ไทยออกใบอนุญาตขายเหล้าเกลื่อน 1 ใบต่อประชากร 107 คน ส่งผลดื่มดื่มเยอะขึ้น วิจัยพบใกล้สถานศึกษาร้านเหล้าเพียบ เพิ่มจำนวนต่อเนื่อง แนะเปลี่ยนวิธีออกใบอนุญาตใหม่ ศวส. เตรียมประชุมถกประเด็นมาตรการคุมเหล้า เบียร์
วันนี้ (23 พ.ย.) ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประชุมวิชาการหัวข้อ “ระบบใบอนุญาตขายสุรา : นโยบายสำคัญของการปกป้องเยาวชนจากโลกมึนเมา” โดย น.ส.กนิษฐา ไทยกล้า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการศึกษาเรื่องความหนาแน่นของจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จ.เชียงใหม่ พบว่า มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จ.เชียงใหม่ มีสถานศึกษา 84 แห่ง ในปี 2552 มีจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1,056 แห่ง ในจำนวนนี้ มีจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในรัศมี 500 เมตรจากสถานศึกษา มากถึง ร้อยละ 83.0 และลดลงเป็น ร้อยละ 81.6 ในปี 2554 และล่าสุด ปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83.6 หรือ 1,244 แห่ง ในจำนวนนี้ ร้อยละ 58.5 เป็นจุดจำหน่ายแบบมีที่นั่งดื่ม โดยสถานบันเทิงประเภท ผับ บาร์ คาราโอเกะ มีสัดส่วนมากที่สุด รองมาคือร้านอาหาร ร้านหมูกระทะ และอีกร้อยละ 41.3 เป็นจุดจำหน่ายที่มีลักษณะซื้อกลับไปดื่ม เช่น ร้านขายของชำ ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ
นายนพพล วิทย์วรพงศ์ รองผู้อำนวยการ ศวส. กล่าวว่า จากสถิติการออกใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปี 2554 มีการออกใบอนุญาต 602,211 ใบ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรจะเท่ากับมีการจำหน่ายแอลกอฮอล์ให้ประชากรในสัดส่วน 1 ใบต่อ 107 คน การที่ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระทบต่อมาตรการการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มมากขึ้นถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะมีข้อมูลเชิงประจักษ์ให้เห็นว่า ความหนาแน่นของจุดขายที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับยอดขาย ความหนาแน่นของบาร์และร้านค้าประเภทนั่งดื่มมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเกิดความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการดื่ม เช่น เมาแล้วขับ อุบัติเหตุจราจร การทะเลาะวิวาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อยู่ใกล้สถานศึกษา ส่งผลกระทบโดยตรงกับกลุ่มเยาวชน ดังนั้นเพื่อปกป้องเยาวชน การควบคุมความหนาแน่นของจุดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านกลไกใบอนุญาต จึงเป็นเรื่องที่รัฐควรให้ความสำคัญ
นายรัฐปกรณ์ นิภานันท์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า จากการศึกษาบทเรียนในต่างประเทศ นำมาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายการออกใบอนุญาตจำหน่ายสุราที่สำคัญ คือ 1. เพิ่มประเภทใบอนุญาต แบ่งเป็นร้านค้าปลีกแบบมีสถานที่ดื่ม และไม่มีสถานที่ดื่ม 2. ผู้ขอใบอนุญาตต้องเข้าอบรมและผ่านการทดสอบ เพื่อให้ทราบข้อกฎหมายและร่วมมือกับมาตรการควบคุม เช่น ไม่ขายเครื่องดื่มให้คนเมา ร้านที่มีสถานที่ดื่มต้องมีวิธีช่วยเหลือลูกค้าที่เมา และการป้องกันเหตุทะเลาะวิวาท การป้องกันการก่ออาชญากรรม 3. ออกใบอนุญาตชั่วคราวสำหรับการจัดกิจกรรมเฉพาะกลุ่มและกิจกรรมสาธารณะแต่ต้องขายภายใต้กฎหมาย เช่น ต้องไม่ใช่กิจกรรมเกี่ยวข้องกับศาสนา ไม่มีบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ร่วมอยู่ในงาน ขายภายในเวลา 11.00 - 14.00 น. และ 17.00 - 24.00 น. และ 4. เพิ่มเงื่อนไขการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตขายสุราที่มีสถานที่สำหรับดื่ม
ทั้งนี้ ศวส. เตรียมจัดงานประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งที่ 8 วันที่ 1 - 2 ธันวาคมนี้ ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เพื่อระดมความเห็น และเผยแพร่งานวิจัยต่างๆ เพื่อนำไปสู่มาตรการการป้องกันผลกระทบร่วมกัน เช่น จริงหรือที่ว่าโลกมึนเมาเข้าใกล้เยาวชนมากยิ่งขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีการห้ามมีจุดจำหน่ายใกล้สถานศึกษาในระยะที่กำหนด? และระยะเท่าไหร่ที่เรียกว่าเหมาะสม การบรรเทาผลกระทบของการดื่มสุราที่สังคมต้องแบกรับ และการปกป้องเยาวชนด้วยกลไกใบอนุญาตของรัฐ ทำได้อย่างไร
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 พ.ย.) ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดประชุมวิชาการหัวข้อ “ระบบใบอนุญาตขายสุรา : นโยบายสำคัญของการปกป้องเยาวชนจากโลกมึนเมา” โดย น.ส.กนิษฐา ไทยกล้า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการศึกษาเรื่องความหนาแน่นของจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จ.เชียงใหม่ พบว่า มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จ.เชียงใหม่ มีสถานศึกษา 84 แห่ง ในปี 2552 มีจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1,056 แห่ง ในจำนวนนี้ มีจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในรัศมี 500 เมตรจากสถานศึกษา มากถึง ร้อยละ 83.0 และลดลงเป็น ร้อยละ 81.6 ในปี 2554 และล่าสุด ปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83.6 หรือ 1,244 แห่ง ในจำนวนนี้ ร้อยละ 58.5 เป็นจุดจำหน่ายแบบมีที่นั่งดื่ม โดยสถานบันเทิงประเภท ผับ บาร์ คาราโอเกะ มีสัดส่วนมากที่สุด รองมาคือร้านอาหาร ร้านหมูกระทะ และอีกร้อยละ 41.3 เป็นจุดจำหน่ายที่มีลักษณะซื้อกลับไปดื่ม เช่น ร้านขายของชำ ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ
นายนพพล วิทย์วรพงศ์ รองผู้อำนวยการ ศวส. กล่าวว่า จากสถิติการออกใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปี 2554 มีการออกใบอนุญาต 602,211 ใบ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรจะเท่ากับมีการจำหน่ายแอลกอฮอล์ให้ประชากรในสัดส่วน 1 ใบต่อ 107 คน การที่ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระทบต่อมาตรการการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มมากขึ้นถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะมีข้อมูลเชิงประจักษ์ให้เห็นว่า ความหนาแน่นของจุดขายที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับยอดขาย ความหนาแน่นของบาร์และร้านค้าประเภทนั่งดื่มมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเกิดความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการดื่ม เช่น เมาแล้วขับ อุบัติเหตุจราจร การทะเลาะวิวาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อยู่ใกล้สถานศึกษา ส่งผลกระทบโดยตรงกับกลุ่มเยาวชน ดังนั้นเพื่อปกป้องเยาวชน การควบคุมความหนาแน่นของจุดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านกลไกใบอนุญาต จึงเป็นเรื่องที่รัฐควรให้ความสำคัญ
นายรัฐปกรณ์ นิภานันท์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า จากการศึกษาบทเรียนในต่างประเทศ นำมาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายการออกใบอนุญาตจำหน่ายสุราที่สำคัญ คือ 1. เพิ่มประเภทใบอนุญาต แบ่งเป็นร้านค้าปลีกแบบมีสถานที่ดื่ม และไม่มีสถานที่ดื่ม 2. ผู้ขอใบอนุญาตต้องเข้าอบรมและผ่านการทดสอบ เพื่อให้ทราบข้อกฎหมายและร่วมมือกับมาตรการควบคุม เช่น ไม่ขายเครื่องดื่มให้คนเมา ร้านที่มีสถานที่ดื่มต้องมีวิธีช่วยเหลือลูกค้าที่เมา และการป้องกันเหตุทะเลาะวิวาท การป้องกันการก่ออาชญากรรม 3. ออกใบอนุญาตชั่วคราวสำหรับการจัดกิจกรรมเฉพาะกลุ่มและกิจกรรมสาธารณะแต่ต้องขายภายใต้กฎหมาย เช่น ต้องไม่ใช่กิจกรรมเกี่ยวข้องกับศาสนา ไม่มีบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ร่วมอยู่ในงาน ขายภายในเวลา 11.00 - 14.00 น. และ 17.00 - 24.00 น. และ 4. เพิ่มเงื่อนไขการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตขายสุราที่มีสถานที่สำหรับดื่ม
ทั้งนี้ ศวส. เตรียมจัดงานประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งที่ 8 วันที่ 1 - 2 ธันวาคมนี้ ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เพื่อระดมความเห็น และเผยแพร่งานวิจัยต่างๆ เพื่อนำไปสู่มาตรการการป้องกันผลกระทบร่วมกัน เช่น จริงหรือที่ว่าโลกมึนเมาเข้าใกล้เยาวชนมากยิ่งขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีการห้ามมีจุดจำหน่ายใกล้สถานศึกษาในระยะที่กำหนด? และระยะเท่าไหร่ที่เรียกว่าเหมาะสม การบรรเทาผลกระทบของการดื่มสุราที่สังคมต้องแบกรับ และการปกป้องเยาวชนด้วยกลไกใบอนุญาตของรัฐ ทำได้อย่างไร
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่