โจทย์เร่งด่วนของประเทศไทย คือ จากนี้ไทยต้องเร่งและแข่งกับเวลาเพื่อสร้างคุณภาพและผลิตภาพกำลังแรงงาน ให้สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยเหตุแห่งไทยกำลังก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
เพราะความเลื่อนไหลของกระแสวัฒนธรรมโลก จากการเคลื่อนย้ายประชากร แพร่หลายของวัฒนธรรมต่างถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีความรวดเร็วและลึกซึ้งขึ้นระหว่างคนต่างชุมชน ชนชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ย่อมนำไปสู่การต่อยอดความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่จะเป็นทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางสังคมในอนาคต
ในฐานะหน่วยงานทางวิชาการ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ประเมินแนวโน้มประชากรไทยกลับน่าห่วง โดยพบว่าประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 66.4 ล้านคน ในปี 2569 จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงเหลือ 63.9 ล้านคน ในปี 2583 สัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2569
มิติปัญหาผู้สูงวัยหนึ่งในนั้นคือ แนวโน้มประชากรวัยสูงวัยเพิ่มขึ้น แต่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ขาดความมั่นคงทั้งด้านรายได้และโรคเรื้อรังมีผู้สูงอายุและเด็กถูกทอดทิ้งให้ดำรงชีวิตเพียงลำพัง และในลักษณะของครอบครัวขยายลดลงนี้
นั่นก็หมายความว่าจากนี้ จะมี คนเกิดน้อย แต่อายุยืนมากขึ้น
“การสร้างวินัยและส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงวัยแรงงาน โดยการปลูกฝังพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างประหยัด สมเหตุสมผลตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ขณะที่ส่งเสริมการออมในวัยแรงงาน เพื่อสร้างความมั่นคงของครอบครัวและชีวิตในวัยเกษียณ”
แม้ 13 เมษายน วันผู้สูงอายุปีนี้ประเทศไทยจะยังพอมีข่าวดีอยู่บ้างที่รัฐบาลมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..โดยถือว่าเป็นแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรม และจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทยในอนาคตได้อย่างเห็นผลแต่จากนี้จำเป็น
และนี่คือ ทิศทางหลักที่มูลนิธิในการเตรียมรับมือสังคมสูงวัย เพราะการป้องกันไม่ให้ประเทศไทย เต็มไปด้วย “ผู้สูงวัยที่ยากจน” และมีแผนการเงินที่เตรียมพร้อมเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้น้ำหนักในการมุ่งเข็มทิศการพัฒนานับจากนี้
ปัจจุบันประเทศไทย มีผู้สูงวัยจำนวน 9.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด ของประเทศ ซึ่งถือได้ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) มาตั้งแต่ปี 2548 คือ มีประชากรสูงเกินอายุ ร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และในอีก 15 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 25 ของประชากรไทยทั้งประเทศ
ตัวเลขอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของประชากรผู้สูงวัยอย่างรวดเร็วนี้ เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักและมีการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี การคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ การจัดสวัสดิการให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ตลอดจนการสร้างหลักประกันทางสังคมอย่างยั่งยืนและทั่วถึงเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกเป็นเป้าหมาย
สิ่งที่ชวนคิดต่อไปคือฉากทัศน์สังคมสูงวัยในอนาคตในอนาคตอาจเป็นไปได้ว่ามื่อเข้าสู่สัคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ปี2564 และปี 2567 จะเป็น super-aged society (คนแก่อายุ 65 ปี มีร้อยละ 20) ส่งผลให้ประเทศไทยจะ “แก่” ก่อน “รวย”
ขนาดครัวเรือนจะเล็กมาก ต่ำกว่า 2.5 คน ในปี 2576 ส่วนผู้สูงอายุจำนวนมากจะอยู่คนเดียว มีรายได้/สวัสดิการจำกัด โดยเฉพาะผู้อยู่ในตลาดแรงงานนอกระบบ ที่จะแก่-จน-โดดเดี่ยว
เมื่อประเทศไทย เจอกับโจทย์ โครงสร้างประชากร วัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ น่าจะมีอีกหลายประเด็นที่ชวนคิดต่อ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เพราะความเลื่อนไหลของกระแสวัฒนธรรมโลก จากการเคลื่อนย้ายประชากร แพร่หลายของวัฒนธรรมต่างถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีความรวดเร็วและลึกซึ้งขึ้นระหว่างคนต่างชุมชน ชนชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ย่อมนำไปสู่การต่อยอดความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่จะเป็นทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางสังคมในอนาคต
ในฐานะหน่วยงานทางวิชาการ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ประเมินแนวโน้มประชากรไทยกลับน่าห่วง โดยพบว่าประชากรไทยจะเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 66.4 ล้านคน ในปี 2569 จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงเหลือ 63.9 ล้านคน ในปี 2583 สัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2569
มิติปัญหาผู้สูงวัยหนึ่งในนั้นคือ แนวโน้มประชากรวัยสูงวัยเพิ่มขึ้น แต่ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ขาดความมั่นคงทั้งด้านรายได้และโรคเรื้อรังมีผู้สูงอายุและเด็กถูกทอดทิ้งให้ดำรงชีวิตเพียงลำพัง และในลักษณะของครอบครัวขยายลดลงนี้
นั่นก็หมายความว่าจากนี้ จะมี คนเกิดน้อย แต่อายุยืนมากขึ้น
“การสร้างวินัยและส่งเสริมการออมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงวัยแรงงาน โดยการปลูกฝังพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างประหยัด สมเหตุสมผลตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ขณะที่ส่งเสริมการออมในวัยแรงงาน เพื่อสร้างความมั่นคงของครอบครัวและชีวิตในวัยเกษียณ”
แม้ 13 เมษายน วันผู้สูงอายุปีนี้ประเทศไทยจะยังพอมีข่าวดีอยู่บ้างที่รัฐบาลมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..โดยถือว่าเป็นแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นรูปธรรม และจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทยในอนาคตได้อย่างเห็นผลแต่จากนี้จำเป็น
และนี่คือ ทิศทางหลักที่มูลนิธิในการเตรียมรับมือสังคมสูงวัย เพราะการป้องกันไม่ให้ประเทศไทย เต็มไปด้วย “ผู้สูงวัยที่ยากจน” และมีแผนการเงินที่เตรียมพร้อมเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้น้ำหนักในการมุ่งเข็มทิศการพัฒนานับจากนี้
ปัจจุบันประเทศไทย มีผู้สูงวัยจำนวน 9.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด ของประเทศ ซึ่งถือได้ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) มาตั้งแต่ปี 2548 คือ มีประชากรสูงเกินอายุ ร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และในอีก 15 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 25 ของประชากรไทยทั้งประเทศ
ตัวเลขอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของประชากรผู้สูงวัยอย่างรวดเร็วนี้ เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักและมีการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี การคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ การจัดสวัสดิการให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ตลอดจนการสร้างหลักประกันทางสังคมอย่างยั่งยืนและทั่วถึงเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกเป็นเป้าหมาย
สิ่งที่ชวนคิดต่อไปคือฉากทัศน์สังคมสูงวัยในอนาคตในอนาคตอาจเป็นไปได้ว่ามื่อเข้าสู่สัคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ปี2564 และปี 2567 จะเป็น super-aged society (คนแก่อายุ 65 ปี มีร้อยละ 20) ส่งผลให้ประเทศไทยจะ “แก่” ก่อน “รวย”
ขนาดครัวเรือนจะเล็กมาก ต่ำกว่า 2.5 คน ในปี 2576 ส่วนผู้สูงอายุจำนวนมากจะอยู่คนเดียว มีรายได้/สวัสดิการจำกัด โดยเฉพาะผู้อยู่ในตลาดแรงงานนอกระบบ ที่จะแก่-จน-โดดเดี่ยว
เมื่อประเทศไทย เจอกับโจทย์ โครงสร้างประชากร วัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ น่าจะมีอีกหลายประเด็นที่ชวนคิดต่อ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่