วันนี้คุณได้เขียนหนังสือด้วยลายมือแล้วหรือยัง ?
ทุกวันนี้ผู้คนเขียนหนังสือด้วยลายมือลดลงอย่างน่าใจหาย หันไปพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์กันหมด ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กประถมยิ่งประเภทสมุดคัดลายมือแบบสมัยก่อนแทบจะไม่มีให้เห็นถ้าย้อนไป 20 กว่า ปี การพิมพ์ดีด หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็น จะถูกระบุว่านั่นคือความสามารถพิเศษ และจะนำไปกรอกไว้ในช่องสมัครงานหรือในเอกสารที่ต้องการสอบถามรายละเอียดชีวิต
แต่ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าการพิมพ์งานด้วยคอมพิวเตอร์ถือเป็นไฟล์ทบังคับที่ผู้คนต้องพิมพ์ได้ เด็กนักเรียนก็ต้องพิมพ์ได้ ทำงานส่งอาจารย์ก็ต้องพิมพ์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ กลายเป็นว่าเดี๋ยวนี้ถ้าอาจารย์หรือคุณครูสั่งงานแล้วบอกว่าให้เขียนด้วยลายมือ แทบจะกลายเป็นเรื่องแปลกไปซะแล้วลายมือของเด็กยุคนี้จึงไม่ได้มีการวัดกันว่าของใครลายมือสวยกว่ากัน หรือการจดจำอัตลักษณ์ของลายมือของแต่ละคนก็แทบจะไม่รู้กันแล้ว
และด้วยปัญหานี้หรือเปล่า จึงทำให้เด็กและเยาวชนรุ่นที่เติบโตมากับโลกเทคโนโลยี แต่ขาดทักษะชีวิตและการพัฒนาสมองส่วนนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
งานวิจัยในนิตยสาร Colorado Parent ระบุว่าเด็กนักเรียนที่เขียนหนังสือไม่คล่องในสหรัฐอเมริกามีจำนวนสูงราว 25-33% ของเด็กนักเรียนทั่วประเทศทำให้เกิดคำถามว่า ในห้องเรียนของเด็กยุคนี้ การเขียนหนังสือด้วยลายมือนั้นยังจำเป็นหรือไม่
แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะตอบว่า จำเป็น และมีงานวิจัยมากมายได้ออกมาระบุถึงความสำคัญของการเขียนหนังสือด้วยลายมือ ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก เพราะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการรู้คิดของเด็ก ทั้งยังสร้างความมั่นใจในตัวเอง ทำให้มีผลการเรียนดีขึ้น มีทักษะด้านการอ่าน และช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเป็นการฝึกฝนทักษะด้านการคิดวิพากษ์วิจารณ์อีกด้วย
จากแนวคิดนี้ทำให้มีการรณรงค์โดยใช้ชื่อว่า Fight for Your Write เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่และคุณครูเห็นความสำคัญของการเขียนด้วยลายมือผ่านทางเว็บไซต์ bicfightforyourwrite.com อีกด้วย
เรื่องการเขียนหนังสือด้วยลายมือ เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกทักษะทางภาษาของมนุษย์ ที่เริ่มจากการฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ด้วยปัจจุบันการเขียนถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการพิมพ์ แล้วมันจะส่งผลต่อทักษะชีวิตของเด็กอย่างไรทักษะที่ได้จากการเขียนด้วยลายมือมีมากมาย
1. ช่วยเรื่องการควบคุมการเคลื่อนไหวของประสาทสัมผัส เช่น การกะระยะ ต้องใช้ความสามารถด้านความสัมพันธ์ของตา แขน และมือ หรือแม้แต่เด็กเล็ก การลากเส้นหรือระบายสีให้อยู่ในรูปภาพก็ต้องใช้ประสาทสัมผัสเช่นกัน รวมไปถึงความสามารถในการจำแนกตัวหนังสือกับตัวเลข ความสามารถในการเขียนตัวหนังสือหรือตัวเลขให้อยู่ในเส้นบรรทัด เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะเขียนตัวเล็ก หรือใหญ่เกินเส้นบรรทัด และจะส่งผลต่อเรื่องมิติสัมพันธ์
2. ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือทั้งมัดเล็กมัดใหญ่ ถ้าเด็กเล็กก็จะได้ฝึกการจับดินสอ การฝึกความถนัดของตัวเอง เด็กที่ได้รับการฝึกฝนบ่อยๆ จะเขียนได้คล่อง และสามารถพัฒนากล้ามเนื้อได้เต็มที่ตรงกันข้ามถ้าเด็กที่ไม่ค่อยได้ฝึกการเขียน ก็จะขาดโอกาสในการพัฒนากล้ามเนื้อมือมัดเล็ก แม้อาจใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นๆ เช่น การปั้นแป้งโดว์ ฯลฯ แต่ก็มีรายละเอียดต่างกันไป
3. ช่วยฝึกฝนเรื่องตัวสะกด โอกาสสะกดพยัญชนะจะทำได้มากขึ้น เขียนได้คล่องขึ้น และจะทำให้มีคำคลังสะสมในสมองเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์ มีโปรแกรมในการช่วยสะกดคำด้วย ยิ่งถ้าเด็กใช้โปรแกรมนี้บ่อยๆ จะทำให้ทักษะเรื่องภาษาไม่แข็งแรง
4. ช่วยเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เพราะการเขียนหนังสือทำให้เราได้ฝึกคิด วิเคราะห์ เพราะต้องผ่านกระบวนการของสมองตั้งแต่รับข้อมูล การเรียบเรียง และการถ่ายทอด ล้วนแล้วต้องใช้ทักษะการคิดทั้งสิ้น
ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เน้นสะดวกรวดเร็ว สำเร็จรูป มีเครื่องมือ และตัวช่วยมากมายที่มาตอบสนองความต้องการของมนุษย์
คิดๆ แล้วก็เป็นห่วงเด็กยุคใหม่จริงๆ ว่าจะไม่ค่อยได้ใช้สมองฝึกทักษะชีวิต เพราะหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีกันหมดและถ้าสมองไม่ค่อยได้ใช้ อะไรมันจะเกิดขึ้นล่ะ !!
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทุกวันนี้ผู้คนเขียนหนังสือด้วยลายมือลดลงอย่างน่าใจหาย หันไปพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์กันหมด ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กประถมยิ่งประเภทสมุดคัดลายมือแบบสมัยก่อนแทบจะไม่มีให้เห็นถ้าย้อนไป 20 กว่า ปี การพิมพ์ดีด หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็น จะถูกระบุว่านั่นคือความสามารถพิเศษ และจะนำไปกรอกไว้ในช่องสมัครงานหรือในเอกสารที่ต้องการสอบถามรายละเอียดชีวิต
แต่ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าการพิมพ์งานด้วยคอมพิวเตอร์ถือเป็นไฟล์ทบังคับที่ผู้คนต้องพิมพ์ได้ เด็กนักเรียนก็ต้องพิมพ์ได้ ทำงานส่งอาจารย์ก็ต้องพิมพ์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ กลายเป็นว่าเดี๋ยวนี้ถ้าอาจารย์หรือคุณครูสั่งงานแล้วบอกว่าให้เขียนด้วยลายมือ แทบจะกลายเป็นเรื่องแปลกไปซะแล้วลายมือของเด็กยุคนี้จึงไม่ได้มีการวัดกันว่าของใครลายมือสวยกว่ากัน หรือการจดจำอัตลักษณ์ของลายมือของแต่ละคนก็แทบจะไม่รู้กันแล้ว
และด้วยปัญหานี้หรือเปล่า จึงทำให้เด็กและเยาวชนรุ่นที่เติบโตมากับโลกเทคโนโลยี แต่ขาดทักษะชีวิตและการพัฒนาสมองส่วนนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
งานวิจัยในนิตยสาร Colorado Parent ระบุว่าเด็กนักเรียนที่เขียนหนังสือไม่คล่องในสหรัฐอเมริกามีจำนวนสูงราว 25-33% ของเด็กนักเรียนทั่วประเทศทำให้เกิดคำถามว่า ในห้องเรียนของเด็กยุคนี้ การเขียนหนังสือด้วยลายมือนั้นยังจำเป็นหรือไม่
แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะตอบว่า จำเป็น และมีงานวิจัยมากมายได้ออกมาระบุถึงความสำคัญของการเขียนหนังสือด้วยลายมือ ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก เพราะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการรู้คิดของเด็ก ทั้งยังสร้างความมั่นใจในตัวเอง ทำให้มีผลการเรียนดีขึ้น มีทักษะด้านการอ่าน และช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเป็นการฝึกฝนทักษะด้านการคิดวิพากษ์วิจารณ์อีกด้วย
จากแนวคิดนี้ทำให้มีการรณรงค์โดยใช้ชื่อว่า Fight for Your Write เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่และคุณครูเห็นความสำคัญของการเขียนด้วยลายมือผ่านทางเว็บไซต์ bicfightforyourwrite.com อีกด้วย
เรื่องการเขียนหนังสือด้วยลายมือ เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกทักษะทางภาษาของมนุษย์ ที่เริ่มจากการฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ด้วยปัจจุบันการเขียนถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการพิมพ์ แล้วมันจะส่งผลต่อทักษะชีวิตของเด็กอย่างไรทักษะที่ได้จากการเขียนด้วยลายมือมีมากมาย
1. ช่วยเรื่องการควบคุมการเคลื่อนไหวของประสาทสัมผัส เช่น การกะระยะ ต้องใช้ความสามารถด้านความสัมพันธ์ของตา แขน และมือ หรือแม้แต่เด็กเล็ก การลากเส้นหรือระบายสีให้อยู่ในรูปภาพก็ต้องใช้ประสาทสัมผัสเช่นกัน รวมไปถึงความสามารถในการจำแนกตัวหนังสือกับตัวเลข ความสามารถในการเขียนตัวหนังสือหรือตัวเลขให้อยู่ในเส้นบรรทัด เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะเขียนตัวเล็ก หรือใหญ่เกินเส้นบรรทัด และจะส่งผลต่อเรื่องมิติสัมพันธ์
2. ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือทั้งมัดเล็กมัดใหญ่ ถ้าเด็กเล็กก็จะได้ฝึกการจับดินสอ การฝึกความถนัดของตัวเอง เด็กที่ได้รับการฝึกฝนบ่อยๆ จะเขียนได้คล่อง และสามารถพัฒนากล้ามเนื้อได้เต็มที่ตรงกันข้ามถ้าเด็กที่ไม่ค่อยได้ฝึกการเขียน ก็จะขาดโอกาสในการพัฒนากล้ามเนื้อมือมัดเล็ก แม้อาจใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นๆ เช่น การปั้นแป้งโดว์ ฯลฯ แต่ก็มีรายละเอียดต่างกันไป
3. ช่วยฝึกฝนเรื่องตัวสะกด โอกาสสะกดพยัญชนะจะทำได้มากขึ้น เขียนได้คล่องขึ้น และจะทำให้มีคำคลังสะสมในสมองเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์ มีโปรแกรมในการช่วยสะกดคำด้วย ยิ่งถ้าเด็กใช้โปรแกรมนี้บ่อยๆ จะทำให้ทักษะเรื่องภาษาไม่แข็งแรง
4. ช่วยเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เพราะการเขียนหนังสือทำให้เราได้ฝึกคิด วิเคราะห์ เพราะต้องผ่านกระบวนการของสมองตั้งแต่รับข้อมูล การเรียบเรียง และการถ่ายทอด ล้วนแล้วต้องใช้ทักษะการคิดทั้งสิ้น
ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เน้นสะดวกรวดเร็ว สำเร็จรูป มีเครื่องมือ และตัวช่วยมากมายที่มาตอบสนองความต้องการของมนุษย์
คิดๆ แล้วก็เป็นห่วงเด็กยุคใหม่จริงๆ ว่าจะไม่ค่อยได้ใช้สมองฝึกทักษะชีวิต เพราะหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีกันหมดและถ้าสมองไม่ค่อยได้ใช้ อะไรมันจะเกิดขึ้นล่ะ !!
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่