WHO จัดลำดับไทยขี้เมาอันดับ 78 ของโลก ซดเฉลี่ย 7.1 ลิตรต่อคน สธ. ห่วงธุรกิจน้ำเมาทำการตลาดโฆษณา สร้างค่านิยมผิดๆ ชักชวนอยากดื่มอยากลอง เตรียมสร้างค่านิยมใหม่ ชี้คุมโฆษณาทั้งมดช่วยลดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้
วันนี้ (1 ธ.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการฯ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในงานประชุมวิชาการสุราแห่งชาติครั้งที่ 8 “ทศวรรษแห่งการเรียนรู้และการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อลดปัญหาแอลกอฮอล์ในสังคมไทย” จัดโดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ขณะนี้กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความพยายามที่จะรุกหนักด้านการตลาด เพื่อกระตุ้นยอดขาย โดยทุ่มงบประมาณด้านการตลาดจัดกิจกรรม โฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างมหาศาล เพื่อสร้างลูกค้ากลุ่มใหม่และรักษากลุ่มลูกค้าเดิมไว้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่พบว่า การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกในตราสินค้า ทำให้รู้สึกอยากดื่มและเชื่อมั่นในยี่ห้อที่นำเสนอ ทั้งนี้ แม้จะมีการควบคุมการโฆษณาโดยตรงบนโทรทัศน์และวิทยุ แต่ยังพบเห็นในรูปแบบอื่นๆ เช่น ป้ายโฆษณา ป้ายแบนเนอร์ตามร้านอาหาร การจัดบูธ การจัดกิจกรรมคอนเสิร์ต การจัดกีฬา กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ในโรงภาพยนตร์ ซึ่งยอดการโฆษณาช่วงเทศกาลวันสำคัญจะสูงกว่าวันธรรมดามาก
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า จากการศึกษา พบว่า ประเทศที่มีการควบคุมการโฆษณาอย่างสิ้นเชิง สามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ถึงร้อยละ 23 และยิ่งควบคุมการโฆษณามากเท่าไร การดื่มและผลกระทบจะลงลดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมาตรการควบคุมต่างๆ นั้น นอกจากควบคุมการโฆษณาแล้ว ต้องสร้างค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อมีการโฆษณาเหล่านี้ทำให้สังคมอาจเข้าใจผิดว่า การดื่มสุราเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ ขณะนี้ สธ. กำลังสร้างค่านิยมใหม่โดยการติดฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาคณะกรรมการ สสส. กล่าวว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณปีละ 3.3 ล้านคน ก่อความสูญเสียทางสุขภาพร้อยละ 5.9 ของภาระโรคทั่วโลก ในประเทศไทยการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอันดับ 1 ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตในเพศชายถึงร้อยละ 8.6 ของการเสียชีวิตทั้งหมด การลดพฤติกรรมและควบคุมการดื่มสุรา เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไก ถือเป็นภารกิจหลักของ สสส. และมีเป้าหมายระยะยาวที่จะลดจำนวนผู้ที่ดื่มสุราให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ 27 ในปี 2563
นายพิชัย สนแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แต่ละปีประเทศไทยมีนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 แสนคน ส่วนใหญ่นักดื่มเหล่านี้ คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราปี 2554 พบว่าเกินครึ่งดื่มเบียร์มากที่สุด รองลงมา คือ สุราสี สุรากลั่น นอกจากนี้ จำนวนร้านขายยังเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2554 มีร้านที่มีใบอนุญาตจำหน่ายสุรากว่า 600,000 ร้านทั่วประเทศ โดยเหตุผลที่ร้านค้ามีจำนวนเพิ่มขึ้น คือ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจำหน่ายสุรามีราคาถูกมาก สามารถขอได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ยังมีร้านหรือจุดจำหน่ายสุราอีกจำนวนมากที่ไม่มีใบอนุญาต ซึ่งส่งผลให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หาซื้อได้ง่ายขึ้นด้วย โดยใช้เวลาในการซื้อเฉลี่ย 2 นาที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกปี 2557 ระบุว่า ประเทศไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับที่ 78 ของโลก เฉลี่ย 7.1 ลิตรต่อคน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้หญิง คิดเป็นค่าใช้จ่ายค่าสุราคนละ 509 บาทต่อวัน หรือประมาณ 6,108 บาทต่อปี โดยสาเหตุที่หันมาดื่มเพราะต้องการผ่อนคลายจากการทำงาน การเรียน เท่ห์ ต้องการได้รับการยอมรับจากเพื่อนฝูง ประกอบกับหาซื้อง่าย ใกล้บ้าน ใกล้สถานศึกษา เดินทางไม่ถึง 5 นาทีก็หาซื้อได้แล้ว แต่ที่น่ากังวลคือ บางคนรู้สึกว่าดื่มเพราะมาจากการส่งเสริมการขาย (CSR) หรือเห็นโฆษณาผ่านสังคมออนไลน์ อย่างไรก็ตาม จากปัญหาเหล่านี้หากไม่ดำเนินการควบคุมมากขึ้น อีก 5 ปี ประเทศไทยมีแนวโน้มการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันดับที่ 56
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 ธ.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการฯ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในงานประชุมวิชาการสุราแห่งชาติครั้งที่ 8 “ทศวรรษแห่งการเรียนรู้และการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อลดปัญหาแอลกอฮอล์ในสังคมไทย” จัดโดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า ขณะนี้กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความพยายามที่จะรุกหนักด้านการตลาด เพื่อกระตุ้นยอดขาย โดยทุ่มงบประมาณด้านการตลาดจัดกิจกรรม โฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างมหาศาล เพื่อสร้างลูกค้ากลุ่มใหม่และรักษากลุ่มลูกค้าเดิมไว้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่พบว่า การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกในตราสินค้า ทำให้รู้สึกอยากดื่มและเชื่อมั่นในยี่ห้อที่นำเสนอ ทั้งนี้ แม้จะมีการควบคุมการโฆษณาโดยตรงบนโทรทัศน์และวิทยุ แต่ยังพบเห็นในรูปแบบอื่นๆ เช่น ป้ายโฆษณา ป้ายแบนเนอร์ตามร้านอาหาร การจัดบูธ การจัดกิจกรรมคอนเสิร์ต การจัดกีฬา กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ในโรงภาพยนตร์ ซึ่งยอดการโฆษณาช่วงเทศกาลวันสำคัญจะสูงกว่าวันธรรมดามาก
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า จากการศึกษา พบว่า ประเทศที่มีการควบคุมการโฆษณาอย่างสิ้นเชิง สามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ถึงร้อยละ 23 และยิ่งควบคุมการโฆษณามากเท่าไร การดื่มและผลกระทบจะลงลดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมาตรการควบคุมต่างๆ นั้น นอกจากควบคุมการโฆษณาแล้ว ต้องสร้างค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อมีการโฆษณาเหล่านี้ทำให้สังคมอาจเข้าใจผิดว่า การดื่มสุราเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ ขณะนี้ สธ. กำลังสร้างค่านิยมใหม่โดยการติดฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาคณะกรรมการ สสส. กล่าวว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณปีละ 3.3 ล้านคน ก่อความสูญเสียทางสุขภาพร้อยละ 5.9 ของภาระโรคทั่วโลก ในประเทศไทยการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอันดับ 1 ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตในเพศชายถึงร้อยละ 8.6 ของการเสียชีวิตทั้งหมด การลดพฤติกรรมและควบคุมการดื่มสุรา เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไก ถือเป็นภารกิจหลักของ สสส. และมีเป้าหมายระยะยาวที่จะลดจำนวนผู้ที่ดื่มสุราให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ 27 ในปี 2563
นายพิชัย สนแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แต่ละปีประเทศไทยมีนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 แสนคน ส่วนใหญ่นักดื่มเหล่านี้ คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราปี 2554 พบว่าเกินครึ่งดื่มเบียร์มากที่สุด รองลงมา คือ สุราสี สุรากลั่น นอกจากนี้ จำนวนร้านขายยังเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2554 มีร้านที่มีใบอนุญาตจำหน่ายสุรากว่า 600,000 ร้านทั่วประเทศ โดยเหตุผลที่ร้านค้ามีจำนวนเพิ่มขึ้น คือ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจำหน่ายสุรามีราคาถูกมาก สามารถขอได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ยังมีร้านหรือจุดจำหน่ายสุราอีกจำนวนมากที่ไม่มีใบอนุญาต ซึ่งส่งผลให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หาซื้อได้ง่ายขึ้นด้วย โดยใช้เวลาในการซื้อเฉลี่ย 2 นาที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกปี 2557 ระบุว่า ประเทศไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับที่ 78 ของโลก เฉลี่ย 7.1 ลิตรต่อคน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้หญิง คิดเป็นค่าใช้จ่ายค่าสุราคนละ 509 บาทต่อวัน หรือประมาณ 6,108 บาทต่อปี โดยสาเหตุที่หันมาดื่มเพราะต้องการผ่อนคลายจากการทำงาน การเรียน เท่ห์ ต้องการได้รับการยอมรับจากเพื่อนฝูง ประกอบกับหาซื้อง่าย ใกล้บ้าน ใกล้สถานศึกษา เดินทางไม่ถึง 5 นาทีก็หาซื้อได้แล้ว แต่ที่น่ากังวลคือ บางคนรู้สึกว่าดื่มเพราะมาจากการส่งเสริมการขาย (CSR) หรือเห็นโฆษณาผ่านสังคมออนไลน์ อย่างไรก็ตาม จากปัญหาเหล่านี้หากไม่ดำเนินการควบคุมมากขึ้น อีก 5 ปี ประเทศไทยมีแนวโน้มการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันดับที่ 56
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่