เด็กไทยพัฒนาการไม่สมวัย 30% ย้ำต้องแก้ตั้งแต่อายุ 3 - 5 ขวบ ชี้เลี้ยงดูดี ทำให้โตอย่างมีคุณภาพ จี้ให้ความสำคัญศูนย์เด็กเล็ก เล็งใช้ทีมหมอครอบครัวช่วยดูแลเด็ก
วันนี้ (12 ม.ค.) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 12 ว่า ทั่วโลกพบปัญหาเด็กทารกตายหลังคลอด แต่ภาพรวมพบเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลก เสียชีวิตลดลงจาก 13 ล้านคน ในปี 2533 เหลือจำนวน 6.3 ล้านคน ในปี 2556 ส่วนไทยผ่านเรื่องนี้มากว่า 40 ปี สามารถแก้ปัญหาได้มาก เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ปัญหาที่ไทยพบคือ พัฒนาการเด็ก โดยสำรวจพบว่า มีพัฒนาการไม่สมวัยประมาณ ร้อยละ 30 แม้ภาพรวมการแก้ปัญหาจะดีขึ้น แต่ถือว่าช้ามาก เพราะเกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง อาทิ ไอคิว อีคิว อารมณ์ จิตสำนึก จริยธรรม คุณธรรม เป็นพื้นฐานที่ผสมผสานหลายอย่าง
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องของวัยรุ่น ต้องช่วยกันในเรื่องของการเลี้ยงดู การเรียนรู้ ซึ่งเชื่อมโยงกับเด็กปฐมวัยด้วย ซึ่งจะต้องมุ่งพัฒนาคุณภาพศูนย์เด็กเล็กที่มีอยู่ โดยหลายประเทศมีผลวิจัยพบว่าถ้าดูแลเด็กอายุ 3 - 5 ปี ได้ดี ก็จะสามารถทำให้เด็กเจริญเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ การวิจัยนี้พบว่าเด็กที่ไปอยู่ในศูนย์เด็กเล็กที่มีคุณภาพ ก็จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีได้
“การดูแลเด็กจะมี 3 ช่วงวัย ช่วงวัยแรกอายุ 1 - 3 ปี เน้นเรื่องการกระตุ้นเสริมสร้างพัฒนาการ โดยอาศัยโครงสร้างด้านระบบบริการสาธารณสุขและชุมชนท้องถิ่นมาช่วยกัน รวมทั้งครอบครัวด้วย ช่วงวัยที่ 2 อายุ 3 - 5 ปี เน้นการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งท้องถิ่นจะเป็นหลัก พ่อแม่ครอบครัวก็จะมาร่วมด้วย และช่วงวัยที่ 3 คือช่วงวัยรุ่น เป็นความร่วมมือช่วยกันหลายฝ่ายทั้งด้านสังคม มหาดไทย เนื่องจากวัยนี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ปัญหาต่างๆ จะเข้ามามาก ทั้งความรุนแรง ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ อุบัติเหตุจราจรด้วย” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า สธ. จะเชื่อมโยงการทำงานของทีมหมอครอบครัว ทำให้เกิดการทำงานเชิงรุก ถ้าพบปัญหาก็จะสามารถส่งตัวไปดูแลต่อ ได้อย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลเครือข่ายของหมอครอบครัว ทำให้ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในโรงพยาบาลศูนย์และในโรงพยาบาลทั่วไป เช่น แพทย์ นักจิตวิทยา มารับรู้ปัญหาที่พบในชุมชน สามารถพูดคุยดูแลวางแผนร่วมกัน การดูแลเชิงรุกมีมากขึ้น ขณะนี้เริ่มจากการดูแลผู้สูงอายุก่อน โดยในปี 2558 จะเริ่มลงไปที่เด็กด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (12 ม.ค.) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 12 ว่า ทั่วโลกพบปัญหาเด็กทารกตายหลังคลอด แต่ภาพรวมพบเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลก เสียชีวิตลดลงจาก 13 ล้านคน ในปี 2533 เหลือจำนวน 6.3 ล้านคน ในปี 2556 ส่วนไทยผ่านเรื่องนี้มากว่า 40 ปี สามารถแก้ปัญหาได้มาก เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ปัญหาที่ไทยพบคือ พัฒนาการเด็ก โดยสำรวจพบว่า มีพัฒนาการไม่สมวัยประมาณ ร้อยละ 30 แม้ภาพรวมการแก้ปัญหาจะดีขึ้น แต่ถือว่าช้ามาก เพราะเกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง อาทิ ไอคิว อีคิว อารมณ์ จิตสำนึก จริยธรรม คุณธรรม เป็นพื้นฐานที่ผสมผสานหลายอย่าง
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องของวัยรุ่น ต้องช่วยกันในเรื่องของการเลี้ยงดู การเรียนรู้ ซึ่งเชื่อมโยงกับเด็กปฐมวัยด้วย ซึ่งจะต้องมุ่งพัฒนาคุณภาพศูนย์เด็กเล็กที่มีอยู่ โดยหลายประเทศมีผลวิจัยพบว่าถ้าดูแลเด็กอายุ 3 - 5 ปี ได้ดี ก็จะสามารถทำให้เด็กเจริญเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ การวิจัยนี้พบว่าเด็กที่ไปอยู่ในศูนย์เด็กเล็กที่มีคุณภาพ ก็จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีได้
“การดูแลเด็กจะมี 3 ช่วงวัย ช่วงวัยแรกอายุ 1 - 3 ปี เน้นเรื่องการกระตุ้นเสริมสร้างพัฒนาการ โดยอาศัยโครงสร้างด้านระบบบริการสาธารณสุขและชุมชนท้องถิ่นมาช่วยกัน รวมทั้งครอบครัวด้วย ช่วงวัยที่ 2 อายุ 3 - 5 ปี เน้นการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งท้องถิ่นจะเป็นหลัก พ่อแม่ครอบครัวก็จะมาร่วมด้วย และช่วงวัยที่ 3 คือช่วงวัยรุ่น เป็นความร่วมมือช่วยกันหลายฝ่ายทั้งด้านสังคม มหาดไทย เนื่องจากวัยนี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ปัญหาต่างๆ จะเข้ามามาก ทั้งความรุนแรง ยาเสพติด เพศสัมพันธ์ อุบัติเหตุจราจรด้วย” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า สธ. จะเชื่อมโยงการทำงานของทีมหมอครอบครัว ทำให้เกิดการทำงานเชิงรุก ถ้าพบปัญหาก็จะสามารถส่งตัวไปดูแลต่อ ได้อย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลเครือข่ายของหมอครอบครัว ทำให้ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในโรงพยาบาลศูนย์และในโรงพยาบาลทั่วไป เช่น แพทย์ นักจิตวิทยา มารับรู้ปัญหาที่พบในชุมชน สามารถพูดคุยดูแลวางแผนร่วมกัน การดูแลเชิงรุกมีมากขึ้น ขณะนี้เริ่มจากการดูแลผู้สูงอายุก่อน โดยในปี 2558 จะเริ่มลงไปที่เด็กด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่