สมเด็จพระเทพฯ รับสั่งให้ สพฐ. ฟื้นการสอนอ่านเขียนภาษาไทยแบบแจกรูปสะกดคำ เพราะมีประโยชน์และให้คิดวิธีการขยายผลการสอนให้เด็กอ่าน ออกเขียนได้ พร้อมทรงแนะ ศธ. สนับสนุนครูให้มีเปิดโลกทัศน์ เพิ่มความรู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
วันนี้ (21 ม.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นประธานเปิดงานการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดย พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ พร้อมผู้บริหาร ศธ. เฝ้ารับเสด็จฯ พร้อมกันนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล โอกาสนี้ สมเด็จพระเทพฯ มีพระราชดำรัสเปิดการประชุมตอนหนึ่ง ว่า ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเห็นงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร มีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จ ราษฎรมีความรู้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้ เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ทั้งยังสามารถได้รับการศึกษาและมีโอกาสพัฒนาตนเองให้มีความรู้สูงยิ่งขึ้น เมื่อเด็กและเยาวชนเหล่านี้จบการศึกษาแล้วจะเป็นรากฐานและกำลังสำคัญของบ้านเมือง เป็นคนที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
ข้าพเจ้าขอขอบใจ รมว.ศธ. ที่อำนวยพรเนื่องในโอกาสที่ข้าพเจ้าจะมีอายุครบ 60 ปีในปีนี้ ขอขอบใจหน่วยงานต่างๆ ทั้ง กศน., สพฐ., ตชด., พศ. และสำนักงานพัฒนาพิงคนคร ที่ร่วมมือกันจัดการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ขอให้ท่านที่มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนได้มีความภาคภูมิใจในการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้อยโอกาสให้มีชีวิตที่ดีขึ้น เป็นกุศลกรรมที่จะทำให้ท่านทั้งหลายประสบความสุขสมบูรณ์ มีความเจริญ สวัสดี สำเร็จ สมปรารถนาโดยถ้วนหน้ากัน
ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวภายหลังตามเสด็จฯ สมเด็จพระเทพฯ ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานการดำเนินงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ ว่า สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระราชดำรัสถึงการสอนอ่านเขียนภาษาไทย แบบแจกรูปสะกดคำ ซึ่งเป็นวีธีการสอนแบบในอดีต และสมัยที่ทรงพระเยาว์ก็ทรงเรียนวิธีนี้มาเช่นเดียวกัน แต่ภายหลัง ศธ. ได้มีการเปลี่ยนวิธีสอนเป็นวิธีสอนให้เด็กจำเป็นคำๆ แทน ทำให้เด็กสะกดคำไม่เป็น เมื่อเจอคำใหม่ๆ หรือเปลี่ยนตัวพยัญชนะในสระเดิม ก็ไม่สามารถอ่านได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สพฐ. ได้มีฟื้นการสอนภาษาไทยแบบแจกรูปสะกดคำขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งพระองค์ก็ทรงรับสั่งว่าวิธีนี้เป็นการสอนที่มีประโยชน์ และให้ สพฐ. ไปคิดเพิ่มเติมถึงวิธีการที่จะทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้
นอกจากนั้น ยังทรงรับสั่งถึงเรื่องการพัฒนาครู ว่าให้ ศธ. เปิดโอกาสให้ครูพัฒนาตนเอง รวมถึงการศึกษาดูงานต่างๆ ของทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากในสมัยนี้แม้แต่เด็กก็ยังมีโอกาสไปต่างประเทศ ครูจึงต้องมีโอกาสในการเดินทางไปศึกษาดูงานของต่างประเทศบ้าง เพื่อที่จะเท่าทันเด็กและเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ แก่ครูด้วย ทั้งนี้พระองค์ยังทรงรับสั่งถึงโครงการปลูกป่าสร้างรายได้ ซึ่งเป็นโครงการที่ กศน. ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนให้ชาวบ้านใน 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน และ ตาก ปลูกป่าตามแนวทางพระราชดำริ นำพืชที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้ เช่น กาแฟ หมาก เป็นต้น โดยนำพืชดังกล่าวมาปลูกแบบผสมผสานกัน เพื่อที่จะแก้ปัญหาชาวบ้านรุกป่า เพราะต้องการพื้นที่ที่จะเพาะปลูกเพื่อสร้างรายได้ การดำเนินโครงการนี้ก็จะเป็นการส่งเสริมให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน พระองค์หวังว่าโครงการดังกล่าวที่กำลังจะเริ่มดำเนินการจะเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้และเป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านได้อย่างดี
ทั้งนี้ ภายหลัง สมเด็จพระเทพฯ มีพระราชดำรัสเปิดการประชุม ได้มีการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดีด้านต่างๆ 5 ด้าน คือ 1. ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย เรื่อง พิชิตทุพโภชนา (การ) รักษาสุขภาพอนามัย โดย นางพรรณภา ยวงทอง โรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง จ.นครนายก 2. ด้านส่งเสริมอาชีพ เรื่อง ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรี ตามแนวปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย จ่าสิบตำรวจ อำนาจ สืบสุทธา โรงเรียน ตชด.บ้านย่านซื่อ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 3. ด้านการศึกษา เรื่องอ่านแจกลูก ถูกใจหนู โดยนางสาวผกา ธะนะคำ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" (ศศช.) บ้านห้วยตองหลวง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ 4.ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา วัฒนธรรมการย้อมผ้าด้วยรากเขาะ โดยนางสาวรัศมี คีรีชโลม ศศช. บ้านห้วยขี้หมี อ.ท่าสองยาง จ.ตาก และ 5. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องวัด บ้าน คน ป่า สู่การพึ่งพาและเกื้อกูล โดยพระครูสังวรสุดกิจโรงเรียนทิพย์ปาละวิทยานุสรณ์ จ.ลำปาง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (21 ม.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเป็นประธานเปิดงานการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดย พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ พร้อมผู้บริหาร ศธ. เฝ้ารับเสด็จฯ พร้อมกันนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล โอกาสนี้ สมเด็จพระเทพฯ มีพระราชดำรัสเปิดการประชุมตอนหนึ่ง ว่า ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาเห็นงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร มีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จ ราษฎรมีความรู้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้ เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ทั้งยังสามารถได้รับการศึกษาและมีโอกาสพัฒนาตนเองให้มีความรู้สูงยิ่งขึ้น เมื่อเด็กและเยาวชนเหล่านี้จบการศึกษาแล้วจะเป็นรากฐานและกำลังสำคัญของบ้านเมือง เป็นคนที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
ข้าพเจ้าขอขอบใจ รมว.ศธ. ที่อำนวยพรเนื่องในโอกาสที่ข้าพเจ้าจะมีอายุครบ 60 ปีในปีนี้ ขอขอบใจหน่วยงานต่างๆ ทั้ง กศน., สพฐ., ตชด., พศ. และสำนักงานพัฒนาพิงคนคร ที่ร่วมมือกันจัดการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ขอให้ท่านที่มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนได้มีความภาคภูมิใจในการช่วยเหลือผู้ยากไร้ด้อยโอกาสให้มีชีวิตที่ดีขึ้น เป็นกุศลกรรมที่จะทำให้ท่านทั้งหลายประสบความสุขสมบูรณ์ มีความเจริญ สวัสดี สำเร็จ สมปรารถนาโดยถ้วนหน้ากัน
ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวภายหลังตามเสด็จฯ สมเด็จพระเทพฯ ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานการดำเนินงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ ว่า สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระราชดำรัสถึงการสอนอ่านเขียนภาษาไทย แบบแจกรูปสะกดคำ ซึ่งเป็นวีธีการสอนแบบในอดีต และสมัยที่ทรงพระเยาว์ก็ทรงเรียนวิธีนี้มาเช่นเดียวกัน แต่ภายหลัง ศธ. ได้มีการเปลี่ยนวิธีสอนเป็นวิธีสอนให้เด็กจำเป็นคำๆ แทน ทำให้เด็กสะกดคำไม่เป็น เมื่อเจอคำใหม่ๆ หรือเปลี่ยนตัวพยัญชนะในสระเดิม ก็ไม่สามารถอ่านได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สพฐ. ได้มีฟื้นการสอนภาษาไทยแบบแจกรูปสะกดคำขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งพระองค์ก็ทรงรับสั่งว่าวิธีนี้เป็นการสอนที่มีประโยชน์ และให้ สพฐ. ไปคิดเพิ่มเติมถึงวิธีการที่จะทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้
นอกจากนั้น ยังทรงรับสั่งถึงเรื่องการพัฒนาครู ว่าให้ ศธ. เปิดโอกาสให้ครูพัฒนาตนเอง รวมถึงการศึกษาดูงานต่างๆ ของทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากในสมัยนี้แม้แต่เด็กก็ยังมีโอกาสไปต่างประเทศ ครูจึงต้องมีโอกาสในการเดินทางไปศึกษาดูงานของต่างประเทศบ้าง เพื่อที่จะเท่าทันเด็กและเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ แก่ครูด้วย ทั้งนี้พระองค์ยังทรงรับสั่งถึงโครงการปลูกป่าสร้างรายได้ ซึ่งเป็นโครงการที่ กศน. ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนให้ชาวบ้านใน 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน และ ตาก ปลูกป่าตามแนวทางพระราชดำริ นำพืชที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้ เช่น กาแฟ หมาก เป็นต้น โดยนำพืชดังกล่าวมาปลูกแบบผสมผสานกัน เพื่อที่จะแก้ปัญหาชาวบ้านรุกป่า เพราะต้องการพื้นที่ที่จะเพาะปลูกเพื่อสร้างรายได้ การดำเนินโครงการนี้ก็จะเป็นการส่งเสริมให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน พระองค์หวังว่าโครงการดังกล่าวที่กำลังจะเริ่มดำเนินการจะเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้และเป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านได้อย่างดี
ทั้งนี้ ภายหลัง สมเด็จพระเทพฯ มีพระราชดำรัสเปิดการประชุม ได้มีการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดีด้านต่างๆ 5 ด้าน คือ 1. ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย เรื่อง พิชิตทุพโภชนา (การ) รักษาสุขภาพอนามัย โดย นางพรรณภา ยวงทอง โรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง จ.นครนายก 2. ด้านส่งเสริมอาชีพ เรื่อง ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรี ตามแนวปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย จ่าสิบตำรวจ อำนาจ สืบสุทธา โรงเรียน ตชด.บ้านย่านซื่อ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 3. ด้านการศึกษา เรื่องอ่านแจกลูก ถูกใจหนู โดยนางสาวผกา ธะนะคำ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" (ศศช.) บ้านห้วยตองหลวง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ 4.ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เรื่องความเชื่อ แรงศรัทธา วัฒนธรรมการย้อมผ้าด้วยรากเขาะ โดยนางสาวรัศมี คีรีชโลม ศศช. บ้านห้วยขี้หมี อ.ท่าสองยาง จ.ตาก และ 5. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องวัด บ้าน คน ป่า สู่การพึ่งพาและเกื้อกูล โดยพระครูสังวรสุดกิจโรงเรียนทิพย์ปาละวิทยานุสรณ์ จ.ลำปาง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่