เก้าอี้ซี 10 ขรก. กระทรวงแรงงาน ส่อโดนโยก ผลงานแก้ค้ามนุษย์อืด เล็งย้าย “พีรพัฒน์” ไปเป็นรองปลัด ให้ “สุเมธ” เสียบแทน จัดระเบียบต่างด้าวไม่เข้าเป้า ลุ้น “วินัย” “อารักษ์” นั่งเก้าอี้อธิบดี กกจ. เดินหน้าปั้นผลงานก่อนหมดวาระรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเข้ารับตำแหน่งกว่า 3 เดือนตั้งแต่เดือน ก.ย.- ธ.ค. 2557 ได้มีการหารือกับข้าราชการและทีมการเมืองเพื่อประเมินผลงานในการทำงานของอธิบดีแต่ละกรมโดย กรมที่ถูกจับมากที่สุดคือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เนื่องจากผลงานยังเงียบหายไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้แรงงาน ร่างกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในภาคประมงและเกษตร การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีความคืบหน้าน้อยมาก โดยมี นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ อธิบดี กสร. ซึ่งเติบโตมาจากสำนักงานรัฐมนตรีและเกี่ยวข้องกับการประสานงานมากกว่า แต่ได้รับแต่งตั้งมาเป็นอธิบดี กสร. เพราะมีความอาวุโส และได้รับการคาดหมายว่าจะมาผลักดันนโยบายข้างต้นเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับประเทศที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ในอันดับ 3
นอกจากนี้ ส่วนของกรมการจัดหางาน (กกจ.) มีแนวคิดจะเปลี่ยนตัวอธิบดี เนื่องจากปัญหาการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่ล่าช้าและมีปัญหาร้องเรียน โดยล่าสุดแรงงานไทยที่ไปทำงานอิสราเอลมีปัญหาเกี่ยวข้องกับการค้าและเสพยาเสพติด ทำให้ฝ่ายการเมืองมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนตัวอธิบดี กกจ. แต่ยังมีปัญหายังไม่สามารถหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งแทนได้ และเปิดโอกาสให้นายสุเมธทำงานต่ออีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้น จะมีการประเมินผลงานพร้อมกับสลับหมุนเวียนตำแหน่าข้าราชการระดับ 10 อีกครั้ง ทั้งนี้ มีกระแสข่าวว่าในช่วงเดือน เม.ย. 2558 จะมีการหมุนเวียนอธิบดีแต่ละกรมพร้อมรองปลัดเพื่อให้เกิดการตื่นตัวในการทำงานและขับเคลื่อนนโยบายอย่างจริงจังโดยต้องให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เนื่องจากรัฐบาลมีระยะการทำงานจำกัดโดยตั้งเป้าหมายจะอยู่ทำงานถึงต้นปี 2559 เบื้องต้นคาดว่าในเดือนเม.ย. 2558 จะมีการโยกย้ายนายพีรพัฒน์ออกจากตำแหน่งอธิบดี กสร. ไปเป็นรองปลัดกระทรวงแรงงาน และให้นายสุเมธไปเป็นอธิบดีกสร. จากนั้นจะให้ นายวินัย ลู่วิโรจน์ รองปลัดกระทรวงแรงงานหรือนายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงานไปเป็นอธิบดี กกจ. ขณะที่ นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ยังคงนั่งอยู่ในตำแหน่งเดิม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเข้ารับตำแหน่งกว่า 3 เดือนตั้งแต่เดือน ก.ย.- ธ.ค. 2557 ได้มีการหารือกับข้าราชการและทีมการเมืองเพื่อประเมินผลงานในการทำงานของอธิบดีแต่ละกรมโดย กรมที่ถูกจับมากที่สุดคือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เนื่องจากผลงานยังเงียบหายไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้แรงงาน ร่างกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในภาคประมงและเกษตร การจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีความคืบหน้าน้อยมาก โดยมี นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ อธิบดี กสร. ซึ่งเติบโตมาจากสำนักงานรัฐมนตรีและเกี่ยวข้องกับการประสานงานมากกว่า แต่ได้รับแต่งตั้งมาเป็นอธิบดี กสร. เพราะมีความอาวุโส และได้รับการคาดหมายว่าจะมาผลักดันนโยบายข้างต้นเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับประเทศที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ในอันดับ 3
นอกจากนี้ ส่วนของกรมการจัดหางาน (กกจ.) มีแนวคิดจะเปลี่ยนตัวอธิบดี เนื่องจากปัญหาการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่ล่าช้าและมีปัญหาร้องเรียน โดยล่าสุดแรงงานไทยที่ไปทำงานอิสราเอลมีปัญหาเกี่ยวข้องกับการค้าและเสพยาเสพติด ทำให้ฝ่ายการเมืองมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนตัวอธิบดี กกจ. แต่ยังมีปัญหายังไม่สามารถหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งแทนได้ และเปิดโอกาสให้นายสุเมธทำงานต่ออีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้น จะมีการประเมินผลงานพร้อมกับสลับหมุนเวียนตำแหน่าข้าราชการระดับ 10 อีกครั้ง ทั้งนี้ มีกระแสข่าวว่าในช่วงเดือน เม.ย. 2558 จะมีการหมุนเวียนอธิบดีแต่ละกรมพร้อมรองปลัดเพื่อให้เกิดการตื่นตัวในการทำงานและขับเคลื่อนนโยบายอย่างจริงจังโดยต้องให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เนื่องจากรัฐบาลมีระยะการทำงานจำกัดโดยตั้งเป้าหมายจะอยู่ทำงานถึงต้นปี 2559 เบื้องต้นคาดว่าในเดือนเม.ย. 2558 จะมีการโยกย้ายนายพีรพัฒน์ออกจากตำแหน่งอธิบดี กสร. ไปเป็นรองปลัดกระทรวงแรงงาน และให้นายสุเมธไปเป็นอธิบดีกสร. จากนั้นจะให้ นายวินัย ลู่วิโรจน์ รองปลัดกระทรวงแรงงานหรือนายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงานไปเป็นอธิบดี กกจ. ขณะที่ นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ยังคงนั่งอยู่ในตำแหน่งเดิม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่