ฟอร์มทีมดูแลคนแก่ด้วยแพทย์แผนไทย จัดเต็มทั้งให้ความรู้การใช้ยาสมุนไพร โยคะบำบัด สวดมนต์-สมาธิบำบัด นวดประคบ โภชนาการตามธาตุเจ้าเรือน ช่วยรักษาสุขภาพ ป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพดีทั้งกาย-ใจ ก่อนเข้าสู่ระบบโรงพยาบาล
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ มีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่วัยทำงานที่จะดูแลมีน้อยลง ทั้งนี้ นโยบายหนึ่งที่ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ความสำคัญคือ การดูแลผู้สูงอายุ การดำเนินงานในปี 2558 ของกรมฯ จึงเน้นในเรื่องนี้ โดยใช้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมาดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมนั้นจะต้องเริ่มจากการใช้องค์ความรู้พื้นบ้านในการดูแลสุขภาพก่อน แล้วหากเจ็บป่วยมากกว่านั้นจึงค่อยนำส่งโรงพยาบาล โดยทีมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) นั้น จะประกอบไปด้วย ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรง ญาติผู้ป่วย และอาสาสมัคร โดยมีแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager)
"ขณะนี้กรมฯ ได้จัดทำหลักสูตรในการอบรม Care Manager เป็นเวลา 18 ชั่วโมงให้แก่แพทย์แผนไทยทั่วประเทศแล้ว ซึ่งหลักสูตรมีการบูรณาการร่วมกับการอบรม Care Manager ของกรมอนามัย ทั้งนี้ กรมฯ ได้จัดประชุมอบรมรอบแรกผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ไปแล้ว โดยรอบที่ 2 จะจัดร่วมกับกรมอนามัย ซึ่งจะต้องอบรมให้สำเร็จมี Care Manager ใน 22 จังหวัดภายใน ธ.ค. 2557 นี้ และมี Care Manager ครบทั่วทั้งประเทศในเม.ย. 2558" อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าว
นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า สำหรับทีม Care Manager จะไปดำเนินการจัดอบรมให้ Care Giver อีกทอดหนึ่ง โดยเน้นเอาความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การใช้สมุนไพรดูแลการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุแทนยาแผนปัจจุบัน สอนเรื่องการใช้โยคะบำบัด และการยืดเหยียดในผู้สูงอายุเพื่อแก้อาการปวดเมื่อย สอนการสวดมนต์บำบัด และสมาธิบำบัด สอนญาติผู้ป่วยและอาสาสมัคร ในเรื่องของการนวดเพื่อลดความเจ็บปวด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ รวมไปถึงสอนการใช้ยาแผนไทยประจำบ้าน และเรื่องของอาหารโภชนาการตามธาตุเจ้าเรือนและฤดูกาล เพื่อให้มีภูมิต้านทานและมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น ทั้งร่างกาย จิตใจ และการป้องกันโรค
นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยติดเตียงนั้นก็จะเน้นในเรื่องของการทำกายภาพบำบัด การยืดเหยียด การฝึดการหายใจ รวมไปถึงการใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยในเรื่องของการประคบยา อย่างบางคนประสบปัญหาปวดเข่า มีปัญหาในการเดินก็สามารถใช้การประคบยาสมุนไพรที่เข่าช่วยได้ ซึ่งการดำเนินงานในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุนั้นจะช่วยให้ผู้ที่ประสบปัญหาป่วยติดเตียง เปลี่ยนมาเป็นผู้ติดบ้าน และผู้ที่ติดบ้านก็จะจะกลายเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นการติดสังคมแทน สำหรับคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลนั้น จะเพิ่มจำนวนให้มีประมาณ 50% ของโรงพยาบาลทั้งหมดในปี 2558 และครบ 100% ในปี 2561
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ มีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่วัยทำงานที่จะดูแลมีน้อยลง ทั้งนี้ นโยบายหนึ่งที่ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ความสำคัญคือ การดูแลผู้สูงอายุ การดำเนินงานในปี 2558 ของกรมฯ จึงเน้นในเรื่องนี้ โดยใช้ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมาดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมนั้นจะต้องเริ่มจากการใช้องค์ความรู้พื้นบ้านในการดูแลสุขภาพก่อน แล้วหากเจ็บป่วยมากกว่านั้นจึงค่อยนำส่งโรงพยาบาล โดยทีมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) นั้น จะประกอบไปด้วย ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรง ญาติผู้ป่วย และอาสาสมัคร โดยมีแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager)
"ขณะนี้กรมฯ ได้จัดทำหลักสูตรในการอบรม Care Manager เป็นเวลา 18 ชั่วโมงให้แก่แพทย์แผนไทยทั่วประเทศแล้ว ซึ่งหลักสูตรมีการบูรณาการร่วมกับการอบรม Care Manager ของกรมอนามัย ทั้งนี้ กรมฯ ได้จัดประชุมอบรมรอบแรกผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ไปแล้ว โดยรอบที่ 2 จะจัดร่วมกับกรมอนามัย ซึ่งจะต้องอบรมให้สำเร็จมี Care Manager ใน 22 จังหวัดภายใน ธ.ค. 2557 นี้ และมี Care Manager ครบทั่วทั้งประเทศในเม.ย. 2558" อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าว
นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า สำหรับทีม Care Manager จะไปดำเนินการจัดอบรมให้ Care Giver อีกทอดหนึ่ง โดยเน้นเอาความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การใช้สมุนไพรดูแลการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุแทนยาแผนปัจจุบัน สอนเรื่องการใช้โยคะบำบัด และการยืดเหยียดในผู้สูงอายุเพื่อแก้อาการปวดเมื่อย สอนการสวดมนต์บำบัด และสมาธิบำบัด สอนญาติผู้ป่วยและอาสาสมัคร ในเรื่องของการนวดเพื่อลดความเจ็บปวด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ รวมไปถึงสอนการใช้ยาแผนไทยประจำบ้าน และเรื่องของอาหารโภชนาการตามธาตุเจ้าเรือนและฤดูกาล เพื่อให้มีภูมิต้านทานและมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น ทั้งร่างกาย จิตใจ และการป้องกันโรค
นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยติดเตียงนั้นก็จะเน้นในเรื่องของการทำกายภาพบำบัด การยืดเหยียด การฝึดการหายใจ รวมไปถึงการใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยในเรื่องของการประคบยา อย่างบางคนประสบปัญหาปวดเข่า มีปัญหาในการเดินก็สามารถใช้การประคบยาสมุนไพรที่เข่าช่วยได้ ซึ่งการดำเนินงานในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุนั้นจะช่วยให้ผู้ที่ประสบปัญหาป่วยติดเตียง เปลี่ยนมาเป็นผู้ติดบ้าน และผู้ที่ติดบ้านก็จะจะกลายเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นการติดสังคมแทน สำหรับคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลนั้น จะเพิ่มจำนวนให้มีประมาณ 50% ของโรงพยาบาลทั้งหมดในปี 2558 และครบ 100% ในปี 2561
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่