศูนย์อุบัติเหตุระดับเขตและจังหวัด
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จะเน้นครอบคลุม 3 เรื่องคือ
1.บริการอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุจราจร เน้นการป้องกันเพื่อลดอันตรายให้ได้มากที่สุด เช่น การสวมหมวกกันน็อก คาดเข็มขัดนิรภัย เมาไม่ขับ โดยจะตั้งศูนย์อุบัติเหตุระดับเขตและจังหวัดใหญ่ รวมทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการรักษา
2.บริการโรคฉุกเฉินที่รุนแรงอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคหัวใจวาย สมองขาดเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม ทันเวลา จะให้มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและพยาบาลฉุกเฉินเช่นกัน จัดช่องทางด่วนเฉพาะให้การรักษาเบื้องต้นในช่วงวิกฤต มีศูนย์ประสานส่งต่อ เชื่อมโยงข้อมูลการรักษาไปยังโรงพยาบาลปลายทาง เพื่อเตรียมการรักษาต่อได้ทันทีที่ผู้ป่วยมาถึง เช่นการผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดสมอง เป็นต้น และสร้างการทำงานเป็นทีมผ่านโครงสร้างทีมหมอครอบครัว ซึ่งเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป
3.บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะภัยพิบัติดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นเรื่องท้าทาย โดยให้ทุกพื้นที่ประเมินความเสี่ยงของพื้นที่และเตรียมความพร้อมทีมแพทย์เมิร์ท (MERT) จังหวัดละอย่างน้อย 1 ทีม และทีมเล็ก (มินิเมิร์ท) มีครบทุกอำเภอ จัดฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกับนานาชาติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ทีมเมริ์ทที่ไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล แสดงถึงศักยภาพของทีมแพทย์ไทย และได้รับความชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก
สำหรับกรณีของนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการคณะกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ถูกโยกย้าย คำสั่งตาม มาตรา 44 หลังถูกศอตช.เข้าไปตรวจสอบการใช้งบประมาณของ สปสช. อีกทั้งคณะกรรมการของ สปสช. ออกมาระบุว่า ในระเบียบสามารถเปิดให้ทำได้ ไม่ผิดวัตถุประสงค์ นั้น พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ชี้แจงแล้ว สัปดาห์ที่ผ่านมาได้นัดหมายให้ทั้งสองฝ่ายพูดคุยกัน ว่าปัญหาและมูลเหตุคืออะไร เคยบอกแล้วว่า ถ้าใครคนไหนมีความสงสัยในเรื่องใด ก็ให้ทำหนังสือมาถึงตน และจะให้หน่วยงานนั้นๆ เป็นผู้ชี้แจง แต่ไม่ได้เข้าไปยุ่งในรายละเอียด เพราะเป็นเรื่องของหน่วยงานที่ตรวจสอบและสตง. ก็เป็นองค์กรอิสระ
เมื่อถามว่า หลังจากนั้นจะมีการคืนตำแหน่งให้ เลขาฯ สปสช. หรือไม่ พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ สตง.จะต้องรายงานมาว่า หลังจากชี้แจงแล้ว ทำความเข้าใจกันแล้ว และหากผลของการชี้แจงไม่มีข้อบกพร่องถึงขั้นเป็นโทษ ก็ต้องคืนตำแหน่ง
**สธ.เล็งตั้งศูนย์อุบัติเหตุระดับเขตและจังหวัด
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จะเน้นครอบคลุม 3 เรื่องคือ
1.บริการอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุจราจร เน้นการป้องกันเพื่อลดอันตรายให้ได้มากที่สุด เช่น การสวมหมวกกันน็อก คาดเข็มขัดนิรภัย เมาไม่ขับ โดยจะตั้งศูนย์อุบัติเหตุระดับเขตและจังหวัดใหญ่ รวมทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการรักษา
2.บริการโรคฉุกเฉินที่รุนแรงอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคหัวใจวาย สมองขาดเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม ทันเวลา จะให้มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและพยาบาลฉุกเฉินเช่นกัน จัดช่องทางด่วนเฉพาะให้การรักษาเบื้องต้นในช่วงวิกฤต มีศูนย์ประสานส่งต่อ เชื่อมโยงข้อมูลการรักษาไปยังโรงพยาบาลปลายทาง เพื่อเตรียมการรักษาต่อได้ทันทีที่ผู้ป่วยมาถึง เช่นการผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดสมอง เป็นต้น และสร้างการทำงานเป็นทีมผ่านโครงสร้างทีมหมอครอบครัว ซึ่งเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป
3.บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะภัยพิบัติดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นเรื่องท้าทาย โดยให้ทุกพื้นที่ประเมินความเสี่ยงของพื้นที่และเตรียมความพร้อมทีมแพทย์เมิร์ท (MERT) จังหวัดละอย่างน้อย 1 ทีม และทีมเล็ก (มินิเมิร์ท) มีครบทุกอำเภอ จัดฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกับนานาชาติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ทีมเมริ์ทที่ไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล แสดงถึงศักยภาพของทีมแพทย์ไทย และได้รับความชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก