ศธ. เร่งแก้กฎหมายโอน สกศ. กลับไปอยู่ใต้ร่ม สำนักนายกฯ พร้อมตั้งคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาฯ มีทั้งผู้ทรงจากภาครัฐและเอกชน เข้ามาดูภาพรวม และวางแนวทางใช้กลไกงบฯ คุมการบริหารงาน ศธ.
วันนี้ (12 ก.พ.) ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยความคืบและบทบาทของ สกศ. ในยุคปฏิรูปการศึกษา ว่า ที่ผ่านมา คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ศธ. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 6 ชุด เพื่อวางกรอบการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เท่ากับว่า กรอบแนวทางที่ สกศ. กำลังดำเนินการอยู่นั้น มีการสื่อสารระหว่าง ศธ. สปช. และ สนช. โดยตลอด และขณะนี้ค่อนข้างจะเห็นภาพชัดเจนแล้วในบางเรื่อง อาทิ คณะอนุกรรมการปฏิรูปการระบบผลิตและพัฒนาครู ซึ่งตนเป็นประธาน ได้วางแนวทางทั้งระบบผลิต และพัฒนาครู มีแนวคิดว่าสถาบันการผลิตจะต้องมีความรับผิดชอบต่อบัณฑิตที่จบออกมาด้วย โดยจะมีการสร้างเครือข่ายสถาบันผลิตครูในพื้นที่ เพื่อเวลาท้องถิ่นมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษาหรือคุณภาพครู ก็สามารถให้เครือข่ายดังกล่าวเข้าไปแก้ปัญหาได้ทันที
ขณะเดียวกัน สถาบันฝ่ายผลิตจะต้องลดจำนวนรับนักศึกษาลง โดยจะให้รับตามกรอบที่ศธ.กำหนด เพื่อแก้ปัญหาผลิตบัณฑิตเกินความต้องการ โดยศธ.ต้องกำหนดกรอบอัตรากำลังที่ชัดเจน รับประกันว่าเมื่อจบแล้วมีงานทำแน่นอน โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้หลังจากนี้อีก 5 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กที่เรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ปัจจุบันที่มีประมาณ 2.4 แสนคน มีโอกาสอบเป็นครูได้ตามระบบก่อน ทั้งนี้คาดว่า คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 6 ชุด จะสามารถสรุปเป็นแนวทางการปฏิรูปการศึกษา เสนอให้คณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาได้ภายในเดือนมีนาคมนี้
เลขาธิการ สกศ. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วน สกศ. มีความชัดเจนแล้วต่อไปจะต้องมีการปรับบทบาทหน้าที่การทำงาน ซึ่งไม่ได้ทำเฉพาะเรื่องการศึกษาเท่านั้น แต่ต้องวางระบบการพัฒนาการศึกษา ให้สอดคล้องกับการผลิตและการพัฒนากำลังคน เพื่อพัฒนาประเทศ โดยใช้กลไกเรื่องงบประมาณมากำกับดูแลนโยบายด้านการศึกษา ให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบของคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากภาครัฐ และเอกชนประมาณ 20 คน ทั้งสภาหอการค้า เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ร่วมถึงผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้ถือเป็นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน จึงมีส่วนสำคัญที่จะต้องมามีบทบาทกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษาภาพรวมร่วมกัน
“การศึกษาถือเป็นการลงทุนระยะยาว และเป็นเรื่องที่ต้องทำต่อเนื่องจึงจะเห็นผล ซึ่งคิดว่า ต่อไปเมื่อคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาฯ ชุดนี้จะมีหน้าที่ในการกำหนดทิศทางการศึกษาชาติแล้ว ก็ควรมีบทบาทในการกำหนดกรอบงบประมาณในภาพรวมด้านการศึกษาของประเทศด้วย เช่นเดียวกับ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่คงไม่ถึงขนาดเป็นซุปเปอร์บอร์ดเหมือทางด้านเศรษฐกิจ เพราะเรายังถือว่าดูแลเฉพาะด้านการศึกษาเป็นหลัก”รศ.ดร.พินิติ กล่าว
รศ.ดร.พินิติ กล่าวต่ออีกว่า ทั้งนี้ ในส่วนของ สกศ. หากแยกตัวออกจาก ศธ. ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการปรับโครงสร้าง เพราะไม่ได้ตั้งเป็นกระทรวงใหม่ แต่เป็นการโอนกลับไปสู่โครงสร้างเดิมที่อยู่กับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี และมีบทบาทการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานเชิงวิจัยทางการศึกษา โดยจะต้องเร่งจัดทำข้อสรุปบทบาทหน้าที่ใหม่ของ สกส. โดยเฉพาะกฎหมายต่างๆ ที่จะต้องแก้ไข เสนอคณะกรรมการอำนวยการให้แล้ว เร็วที่สุดภายในเดือนมีนาคม เพื่อเข้าสู่กระบวนทางทางนิติบัญญัติ ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกประมาณ 4 - 5 เดือน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (12 ก.พ.) ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยความคืบและบทบาทของ สกศ. ในยุคปฏิรูปการศึกษา ว่า ที่ผ่านมา คณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ศธ. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 6 ชุด เพื่อวางกรอบการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เท่ากับว่า กรอบแนวทางที่ สกศ. กำลังดำเนินการอยู่นั้น มีการสื่อสารระหว่าง ศธ. สปช. และ สนช. โดยตลอด และขณะนี้ค่อนข้างจะเห็นภาพชัดเจนแล้วในบางเรื่อง อาทิ คณะอนุกรรมการปฏิรูปการระบบผลิตและพัฒนาครู ซึ่งตนเป็นประธาน ได้วางแนวทางทั้งระบบผลิต และพัฒนาครู มีแนวคิดว่าสถาบันการผลิตจะต้องมีความรับผิดชอบต่อบัณฑิตที่จบออกมาด้วย โดยจะมีการสร้างเครือข่ายสถาบันผลิตครูในพื้นที่ เพื่อเวลาท้องถิ่นมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษาหรือคุณภาพครู ก็สามารถให้เครือข่ายดังกล่าวเข้าไปแก้ปัญหาได้ทันที
ขณะเดียวกัน สถาบันฝ่ายผลิตจะต้องลดจำนวนรับนักศึกษาลง โดยจะให้รับตามกรอบที่ศธ.กำหนด เพื่อแก้ปัญหาผลิตบัณฑิตเกินความต้องการ โดยศธ.ต้องกำหนดกรอบอัตรากำลังที่ชัดเจน รับประกันว่าเมื่อจบแล้วมีงานทำแน่นอน โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้หลังจากนี้อีก 5 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กที่เรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ปัจจุบันที่มีประมาณ 2.4 แสนคน มีโอกาสอบเป็นครูได้ตามระบบก่อน ทั้งนี้คาดว่า คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 6 ชุด จะสามารถสรุปเป็นแนวทางการปฏิรูปการศึกษา เสนอให้คณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาได้ภายในเดือนมีนาคมนี้
เลขาธิการ สกศ. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วน สกศ. มีความชัดเจนแล้วต่อไปจะต้องมีการปรับบทบาทหน้าที่การทำงาน ซึ่งไม่ได้ทำเฉพาะเรื่องการศึกษาเท่านั้น แต่ต้องวางระบบการพัฒนาการศึกษา ให้สอดคล้องกับการผลิตและการพัฒนากำลังคน เพื่อพัฒนาประเทศ โดยใช้กลไกเรื่องงบประมาณมากำกับดูแลนโยบายด้านการศึกษา ให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบของคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากภาครัฐ และเอกชนประมาณ 20 คน ทั้งสภาหอการค้า เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ร่วมถึงผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้ถือเป็นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนากำลังคน จึงมีส่วนสำคัญที่จะต้องมามีบทบาทกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษาภาพรวมร่วมกัน
“การศึกษาถือเป็นการลงทุนระยะยาว และเป็นเรื่องที่ต้องทำต่อเนื่องจึงจะเห็นผล ซึ่งคิดว่า ต่อไปเมื่อคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาฯ ชุดนี้จะมีหน้าที่ในการกำหนดทิศทางการศึกษาชาติแล้ว ก็ควรมีบทบาทในการกำหนดกรอบงบประมาณในภาพรวมด้านการศึกษาของประเทศด้วย เช่นเดียวกับ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่คงไม่ถึงขนาดเป็นซุปเปอร์บอร์ดเหมือทางด้านเศรษฐกิจ เพราะเรายังถือว่าดูแลเฉพาะด้านการศึกษาเป็นหลัก”รศ.ดร.พินิติ กล่าว
รศ.ดร.พินิติ กล่าวต่ออีกว่า ทั้งนี้ ในส่วนของ สกศ. หากแยกตัวออกจาก ศธ. ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการปรับโครงสร้าง เพราะไม่ได้ตั้งเป็นกระทรวงใหม่ แต่เป็นการโอนกลับไปสู่โครงสร้างเดิมที่อยู่กับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี และมีบทบาทการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานเชิงวิจัยทางการศึกษา โดยจะต้องเร่งจัดทำข้อสรุปบทบาทหน้าที่ใหม่ของ สกส. โดยเฉพาะกฎหมายต่างๆ ที่จะต้องแก้ไข เสนอคณะกรรมการอำนวยการให้แล้ว เร็วที่สุดภายในเดือนมีนาคม เพื่อเข้าสู่กระบวนทางทางนิติบัญญัติ ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกประมาณ 4 - 5 เดือน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่