ยอดคนแก่ลาออกผู้ประกันตนอื้อกว่า 1 พันคน ประกันสังคมยันยังไม่จ่ายเงินสมทบส่วนของรัฐ หวั่นขัดเป้าหมายการออม กระทบกฎหมาย - กองทุน จ่อออก กม. ลูกกำหนดเงื่อนไขรับเงิน ย้ำชัดไม่เสียสิทธิ พร้อมเดินหน้าจัดทำร่างกฎหมายเปิดรับสมัครรอบใหม่
จากกรณีที่มีผู้ประกันตนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทยอยลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 รับสิทธิประโยชน์ชราภาพเพื่อต้องการเงินสมทบจากรัฐบาล
วันนี้ (14 ม.ค.) นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้ตรวจราชการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในฐานะโฆษก สปส. กล่าวว่า จากการตรวจสอบ พบว่า ตั้งแต่ต้น ม.ค. 58 มีผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ลาออกกว่า 1 พันคน จากยอดทั้งหมดกว่า 3.5 แสนคน ซึ่งขณะนี้ได้ให้ สปส. จังหวัดต่างๆ จ่ายเงินเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ ส่วนที่รัฐจ่ายสมทบนั้นให้ชะลอไว้ก่อน แต่ผู้ประกันตนจะฟ้องหรือไม่ถือเป็นสิทธิของผู้ประกันตน แต่อยากให้เข้าใจถึงการทำงานของ สปส. ที่ต้องชะลอไว้เพื่อป้องกันปัญหาลาออก เพราะต้องการเงินสมทบของรัฐ ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่เน้นออมเงิน และต้องศึกษาถึงวิธีการจ่ายเงินให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในภาพรวมของกองทุนและผิดเจตนารมณ์กฎหมาย แต่ยืนยันว่าผู้ประกันตนไม่เสียสิทธิแน่นอน สำหรับผู้ประกันตนที่ลาออกไปแล้วจะไม่สามารถกลับเข้ามาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ใหม่ได้อีก
นายโกวิท กล่าวว่า ขณะนี้ สปส. อยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า หากมีการลาออกเพื่อขอรับเงินสมทบในเวลารวดเร็วผิดเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ และการจ่ายเงินสมทบในส่วนของรัฐควรจะทำอย่างไร รวมทั้งจะต้องออกกฎหมายลูกเพื่อจัดทำเงื่อนไขรองรับหรือไม่ เช่น อาจจะกำหนดให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 เป็นผู้ประกันตนไปก่อน 1 - 2 ปี จึงจะสามารถลาออกและรับเงินสมทบทั้งส่วนที่ส่งเองและรัฐสมทบได้ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนมกราคมนี้ ขณะเดียวกัน สปส. จะเร่งจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2554 (มาตรา 40) เพื่อขยายเวลารับสมัครผู้ประกันตนที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอไปยัง นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาเสนอต่อ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอีกครั้งในเดือนมกราคมนี้ ซึ่ง รมว.แรงงาน ได้ให้ สปส. เร่งดำเนินการในเรื่องนี้
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ สปส. ได้เสนอร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าวต่อปลัดกระทรวงแรงงานไปแล้ว แต่ได้ส่งกลับมาให้ทบทวนเนื้อหา เนื่องจากมีหนังสือท้วงติงจากหลายฝ่ายว่ามาตรา 40 ยังมีช่องโหว่ในหลายเรื่อง เช่น การให้ผู้ที่มีสิทธิประโยชน์ได้รับเงินบำนาญจากกองทุนอื่นๆ สามารถสมัครได้การเปิดให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบย้อนหลังและไม่กำหนดระยะการเป็นผู้ประกันตน ทำให้รัฐบาลจะต้องจ่ายสมทบเป็นจำนวนมาก และส่งผลต่องบประมาณของรัฐ นอกจากนี้ จะศึกษาว่าการเปิดรับสมัครรอบใหม่จะเปิดให้จ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้หรือไม่ ซึ่งสปส.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาทบทวนร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว เพื่ออุดช่องโหว่ตามที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตและเพื่อให้เนื้อหากฎหมายเป็นไปอย่างรัดกุม โดยจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
โฆษก สปส. กล่าวด้วยว่า ส่วนการรวมกองทุนประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 กับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) นั้น ขณะนี้ สปส. กับกระทรวงการคลังที่ดูแลกองทุน กอช. ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อศึกษาในเรื่องนี้ ล่าสุดทางกระทรวงการคลังจะเดินหน้ากองทุน กอช. ส่วนการนำกองทุนประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 กับกองทุนไปรวมหรือไม่นั้นยังไม่มีข้อสรุปเพราะจะต้องศึกษารายละเอียดทั้งในแง่กฎหมายและเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละกองทุนด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้พยายามสอบถามไปยัง นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แต่ไม่สามารถติดต่อได้ จึงสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ภายในพบว่า เลขา สปส. ได้มอบหมายให้ นายโกวิท สัจจวิเศษ เป็นผู้ชี้แจงแทน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
จากกรณีที่มีผู้ประกันตนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทยอยลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 รับสิทธิประโยชน์ชราภาพเพื่อต้องการเงินสมทบจากรัฐบาล
วันนี้ (14 ม.ค.) นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้ตรวจราชการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในฐานะโฆษก สปส. กล่าวว่า จากการตรวจสอบ พบว่า ตั้งแต่ต้น ม.ค. 58 มีผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ลาออกกว่า 1 พันคน จากยอดทั้งหมดกว่า 3.5 แสนคน ซึ่งขณะนี้ได้ให้ สปส. จังหวัดต่างๆ จ่ายเงินเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ ส่วนที่รัฐจ่ายสมทบนั้นให้ชะลอไว้ก่อน แต่ผู้ประกันตนจะฟ้องหรือไม่ถือเป็นสิทธิของผู้ประกันตน แต่อยากให้เข้าใจถึงการทำงานของ สปส. ที่ต้องชะลอไว้เพื่อป้องกันปัญหาลาออก เพราะต้องการเงินสมทบของรัฐ ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่เน้นออมเงิน และต้องศึกษาถึงวิธีการจ่ายเงินให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในภาพรวมของกองทุนและผิดเจตนารมณ์กฎหมาย แต่ยืนยันว่าผู้ประกันตนไม่เสียสิทธิแน่นอน สำหรับผู้ประกันตนที่ลาออกไปแล้วจะไม่สามารถกลับเข้ามาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ใหม่ได้อีก
นายโกวิท กล่าวว่า ขณะนี้ สปส. อยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า หากมีการลาออกเพื่อขอรับเงินสมทบในเวลารวดเร็วผิดเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือไม่ และการจ่ายเงินสมทบในส่วนของรัฐควรจะทำอย่างไร รวมทั้งจะต้องออกกฎหมายลูกเพื่อจัดทำเงื่อนไขรองรับหรือไม่ เช่น อาจจะกำหนดให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 เป็นผู้ประกันตนไปก่อน 1 - 2 ปี จึงจะสามารถลาออกและรับเงินสมทบทั้งส่วนที่ส่งเองและรัฐสมทบได้ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนมกราคมนี้ ขณะเดียวกัน สปส. จะเร่งจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2554 (มาตรา 40) เพื่อขยายเวลารับสมัครผู้ประกันตนที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอไปยัง นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาเสนอต่อ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอีกครั้งในเดือนมกราคมนี้ ซึ่ง รมว.แรงงาน ได้ให้ สปส. เร่งดำเนินการในเรื่องนี้
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ สปส. ได้เสนอร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าวต่อปลัดกระทรวงแรงงานไปแล้ว แต่ได้ส่งกลับมาให้ทบทวนเนื้อหา เนื่องจากมีหนังสือท้วงติงจากหลายฝ่ายว่ามาตรา 40 ยังมีช่องโหว่ในหลายเรื่อง เช่น การให้ผู้ที่มีสิทธิประโยชน์ได้รับเงินบำนาญจากกองทุนอื่นๆ สามารถสมัครได้การเปิดให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบย้อนหลังและไม่กำหนดระยะการเป็นผู้ประกันตน ทำให้รัฐบาลจะต้องจ่ายสมทบเป็นจำนวนมาก และส่งผลต่องบประมาณของรัฐ นอกจากนี้ จะศึกษาว่าการเปิดรับสมัครรอบใหม่จะเปิดให้จ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้หรือไม่ ซึ่งสปส.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาทบทวนร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว เพื่ออุดช่องโหว่ตามที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตและเพื่อให้เนื้อหากฎหมายเป็นไปอย่างรัดกุม โดยจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
โฆษก สปส. กล่าวด้วยว่า ส่วนการรวมกองทุนประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 กับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) นั้น ขณะนี้ สปส. กับกระทรวงการคลังที่ดูแลกองทุน กอช. ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อศึกษาในเรื่องนี้ ล่าสุดทางกระทรวงการคลังจะเดินหน้ากองทุน กอช. ส่วนการนำกองทุนประกันสังคมมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 กับกองทุนไปรวมหรือไม่นั้นยังไม่มีข้อสรุปเพราะจะต้องศึกษารายละเอียดทั้งในแง่กฎหมายและเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละกองทุนด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้พยายามสอบถามไปยัง นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แต่ไม่สามารถติดต่อได้ จึงสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ภายในพบว่า เลขา สปส. ได้มอบหมายให้ นายโกวิท สัจจวิเศษ เป็นผู้ชี้แจงแทน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่