มติ ส.ค.ศ.ท. เห็นด้วยผลิตครูด้วยระบบปิด ตั้งเป้ารับ นศ. ในปี 59 จำนวน 3 หมื่นคน เพื่อทดแทนอัตราเกษียณ ระบุให้แต่ละหน่วยงานส่งจำนวน สาขาที่ขาดแคลนมาให้เพื่อกำหนดแผนการรับที่สอดคล้องกัน รวมทั้งจะทำระบบเปิดสำรองเพื่อผลิตครูเอกชนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดครูซ้ำรอย
วันนี้ (15 ธ.ค.) ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในฐานะประที่ประชุมสภาคณบดีครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุม ส.ค.ศ.ท. ได้หารือถึงเรื่องแผนการผลิตครูของมหาวิทยาลัยรัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ และมีมติเห็นด้วยที่ในอนาคตจะให้มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในคณะครุฯ/ศึกษาฯ จะใช้ระบบปิดเพื่อรับนิสิต/นักศึกษา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลสาขาความต้องการครู จำนวนเท่าไรโดยขอให้กำหนดล่วงหน้าอย่างน้อย 5 ปีข้างหน้า เพื่อให้มหาวิทยาลัยวางแผนการรับนิสิต/นักศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการแท้จริง เบื้องต้นกำหนดรับไม่เกินห้องละ 30 คนตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนดและต้องกำหนดอัตรารองรับการบรรจุด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นการรับระบบปิดจะทำให้มหาวิทยาลัยต้องจำกัดจำนวนรับ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาขาดครูซ้ำอีก เพราะบัณฑิตครูไม่พอโดยเฉพาะกรณีหน่วยงานที่ต้องการครูเอกชน เพราะฉะนั้นควรต้องมีระบบเปิดสำรองไว้ด้วย
ผศ.ดร.สุรวาท กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในอนาคตเมื่อมีการรับระบบปิด ที่ประชุมมีความเห็นว่าสถาบันผลิตครูอาจจะต้องใช้ระบบการรับตรงร่วมกัน ลักษณะเดียวกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) เพื่อเป็นการลดภาระของผู้เรียนในการเดินทางสอบ ซึ่งในข้อเสนอนี้ยังไม่เป็นที่ยุติและต้องหาเจ้าภาพเป็นผู้ดำเนินการ ขณะเดียวกัน ส.ค.ศ.ท. ได้หารือกันด้วยว่าการใช้ระบบปิดผลิตครูนั้นจะส่งผลให้ภาระงานของคณะครุฯ/ศึกษาฯ ลดลงจึงยินดีที่เห็นว่าควรจะมาดูแลในเรื่องการพัฒนาครู ในลักษณะการใช้ห้องเรียนเป็นฐานและให้มหาวิทยาลัยที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบอบรมซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดปัญหาครูทิ้งห้องเรียนได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตครู อยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลและจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กับคณะครุฯ/ศึกษาฯ ด้วย เพราะปัจจุบันงบที่ได้น้อยกว่าคณะสังคมศาสตร์ทั้งที่การผลิตครูจำเป็นต้องมีการลงทุนด้านอุปกรณ์และสื่อการสอนที่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้วย
“เท่าที่หารือพบว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะรับนิสิต/นักศึกษา ได้ในปีการศึกษา 2559 ประมาณ 30,000 คน ซึ่งเด็กจะจบการศึกษาในปี 2563 ทั้งนี้ ที่ผ่านมานั้น มีนักเรียนนิยมสมัครเรียนคณะครุฯ/ศึกษาฯ มากโดยเฉพาะปีการศึกษา 2553 - 2555 มีจำนวนสูงถึง 50,000 คน ทำให้มีบัณฑิตจบครูออกมาจำนวนมาก เพราะฉะนั้น ส.ค.ศ.ท. จึงเห็นว่าการผลิตในระบบปิดเป็นรูปแบบที่เหมาะสม เพราะบัณฑิตที่จบสามารถเข้าทดแทนอัตราเกษียณอายุราชการได้ทันทีตามอัตราที่แต่ละหน่วยงานเตรียมไว้รองรับ การเกษียณอายุราชการซึ่งมีข้อมูลว่าอีก 10 ปีข้างหน้าข้าราชการครูเกษียณอายุราชการประมาณ 200,000 คน เฉลี่ยปีละ 20,000 คน”ผศ.ดร.สุรวาท กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (15 ธ.ค.) ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในฐานะประที่ประชุมสภาคณบดีครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุม ส.ค.ศ.ท. ได้หารือถึงเรื่องแผนการผลิตครูของมหาวิทยาลัยรัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ และมีมติเห็นด้วยที่ในอนาคตจะให้มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในคณะครุฯ/ศึกษาฯ จะใช้ระบบปิดเพื่อรับนิสิต/นักศึกษา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลสาขาความต้องการครู จำนวนเท่าไรโดยขอให้กำหนดล่วงหน้าอย่างน้อย 5 ปีข้างหน้า เพื่อให้มหาวิทยาลัยวางแผนการรับนิสิต/นักศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการแท้จริง เบื้องต้นกำหนดรับไม่เกินห้องละ 30 คนตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนดและต้องกำหนดอัตรารองรับการบรรจุด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นการรับระบบปิดจะทำให้มหาวิทยาลัยต้องจำกัดจำนวนรับ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาขาดครูซ้ำอีก เพราะบัณฑิตครูไม่พอโดยเฉพาะกรณีหน่วยงานที่ต้องการครูเอกชน เพราะฉะนั้นควรต้องมีระบบเปิดสำรองไว้ด้วย
ผศ.ดร.สุรวาท กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในอนาคตเมื่อมีการรับระบบปิด ที่ประชุมมีความเห็นว่าสถาบันผลิตครูอาจจะต้องใช้ระบบการรับตรงร่วมกัน ลักษณะเดียวกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) เพื่อเป็นการลดภาระของผู้เรียนในการเดินทางสอบ ซึ่งในข้อเสนอนี้ยังไม่เป็นที่ยุติและต้องหาเจ้าภาพเป็นผู้ดำเนินการ ขณะเดียวกัน ส.ค.ศ.ท. ได้หารือกันด้วยว่าการใช้ระบบปิดผลิตครูนั้นจะส่งผลให้ภาระงานของคณะครุฯ/ศึกษาฯ ลดลงจึงยินดีที่เห็นว่าควรจะมาดูแลในเรื่องการพัฒนาครู ในลักษณะการใช้ห้องเรียนเป็นฐานและให้มหาวิทยาลัยที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบอบรมซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดปัญหาครูทิ้งห้องเรียนได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตครู อยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแลและจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กับคณะครุฯ/ศึกษาฯ ด้วย เพราะปัจจุบันงบที่ได้น้อยกว่าคณะสังคมศาสตร์ทั้งที่การผลิตครูจำเป็นต้องมีการลงทุนด้านอุปกรณ์และสื่อการสอนที่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้วย
“เท่าที่หารือพบว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะรับนิสิต/นักศึกษา ได้ในปีการศึกษา 2559 ประมาณ 30,000 คน ซึ่งเด็กจะจบการศึกษาในปี 2563 ทั้งนี้ ที่ผ่านมานั้น มีนักเรียนนิยมสมัครเรียนคณะครุฯ/ศึกษาฯ มากโดยเฉพาะปีการศึกษา 2553 - 2555 มีจำนวนสูงถึง 50,000 คน ทำให้มีบัณฑิตจบครูออกมาจำนวนมาก เพราะฉะนั้น ส.ค.ศ.ท. จึงเห็นว่าการผลิตในระบบปิดเป็นรูปแบบที่เหมาะสม เพราะบัณฑิตที่จบสามารถเข้าทดแทนอัตราเกษียณอายุราชการได้ทันทีตามอัตราที่แต่ละหน่วยงานเตรียมไว้รองรับ การเกษียณอายุราชการซึ่งมีข้อมูลว่าอีก 10 ปีข้างหน้าข้าราชการครูเกษียณอายุราชการประมาณ 200,000 คน เฉลี่ยปีละ 20,000 คน”ผศ.ดร.สุรวาท กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่