วานนี้ (21 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 345/2557 ลงวันที่ 16 ธ.ค. แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาวิเคราะห์ เพื่อเตรียมการตัดโอนภารกิจด้านบริหารแรงงานต่างด้าวจากกรมการจัดหางาน มาสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน โดยมีนายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานคณะทำงาน จำนวน 8 คน เพื่อให้การขับเคลื่อนภารกิจการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งนี้ให้คณะทำงานมีอำนาจหน้าที่ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตัดโอนภารกิจ รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทุกด้าน และพิจารณาเสนอแนวทางการตัดโอนภารกิจรวมทั้งสรุปผลกระทบที่จะเกิดขึ้นรายงานปลัดกระทรวงแรงงานทุก 2 สัปดาห์ เพื่อนำเสนอ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงสาเหตุการปรับโครงสร้างกรมการจัดหางาน ว่า พล.อ.สุรศักดิ์ ต้องการให้กรมการจัดหางานหันไปเน้นการส่งเสริมการมีงานทำของคนไทย เพราะพบว่าแรงงานไทยว่างงานกว่า 3 แสนคน ซึ่งจำนวนดังกล่าวยังไม่รวมกับบัณทิตจบใหม่ปีละ 1.5 แสนคน รวมทั้งยังมีแรงงานนอกระบบอีก 26 ล้านคน คนกลุ่มนี้ถูกแรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงานทำ ประกอบกับที่ผ่านมากรมการจัดหางานถูกมองว่ามีผลประโยชน์กับแรงงานต่างด้าวและฝังรากลึกมานานจนแก้ปัญหายาก ซึ่งหลัง คสช.ยึดอำนาจ ได้มีคำสั่งเด้งอธิบดีกรมการจัดหางาน และ ผอ.สำนักบริหารแรงงานต่างด้าวออกจากตำแหน่ง โดยตั้งนายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงานมาเป็นอธิบดีแทน แต่หลังจากนั้นยังมีการย้ายรองอธิบดีที่กำกับดูแลแรงงานต่างด้าวถึง 3 คน ในรอบ 2 เดือน ในขณะที่ยังมีหนังสือร้องเรียนถึงการรับผลประโยชน์จากแรงงานต่างด้าวเป็นระยะ การโอนงานบริหารแรงงานต่างด้าว เพื่อตัดวงจรเดิมเอาอำนาจกำกับดูแลไปให้แรงงานจังหวัดที่ขึ้นตรงกับสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาถูกมองว่ามีบทบาทเป็นเพียงหน่วยประสานงานระหว่างกรมเท่านั้น
แหล่งข่าวคนเดิมเปิดเผยอีกว่า ต่อไปกรมการจัดหางาน ต้องไปเน้นการบริหารงานในส่วนของการหางานให้คนไทยทำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะถือเป็นภารกิจของกรมการจัดหางานที่แท้จริง โดยจะใช้ตึกสีลูกกวาด หรือศูนย์บริการจัดหางานครบวงจร ที่จะเปิดบริการเป็นทางการในวันที่ 19 ม.ค. 2558เป็นศูนย์กลาง ขณะเดียวกันได้ให้ไปศึกษาวิธีการเพื่อนำไปสู่การลดจำนวนแรงงานต่างด้าวซึ่งมีผลกับความมั่นคงให้เหลือน้อยที่สุดภายใน 3 ปี ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ อยู่ในระบบเกือบ 3 ล้านคน และแรงงานผิดกฎหมายอีกนับแสนคน มีเงินหมุนเวียนในการเก็บค่าทำเนียมปีละหลายพันล้านบาทส่วนที่มีแรงต่อต้านจากข้าราชการกรมการจัดหางานเชื่อว่าเมื่อเป็นนโยบายจะไม่มีใครกล้าออกมาคัดค้านทั้งนี้จะมีการเร่งดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรมหลังปีใหม่ และจะมีการเสนอให้ออกเป็นประกาศ คสช. เพื่อให้มีผลบังคับใช้เร็วที่สุด.
แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงสาเหตุการปรับโครงสร้างกรมการจัดหางาน ว่า พล.อ.สุรศักดิ์ ต้องการให้กรมการจัดหางานหันไปเน้นการส่งเสริมการมีงานทำของคนไทย เพราะพบว่าแรงงานไทยว่างงานกว่า 3 แสนคน ซึ่งจำนวนดังกล่าวยังไม่รวมกับบัณทิตจบใหม่ปีละ 1.5 แสนคน รวมทั้งยังมีแรงงานนอกระบบอีก 26 ล้านคน คนกลุ่มนี้ถูกแรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงานทำ ประกอบกับที่ผ่านมากรมการจัดหางานถูกมองว่ามีผลประโยชน์กับแรงงานต่างด้าวและฝังรากลึกมานานจนแก้ปัญหายาก ซึ่งหลัง คสช.ยึดอำนาจ ได้มีคำสั่งเด้งอธิบดีกรมการจัดหางาน และ ผอ.สำนักบริหารแรงงานต่างด้าวออกจากตำแหน่ง โดยตั้งนายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงานมาเป็นอธิบดีแทน แต่หลังจากนั้นยังมีการย้ายรองอธิบดีที่กำกับดูแลแรงงานต่างด้าวถึง 3 คน ในรอบ 2 เดือน ในขณะที่ยังมีหนังสือร้องเรียนถึงการรับผลประโยชน์จากแรงงานต่างด้าวเป็นระยะ การโอนงานบริหารแรงงานต่างด้าว เพื่อตัดวงจรเดิมเอาอำนาจกำกับดูแลไปให้แรงงานจังหวัดที่ขึ้นตรงกับสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาถูกมองว่ามีบทบาทเป็นเพียงหน่วยประสานงานระหว่างกรมเท่านั้น
แหล่งข่าวคนเดิมเปิดเผยอีกว่า ต่อไปกรมการจัดหางาน ต้องไปเน้นการบริหารงานในส่วนของการหางานให้คนไทยทำทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะถือเป็นภารกิจของกรมการจัดหางานที่แท้จริง โดยจะใช้ตึกสีลูกกวาด หรือศูนย์บริการจัดหางานครบวงจร ที่จะเปิดบริการเป็นทางการในวันที่ 19 ม.ค. 2558เป็นศูนย์กลาง ขณะเดียวกันได้ให้ไปศึกษาวิธีการเพื่อนำไปสู่การลดจำนวนแรงงานต่างด้าวซึ่งมีผลกับความมั่นคงให้เหลือน้อยที่สุดภายใน 3 ปี ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ อยู่ในระบบเกือบ 3 ล้านคน และแรงงานผิดกฎหมายอีกนับแสนคน มีเงินหมุนเวียนในการเก็บค่าทำเนียมปีละหลายพันล้านบาทส่วนที่มีแรงต่อต้านจากข้าราชการกรมการจัดหางานเชื่อว่าเมื่อเป็นนโยบายจะไม่มีใครกล้าออกมาคัดค้านทั้งนี้จะมีการเร่งดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรมหลังปีใหม่ และจะมีการเสนอให้ออกเป็นประกาศ คสช. เพื่อให้มีผลบังคับใช้เร็วที่สุด.