ช่วงเวลาละครหลังข่าว 4 ทุ่ม เป็นต้นไป โฆษณาประเภทหนึ่งที่มักเห็นบนหน้าจอทีวี เห็นจะไม่พ้นการโฆษณาแบรนด์ หรือยี่ห้อของสินค้าประเภท “น้ำเมา” หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลากยี่ห้อ แม้จะไม่เห็นขวดเหล้าอย่างชัดเจนด้วยข้อกฎหมายกำหนด แต่เกือบทุกคนที่ได้รับชมก็รับทราบอยู่ดีว่าโฆษณานั้นหมายถึงอะไร
นับตั้งแต่มี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ก็มีควบคุมการห้ามโฆษณาของสินค้าประเภทน้ำเมานี้บางส่วน โดยห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจผู้อื่น โดยการโฆษณาจะทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่ปรากฏภาพสินค้า อย่างไรก็ตาม ไม่รวมถึงโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร เช่น การถ่ายทอดสดกีฬาที่นักกีฬาใส่เสื้อมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ใดฝ่าฝืนในกรณีนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดย นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในการอภิปรายหัวข้อ “ความสำคัญของการมีมาตรการควบคุมการโฆษณาเพื่อปกป้องเยาวชน” ในงานประชุมวิชาการสุราแห่งชาติ ครั้งที่ 8 จัดโดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และ สสส. ว่า นับตั้งแต่มี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 พบว่า การโฆษณาผิดกฎหมาย เช่น เห็นขวดเหล้า ขวดเบียร์ ในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ลดลง แต่หันมาทำการตลาด โดยการโฆษณาทางแบรนด์หรือยี่ห้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่จากการวิจัยพบว่า ส่งผลต่อการรับรู้โฆษณาและเพิ่มอยากลองดื่ม เนื่องจากปัจจุบันบริษัทน้ำเมามีการทำการตลาดมากขึ้นมุ่งเน้นไปที่เยาวชนมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบเสี่ยง
จึงไม่แปลกที่กลุ่มธุรกิจน้ำเมาต่างหันมาส่งเสริมแบรนด์ และลงไปจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักแบรนด์ของตัวเองมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเป็นสปอนเซอร์งานกีฬา ร่วมจัดกิจกรรมทางดนตรี หรือแม้แต่การจัดประกวดหนังที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน นักศึกษา และเยาวชนทั้งสิ้น
“จากการสำรวจคนอายุ 9 - 25 ปี พบว่า เห็นโฆษณาของธุรกิจแอลกอฮอล์ทางทีวีถึง 92.3% เฉลี่ยเห็นวันละ 3 ครั้ง ขณะที่ป้ายกลางแจ้งพบประมาณ 17.9% และอินเทอร์เน็ตประมาณ 11% ขณะที่การจดจำโฆษณาพบว่า เพิ่มความอยากดื่มในกลุ่มวัยรุ่นได้ 2-4 เท่า แบ่งเป็นโดยกลุ่มที่ไม่เคยดื่ม จำโฆษณาไม่ได้แต่อยากลองมีประมาณ 7% กลุ่มจำโฆษณาได้แล้วอยากลองดื่มประมาณ 30% ส่วนกลุ่มที่ดื่มปกติ จำโฆษณาไม่ได้แต่อยากลองดื่ม ประมาณ 22% และจำโฆษณาได้แล้วอยากลองดื่มอยู่ที่ 57% และที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการนำโลโก้ของบริษัทน้ำเมามาถามคนทั่วไป ปรากฏว่า 83% รับรู้ว่าโลโก้นี้ใช้เพื่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
ที่น่าห่วงไปกว่านั้นคือการทำโฆษณาและทำการตลาดภายในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่ง ดร.เดวิด เจอนิแกน ผอ.ศูนย์ศึกษาการตลาดแอลกอฮอล์และเยาวชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮอพกินส์ แสดงทรรศนะว่า โซเชียลมีเดียเป็นกลุ่มเป้าหมายของนักการตลาดที่จะขายสินค้าให้ได้มากที่สุด เพราะสามารถส่งเสริมให้คนพูดถึงยี่ห้อกันได้อย่างติดปาก ขนาดอุตสาหกรรมเบียร์รายใหญ่ที่สุดในโลกยังทุ่มเงินกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อทำการโฆษณาทำการตลาดในเฟซบุ๊ก
ดร.เดวิด กล่าวว่า ในสหรัฐฯ แม้กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจแอลกอฮอล์จะมีมาตรการในการควบคุมการโฆษณาด้วยกันเอง เช่น ไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เห็นการโฆษณาในนิตยสารสำหรับเยาวชน การโฆษณาทางวิทยุและทีวีก็อ้างว่าพ่อแม่ควรที่จะต้องอยู่กับเด็กและพูดคุยให้ความรู้กับลูกควบคู่ไปด้วย แต่ความเป็นจริงก็ยังพบการโฆษณาอยู่ดี และข้อเท็จจริงคือการดูทีวีพ่อแม่ก็ไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา นี่คือ การควบคุมกันเองของพวกเขา ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้ป้องกันเลย
ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังผลักดันห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด (Total Ban) สำหรับประเทศไทยโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญไม่ ซึ่ง นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า การควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างสิ้นเชิง สามารถช่วยลดอุบัติเหตุจากท้องถนนได้ถึง 23% และยิ่งควบคุมการโฆษณามากเท่าไรการดื่มและผลกระทบก็จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด
คงต้องวัดใจกันว่า รัฐบาลยุค คสช. จะคืนความสุขด้วยการปกป้องเยาวชนให้แก่เยาวชนไทยหรือคืนความสุขให้แก่กลุ่มธุรกิจแอลกอฮอล์กันแน่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นับตั้งแต่มี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ก็มีควบคุมการห้ามโฆษณาของสินค้าประเภทน้ำเมานี้บางส่วน โดยห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจผู้อื่น โดยการโฆษณาจะทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่ปรากฏภาพสินค้า อย่างไรก็ตาม ไม่รวมถึงโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร เช่น การถ่ายทอดสดกีฬาที่นักกีฬาใส่เสื้อมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ใดฝ่าฝืนในกรณีนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดย นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในการอภิปรายหัวข้อ “ความสำคัญของการมีมาตรการควบคุมการโฆษณาเพื่อปกป้องเยาวชน” ในงานประชุมวิชาการสุราแห่งชาติ ครั้งที่ 8 จัดโดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และ สสส. ว่า นับตั้งแต่มี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 พบว่า การโฆษณาผิดกฎหมาย เช่น เห็นขวดเหล้า ขวดเบียร์ ในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ลดลง แต่หันมาทำการตลาด โดยการโฆษณาทางแบรนด์หรือยี่ห้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแม้จะไม่ผิดกฎหมาย แต่จากการวิจัยพบว่า ส่งผลต่อการรับรู้โฆษณาและเพิ่มอยากลองดื่ม เนื่องจากปัจจุบันบริษัทน้ำเมามีการทำการตลาดมากขึ้นมุ่งเน้นไปที่เยาวชนมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบเสี่ยง
จึงไม่แปลกที่กลุ่มธุรกิจน้ำเมาต่างหันมาส่งเสริมแบรนด์ และลงไปจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักแบรนด์ของตัวเองมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเป็นสปอนเซอร์งานกีฬา ร่วมจัดกิจกรรมทางดนตรี หรือแม้แต่การจัดประกวดหนังที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน นักศึกษา และเยาวชนทั้งสิ้น
“จากการสำรวจคนอายุ 9 - 25 ปี พบว่า เห็นโฆษณาของธุรกิจแอลกอฮอล์ทางทีวีถึง 92.3% เฉลี่ยเห็นวันละ 3 ครั้ง ขณะที่ป้ายกลางแจ้งพบประมาณ 17.9% และอินเทอร์เน็ตประมาณ 11% ขณะที่การจดจำโฆษณาพบว่า เพิ่มความอยากดื่มในกลุ่มวัยรุ่นได้ 2-4 เท่า แบ่งเป็นโดยกลุ่มที่ไม่เคยดื่ม จำโฆษณาไม่ได้แต่อยากลองมีประมาณ 7% กลุ่มจำโฆษณาได้แล้วอยากลองดื่มประมาณ 30% ส่วนกลุ่มที่ดื่มปกติ จำโฆษณาไม่ได้แต่อยากลองดื่ม ประมาณ 22% และจำโฆษณาได้แล้วอยากลองดื่มอยู่ที่ 57% และที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการนำโลโก้ของบริษัทน้ำเมามาถามคนทั่วไป ปรากฏว่า 83% รับรู้ว่าโลโก้นี้ใช้เพื่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
ที่น่าห่วงไปกว่านั้นคือการทำโฆษณาและทำการตลาดภายในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่ง ดร.เดวิด เจอนิแกน ผอ.ศูนย์ศึกษาการตลาดแอลกอฮอล์และเยาวชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮอพกินส์ แสดงทรรศนะว่า โซเชียลมีเดียเป็นกลุ่มเป้าหมายของนักการตลาดที่จะขายสินค้าให้ได้มากที่สุด เพราะสามารถส่งเสริมให้คนพูดถึงยี่ห้อกันได้อย่างติดปาก ขนาดอุตสาหกรรมเบียร์รายใหญ่ที่สุดในโลกยังทุ่มเงินกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อทำการโฆษณาทำการตลาดในเฟซบุ๊ก
ดร.เดวิด กล่าวว่า ในสหรัฐฯ แม้กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจแอลกอฮอล์จะมีมาตรการในการควบคุมการโฆษณาด้วยกันเอง เช่น ไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เห็นการโฆษณาในนิตยสารสำหรับเยาวชน การโฆษณาทางวิทยุและทีวีก็อ้างว่าพ่อแม่ควรที่จะต้องอยู่กับเด็กและพูดคุยให้ความรู้กับลูกควบคู่ไปด้วย แต่ความเป็นจริงก็ยังพบการโฆษณาอยู่ดี และข้อเท็จจริงคือการดูทีวีพ่อแม่ก็ไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา นี่คือ การควบคุมกันเองของพวกเขา ซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้ป้องกันเลย
ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังผลักดันห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด (Total Ban) สำหรับประเทศไทยโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญไม่ ซึ่ง นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า การควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างสิ้นเชิง สามารถช่วยลดอุบัติเหตุจากท้องถนนได้ถึง 23% และยิ่งควบคุมการโฆษณามากเท่าไรการดื่มและผลกระทบก็จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด
คงต้องวัดใจกันว่า รัฐบาลยุค คสช. จะคืนความสุขด้วยการปกป้องเยาวชนให้แก่เยาวชนไทยหรือคืนความสุขให้แก่กลุ่มธุรกิจแอลกอฮอล์กันแน่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่