ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งคาดกันว่าภายในปี 2568 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ประเด็นที่น่าห่วงคือ ผู้สูงอายุที่สุขภาพทรุดโทรมลงเรื่อยๆ ตามวัยมีจำนวนมากขึ้น แต่คนดูแลกลับน้อยลง โดยเฉพาะลูกหลานซึ่งอยู่ในวัยทำงาน ที่สำคัญผู้สูงวัยมักเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หากไม่มีการบริหารจัดการและจัดระบบดูแลรองรับอย่างดีพอ ภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
หนึ่งในนโยบายที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำลังดำเนินการคือการมีผู้ดูแลระบบการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) และผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการตรงนี้ได้นั้นจะต้องผ่านการอบรมตามมาตรฐานของกรมอนามัย โดยสัดส่วนคือ Care Manager 1 คน ดูแล Care Giver 5 - 7 คน และ Care Giver 1 คน จะดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 5 - 7 คน
สำหรับพื้นที่ ต.ทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว จ.ชุมพร ไม่ใช่แค่ให้เพียง Care Giver มาดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับดึงให้ผู้สูงอายุติดบ้านได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้วย
โดย นายเหมือนหมั้น สิทธิศักดิ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.ทะเลทรัพย์ เปิดเผยว่า ก่อนที่จะมีนโยบาย Care Giver รวมไปถึงทีมหมอครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุนั้น ในพื้นที่ก็มีการจัดระบบการดูแลอยู่ก่อนแล้ว โดยได้แบ่งผู้สูงอายุในพื้นที่ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มติดสังคม ที่มีสุขภาพแข็งแรง ชอบออกมาทำกิจกรรมกับคนวัยเดียวกันนอกบ้าน 2. กลุ่มติดบ้าน ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่ยอมออกไปไหน และ 3. กลุ่มติดเตียง ซึ่งมีอาการเจ็บป่วย จำเป็นต้องได้รับการดูแล โดยพื้นที่ ต.ทะเลทรัพย์ มีประมาณ 700 หลังคาเรือน รวม 6,000 กว่าคน เป็นผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงประมาณ 50 กว่าคน ซึ่งที่ผ่านมา รพ.สต. และ อสม. ก็ทำงานร่วมกับชมรมผู้สูงอายุในท้องถิ่นในการจะออกไปเยี่ยมบ้านดูแลตามปกติ โดยพยายามให้ผู้ป่วยติดบ้านออกมามีกิจกรรมภายนอก นอกจากนี้ รพ.สต.ทะเลทรัพย์ มีศูนย์ Day Care ที่คอยดูแลผู้สูงอายุอยู่แล้ว เมื่อลูกหลานต้องไปทำงานก็จะพาผู้สูงอายุมารับฝากดูแล ลักษณะแบบไปเช้าเย็นกลับ
“ในศูนย์เรามีกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้สูงอายุทำ แต่ปัญหาคือผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านเขาก็ยังคงติดบ้านอยู่ ต่อให้ลูกหลานพาออกมาอยู่ที่ศูนย์ได้ทำกิจกรรมเขาก็ไม่ชอบ เขาอยากได้อะไรมากกว่านั้น จึงรู้สึกว่าอยู่บ้านเฉยๆ ดีกว่า ไม่อยากออกมา สุดท้ายเราจึงริเริ่มพัฒนาโดยอบรมให้ผู้สูงอายุติดบ้านเป็น Care Giver เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ซึ่งปรากฏว่าเขาชอบที่จะได้ไปดูแลคนอื่น จึงยกระดับศูนย์ Day Care เป็นวิทยาลัยการดูแลผู้สูงอายุ โดยอบรมผู้สูงอายุทั้งหมดของ อ.ปะทิว ตามหลักสูตรของกรมอนามัยให้เป็น Care Giver รุ่นแรกแล้ว 43 คน จำนวนนี้ 12 คนเป็นผู้สูงอายุพื้นที่ ต.ทะเลทรัพย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งจากท้องถิ่น และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่กำลังศึกษาในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว”
นายเหมือนหมั้น กล่าวอีกว่า ผู้สูงอายุติดบ้านที่เป็น Care Giver นั้น จะทำงานในลักษณะอาสา ไม่ได้ต้องการค่าตอบแทน ให้การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงเสมือนญาติ และมีความมั่นใจในการดูแล เพราะมีกฎหมายออกมารองรับว่าหากเกิดการเสียชีวิตขึ้นก็ถือว่าไม่มีความผิด โดยแต่ละเดือนจะมีการประชุมที่วิทยาลัยฯ 1 ครั้ง ซึ่งทางเทศบาลมีข่าวอะไรก็จะมาแจ้งแก่กันที่นี่ รวมถึงมาอบรมเพิ่มเติมจาก รพ.สต.ทะเลทรัพย์ และพระในตำบล ซึ่งทำให้การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงเป็นไปแบบองค์รวม เพราะดูแลไปถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้าย มีความเจ็บปวด ก็จะมีการสวดมนต์ อาศัยภูมิปัญญาโบราณต่างๆ มาช่วยทำให้ผู้ป่วยระยะท้ายมีอาการสงบ และจากไปอย่างเป็นสุข
ขณะที่ นายสุพจน์ พุ่มพร้อมจิตร นายกเทศมนตรี ต.ทะเลทรัพย์ บอกว่า เทศบาลจัดงบให้เกิน 200% คือ 4 แสนบาท ในการจัดอบรม Care Giver และมี สปสช. สนับสนุนอีกราว 3 แสนบาท ซึ่งงบทั้งหมดจะนำมาใช้ในการอบรมและช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยเป็นสำคัญ และจ้างนักกายภาพบำบัดลงไปช่วยดูแลควบคู่ด้วย อย่างไรก็ตาม งานดูแลผู้สูงอายุเราดำเนินการมาเกือบ 10 ปีแล้ว ก่อนที่ส่วนกลางจะเดินหน้าเรื่อง Care Giver หรือทีมหมอครอบครัว และทำได้ดีมาตลอด ซึ่งผลลัพธ์ก็เห็นได้ชัดเจน เพราะผู้สูงอายุติดเตียงต่างก็มีอาการดีขึ้น ยิ้มแย้ม แจ่มใส ญาติรู้สึกพอใจกับการที่เราไปช่วยดูแล ผู้สูงอายุติดเตียงก็ดีใจที่เราลงพื้นที่มาเยี่ยม มีคนให้การดูแลช่วยเหลือ
ต.ทะเลทรัพย์ จึงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีแนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่ชัดเจนและเข้มแข็งมานาน โดยเฉพาะการพลิกบทบาทให้ผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ไม่ยอมออกไปไหน ได้ออกมาทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีสภาพติดเตียง ซึ่งการออกมาเคลื่อนไหวนอกบ้าน ไม่อุดอู้อยู่แต่ในบ้าน ถือเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ และทำให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
หนึ่งในนโยบายที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำลังดำเนินการคือการมีผู้ดูแลระบบการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) และผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการตรงนี้ได้นั้นจะต้องผ่านการอบรมตามมาตรฐานของกรมอนามัย โดยสัดส่วนคือ Care Manager 1 คน ดูแล Care Giver 5 - 7 คน และ Care Giver 1 คน จะดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 5 - 7 คน
สำหรับพื้นที่ ต.ทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว จ.ชุมพร ไม่ใช่แค่ให้เพียง Care Giver มาดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับดึงให้ผู้สูงอายุติดบ้านได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้วย
โดย นายเหมือนหมั้น สิทธิศักดิ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.ทะเลทรัพย์ เปิดเผยว่า ก่อนที่จะมีนโยบาย Care Giver รวมไปถึงทีมหมอครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุนั้น ในพื้นที่ก็มีการจัดระบบการดูแลอยู่ก่อนแล้ว โดยได้แบ่งผู้สูงอายุในพื้นที่ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มติดสังคม ที่มีสุขภาพแข็งแรง ชอบออกมาทำกิจกรรมกับคนวัยเดียวกันนอกบ้าน 2. กลุ่มติดบ้าน ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่ยอมออกไปไหน และ 3. กลุ่มติดเตียง ซึ่งมีอาการเจ็บป่วย จำเป็นต้องได้รับการดูแล โดยพื้นที่ ต.ทะเลทรัพย์ มีประมาณ 700 หลังคาเรือน รวม 6,000 กว่าคน เป็นผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงประมาณ 50 กว่าคน ซึ่งที่ผ่านมา รพ.สต. และ อสม. ก็ทำงานร่วมกับชมรมผู้สูงอายุในท้องถิ่นในการจะออกไปเยี่ยมบ้านดูแลตามปกติ โดยพยายามให้ผู้ป่วยติดบ้านออกมามีกิจกรรมภายนอก นอกจากนี้ รพ.สต.ทะเลทรัพย์ มีศูนย์ Day Care ที่คอยดูแลผู้สูงอายุอยู่แล้ว เมื่อลูกหลานต้องไปทำงานก็จะพาผู้สูงอายุมารับฝากดูแล ลักษณะแบบไปเช้าเย็นกลับ
“ในศูนย์เรามีกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้สูงอายุทำ แต่ปัญหาคือผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านเขาก็ยังคงติดบ้านอยู่ ต่อให้ลูกหลานพาออกมาอยู่ที่ศูนย์ได้ทำกิจกรรมเขาก็ไม่ชอบ เขาอยากได้อะไรมากกว่านั้น จึงรู้สึกว่าอยู่บ้านเฉยๆ ดีกว่า ไม่อยากออกมา สุดท้ายเราจึงริเริ่มพัฒนาโดยอบรมให้ผู้สูงอายุติดบ้านเป็น Care Giver เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ซึ่งปรากฏว่าเขาชอบที่จะได้ไปดูแลคนอื่น จึงยกระดับศูนย์ Day Care เป็นวิทยาลัยการดูแลผู้สูงอายุ โดยอบรมผู้สูงอายุทั้งหมดของ อ.ปะทิว ตามหลักสูตรของกรมอนามัยให้เป็น Care Giver รุ่นแรกแล้ว 43 คน จำนวนนี้ 12 คนเป็นผู้สูงอายุพื้นที่ ต.ทะเลทรัพย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งจากท้องถิ่น และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่กำลังศึกษาในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว”
นายเหมือนหมั้น กล่าวอีกว่า ผู้สูงอายุติดบ้านที่เป็น Care Giver นั้น จะทำงานในลักษณะอาสา ไม่ได้ต้องการค่าตอบแทน ให้การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงเสมือนญาติ และมีความมั่นใจในการดูแล เพราะมีกฎหมายออกมารองรับว่าหากเกิดการเสียชีวิตขึ้นก็ถือว่าไม่มีความผิด โดยแต่ละเดือนจะมีการประชุมที่วิทยาลัยฯ 1 ครั้ง ซึ่งทางเทศบาลมีข่าวอะไรก็จะมาแจ้งแก่กันที่นี่ รวมถึงมาอบรมเพิ่มเติมจาก รพ.สต.ทะเลทรัพย์ และพระในตำบล ซึ่งทำให้การดูแลผู้สูงอายุติดเตียงเป็นไปแบบองค์รวม เพราะดูแลไปถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้าย มีความเจ็บปวด ก็จะมีการสวดมนต์ อาศัยภูมิปัญญาโบราณต่างๆ มาช่วยทำให้ผู้ป่วยระยะท้ายมีอาการสงบ และจากไปอย่างเป็นสุข
ขณะที่ นายสุพจน์ พุ่มพร้อมจิตร นายกเทศมนตรี ต.ทะเลทรัพย์ บอกว่า เทศบาลจัดงบให้เกิน 200% คือ 4 แสนบาท ในการจัดอบรม Care Giver และมี สปสช. สนับสนุนอีกราว 3 แสนบาท ซึ่งงบทั้งหมดจะนำมาใช้ในการอบรมและช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยเป็นสำคัญ และจ้างนักกายภาพบำบัดลงไปช่วยดูแลควบคู่ด้วย อย่างไรก็ตาม งานดูแลผู้สูงอายุเราดำเนินการมาเกือบ 10 ปีแล้ว ก่อนที่ส่วนกลางจะเดินหน้าเรื่อง Care Giver หรือทีมหมอครอบครัว และทำได้ดีมาตลอด ซึ่งผลลัพธ์ก็เห็นได้ชัดเจน เพราะผู้สูงอายุติดเตียงต่างก็มีอาการดีขึ้น ยิ้มแย้ม แจ่มใส ญาติรู้สึกพอใจกับการที่เราไปช่วยดูแล ผู้สูงอายุติดเตียงก็ดีใจที่เราลงพื้นที่มาเยี่ยม มีคนให้การดูแลช่วยเหลือ
ต.ทะเลทรัพย์ จึงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีแนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่ชัดเจนและเข้มแข็งมานาน โดยเฉพาะการพลิกบทบาทให้ผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ไม่ยอมออกไปไหน ได้ออกมาทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีสภาพติดเตียง ซึ่งการออกมาเคลื่อนไหวนอกบ้าน ไม่อุดอู้อยู่แต่ในบ้าน ถือเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ และทำให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่