เสมา 2 เตรียมนัดถก กกอ.รอบสองเน้นหารือระบบผลิตพัฒนาครู โดยเฉพาะต้องดูในส่วนการผลิตครูอาชีวะ ชี้ต้องยึดนโยบายและทิศทางพัฒนาประเทศของรัฐเป็นหลัก
นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตนจะนัดหารือกับคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) อีกครั้งในสัปดาห์หน้าจากที่ก่อนหน้านี้ได้พูดคุยไปแล้วหนึ่งรอบ ซึ่งประเด็นหลักๆ ที่จะหารือรอบที่สองนั้นจะคุยในรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาครูเพิ่มเติม ซึ่งที่ผ่านมามีข้อเสนอถึงแนวทางแก้ปัญหาที่หลากหลาย อาทิ ข้อเสนอให้มีการปรับโครงสร้างหลักสูตรครู ซึ่งปัจจุบันมีหลักสูตรครูระดับปริญญาตรี 5 ปีแล้ว ก็อาจจะมีช่องทางหรือหลักสูตรอื่นๆ เพื่อเข้ามาช่วยในการผลิตครูให้มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงจะต้องไปดูในส่วนของครูในสายอาชีวศึกษาด้วย เพราะถ้าต่อไปเด็กหันมาเรียนในสายวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น ก็จะต้องผลิตครูอาชีวะให้เพียงพอและตรงตามความต้องการ ซึ่งเรื่องนี้มหาวิทยาลัยถือว่ามีส่วนสำคัญในฐานะผู้ผลิต ที่จะต้องปรับบทบาท โดยที่ผ่านมาก็มีหลายหน่วยงาน อาทิ กลุ่มของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ที่ส่งแผนแม่บทในการพัฒนาครู ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา ซึ่งตนก็คงต้องขอรายละเอียดเหล่านั้นกลับมาดู และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาพรวมด้วย โดยต้องดูนโยบายรัฐบาลและทิศทางการพัฒนาประเทศ เพื่อผลิตครูให้สอดคล้องกับการพัฒนากำลังคนในอนาคต
“การผลิตครูจะต้องมองภาพรวมอีก 10 ปีข้างหน้า ที่เราจะมีครูเกษียณอายุมากถึง 40% ของจำนวนครูทั้งประเทศ แต่ก็อาจไม่จำเป็นต้องผลิตครูเท่ากับจำนวนที่เกษียณ เพราะอัตราการเกิดของเด็กจะลดลงเช่นกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องผลิตครูให้ตรงตามความต้องการของประเทศจริง ๆ และอาจจะต้องเพิ่มช่องทางผลิตครู ให้มากขึ้น 3-4 ทางเลือก โดยเฉพาะเมื่อเด็กหันมาเรียนในสายอาชีพมากขึ้น ก็มีแนวคิดว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ควรต้องร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดการเรียนการสอนที่เน้นทางวิชาชีพเพิ่มมากขึ้นแม้ปัจจุบันจะทำอยู่แต่ยังไม่มาก เพื่อให้ต่อไปเด็กที่จบระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ออกมาแล้วสามารถทำงานได้ทันที เพราะมีทักษะทางวิชาชีพ แม้ไม่ได้เรียนต่อระดับอุดมศึกษา”รมช.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม จะหารือ กกอ. ในเรื่องการปรับระบบการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ที่ปัจจุบันมี 3 ระบบ คือ ระบบรับตรง ระบบโควตา และการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบกลาง หรือแอดมิชชัน ให้เป็นระบบที่มีความยุติธรรม ไม่เหลื่อมล้ำ ซึ่งเรื่องนี้ต้องหารือผู้เกี่ยวข้องอย่างที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตนจะนัดหารือกับคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) อีกครั้งในสัปดาห์หน้าจากที่ก่อนหน้านี้ได้พูดคุยไปแล้วหนึ่งรอบ ซึ่งประเด็นหลักๆ ที่จะหารือรอบที่สองนั้นจะคุยในรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาครูเพิ่มเติม ซึ่งที่ผ่านมามีข้อเสนอถึงแนวทางแก้ปัญหาที่หลากหลาย อาทิ ข้อเสนอให้มีการปรับโครงสร้างหลักสูตรครู ซึ่งปัจจุบันมีหลักสูตรครูระดับปริญญาตรี 5 ปีแล้ว ก็อาจจะมีช่องทางหรือหลักสูตรอื่นๆ เพื่อเข้ามาช่วยในการผลิตครูให้มีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงจะต้องไปดูในส่วนของครูในสายอาชีวศึกษาด้วย เพราะถ้าต่อไปเด็กหันมาเรียนในสายวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น ก็จะต้องผลิตครูอาชีวะให้เพียงพอและตรงตามความต้องการ ซึ่งเรื่องนี้มหาวิทยาลัยถือว่ามีส่วนสำคัญในฐานะผู้ผลิต ที่จะต้องปรับบทบาท โดยที่ผ่านมาก็มีหลายหน่วยงาน อาทิ กลุ่มของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ที่ส่งแผนแม่บทในการพัฒนาครู ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา ซึ่งตนก็คงต้องขอรายละเอียดเหล่านั้นกลับมาดู และหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาพรวมด้วย โดยต้องดูนโยบายรัฐบาลและทิศทางการพัฒนาประเทศ เพื่อผลิตครูให้สอดคล้องกับการพัฒนากำลังคนในอนาคต
“การผลิตครูจะต้องมองภาพรวมอีก 10 ปีข้างหน้า ที่เราจะมีครูเกษียณอายุมากถึง 40% ของจำนวนครูทั้งประเทศ แต่ก็อาจไม่จำเป็นต้องผลิตครูเท่ากับจำนวนที่เกษียณ เพราะอัตราการเกิดของเด็กจะลดลงเช่นกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องผลิตครูให้ตรงตามความต้องการของประเทศจริง ๆ และอาจจะต้องเพิ่มช่องทางผลิตครู ให้มากขึ้น 3-4 ทางเลือก โดยเฉพาะเมื่อเด็กหันมาเรียนในสายอาชีพมากขึ้น ก็มีแนวคิดว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ควรต้องร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดการเรียนการสอนที่เน้นทางวิชาชีพเพิ่มมากขึ้นแม้ปัจจุบันจะทำอยู่แต่ยังไม่มาก เพื่อให้ต่อไปเด็กที่จบระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ออกมาแล้วสามารถทำงานได้ทันที เพราะมีทักษะทางวิชาชีพ แม้ไม่ได้เรียนต่อระดับอุดมศึกษา”รมช.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม จะหารือ กกอ. ในเรื่องการปรับระบบการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ที่ปัจจุบันมี 3 ระบบ คือ ระบบรับตรง ระบบโควตา และการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบกลาง หรือแอดมิชชัน ให้เป็นระบบที่มีความยุติธรรม ไม่เหลื่อมล้ำ ซึ่งเรื่องนี้ต้องหารือผู้เกี่ยวข้องอย่างที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่