สพฐ. เตรียมรื้อหลักสูตรครั้งใหญ่ นำจุดอ่อนที่พบในหลักสูตรปัจจุบันมาปรับให้ทันสมัย ดูตั้งแต่โครงสร้างการกำหนดเป้าหมายผู้เรียน ขอเวลาศึกษาก่อนชงบอร์ด กพฐ. เห็นชอบและตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมาทำรายละเอียด “กมล” ระบุไม่มั่นใจตอบโจทย์ลดเวลาเรียนได้หรือไม่ พร้อมกำหนดใช้เวลาเรียนเพิ่มเติมวิชาหน้าที่พลเมือง และกำหนดรายวิชาให้เรียนตั้งแต่ระดับประถม-มัธยม เน้นปฏิบัติต่อยอดกับวิชาหลักที่เรียน
วันนี้ (26 ส.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) แถลงข่าวการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า สพฐ. เตรียมปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งใหญ่อีกรอบ ภายหลังประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มาเป็นเวลา 6 ปี และมีการประกาศใช้ครบทุกช่วงชั้นแล้ว ซึ่งตามปกติเมื่อใช้หลักสูตรไปสักระยะหนึ่งจะต้องมีการทบทวนหลักสูตรใหม่อีกครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป โดยจากการติดตามผลการใช้หลักสูตรฯ พ.ศ. 2551 ของหน่วยงานภายในของ สพฐ. รวมถึงมหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ สะท้อนมุมมองจากภายนอก พบว่า แม้หลักสูตร พ.ศ. 2551 จะครอบคลุมการเรียนรู้ที่สำคัญ สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสอดคล้องกับการเตรียมคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงทำให้ความคาดหวังของสังคมต่อการศึกษามีมากขึ้น จึงจำเป็นต้องทบทวนหลักสูตรรวมถึงการเรียนการสอนให้ทันสมัยขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน เพราะฉะนั้น สพฐ. จะมีการทบทวนหลักสูตรการศึกษาใหม่โดยจะดูตั้งแต่โครงสร้างหลักสูตร เวลาเรียนที่เหมาะสม การแบ่งกลุ่มสาระวิชา ที่ปัจจุบันกำหนดไว้เป็น 8 กลุ่มสาระมีความเหมาะสมหรือไม่ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กที่ต้องการ
“ขณะนี้ คณะอนุกรรมการวิชาการและพัฒนาหลักสูตร ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ที่มี ดร.นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นประธาน กำลังศึกษารายละเอียดต่างๆ ร่วมกับ สพฐ. เพื่อสรุปหลักการ และแนวทางของการปรับหลักสูตรใหม่ จากนั้นจะเสนอให้บอร์ด กพฐ. พิจารณาเห็นชอบให้มีการปรับหลักสูตรครั้งใหญ่ พร้อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาปรับหลักสูตรซึ่งจะปรับทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน และคุณลักษณะที่ต้องการ จากนั้นจะมาทบทวนเนื้อหาที่จะใส่ไว้ในหลักสูตรใหม่ เมื่อตรงนี้ชัดเจนแล้ว จึงจะรู้ว่าหลักสูตรใหม่ ควรจะแบ่งออกเป็นกี่กลุ่มสาระวิชา และมีโครงสร้างเวลาเรียนเท่าไหร่ ซึ่งตอนนี้ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าการปรับหลักสูตรครั้งนี้จะช่วยลดเวลาเรียนลงหรือไม่ แต่ สพฐ. จะนำปัญหาที่เกิดจากการใช้หลักสูตร พ.ศ. 2551 ทั้งหมด อาทิ ปัญหาโครงสร้างเวลาเรียน ปัญหาการบ้านที่มากเกินไป รวมทั้งปัญหาอื่นๆ มาเป็นข้อพิจารณาในการปรับหลักสูตรใหญ่ครั้งนี้ด้วย ” นายกมล กล่าวและว่า สำหรับการปรับปรุงหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองนั้น ขณะนี้ สพฐ. ได้เตรียมจัดพิมพ์หนังสืออ่านนอกเวลา และหนังสืออ่านเพิ่มเติมรวมถึงจะเริ่มจัดอบรมครูแกนนำระดับมัธยมศึกษา 4 รุ่น จำนวน 1,206 คน ซึ่งจะเริ่มอบรมตั้งแต่เดือนกันยายน - ตุลาคม 2557 เพื่อให้ครูแกนนำไปขยายผลพัฒนาครูระดับพื้นที่ให้ครอบคลุมใน 225 เขตพื้นที่การศึกษาให้มีความพร้อมในการสอนทันทีในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
ด้าน นายสุชาติ วงศ์สุวรรณ อดีตผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำรายวิชาหน้าที่พลเมือง กล่าวว่า ที่ผ่านมา สพฐ. ได้เตรียมความพร้อม ในการจัดการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมืองตามนโยบายของ คสช. เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะให้สถานศึกษาเริ่มจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โดยสรุปแล้ว วิชาหน้าที่พลเมืองจะใช้ชั่วโมงเรียนในรายวิชาเพิ่มเติม ซึ่งตามปกติโรงเรียนจะเป็นผู้เลือกรายวิชาเพิ่มเติมเอง แต่เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในวิชานี้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สพฐ. จึงกำหนดโครงสร้างหลักสูตรของวิชาหน้าที่พลเมืองพร้อมรายละเอียดของเนื้อหา ให้โรงเรียนนำใช้ โดยโครงสร้างหลักสูตร ระดับประถม จะเรียนทั้งหมด 6 รายวิชา ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมต้น เรียน 6 รายวิชา ใช้เวลาเรียน 20 ชั่วโมงต่อภาคเรียน คิดเป็น 3 หน่วยกิต ส่วนระดับม.ปลาย เรียนทั้งหมด 4 วิชา รวม 2 หน่วยกิต โดยโรงเรียนสามารถเลือกจัดการเรียนการสอนในชั้นใดก็ได้ แต่ให้ครบตามเวลาที่กำหนด คือ 80 ชั่วโมง ใน 3 ปี
“จริง ๆ แล้วเนื้อหาวิชาหน้าที่พลเมืองมีอยู่ในวิชา สังคมศึกษาและบูรณาการกลุ่มสาระอื่นๆ อยู่แล้ว แต่จะเป็นการสอนในเชิงหลักการ เน้นคุณธรรมจริยธรรม ส่วนวิชาหน้าที่พลเมืองที่กำหนดขึ้นมาใหม่จะเน้นการปฏิบัติต่อยอดจากการเรียนหลักการ เพราะฉะนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นในรูปแบบกิจกรรม ซึ่ง สพฐ. ได้ทำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ ส่งให้ส่งเรียนใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ด้วย” นายสุชาติ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 ส.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) แถลงข่าวการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า สพฐ. เตรียมปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งใหญ่อีกรอบ ภายหลังประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มาเป็นเวลา 6 ปี และมีการประกาศใช้ครบทุกช่วงชั้นแล้ว ซึ่งตามปกติเมื่อใช้หลักสูตรไปสักระยะหนึ่งจะต้องมีการทบทวนหลักสูตรใหม่อีกครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป โดยจากการติดตามผลการใช้หลักสูตรฯ พ.ศ. 2551 ของหน่วยงานภายในของ สพฐ. รวมถึงมหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ สะท้อนมุมมองจากภายนอก พบว่า แม้หลักสูตร พ.ศ. 2551 จะครอบคลุมการเรียนรู้ที่สำคัญ สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสอดคล้องกับการเตรียมคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงทำให้ความคาดหวังของสังคมต่อการศึกษามีมากขึ้น จึงจำเป็นต้องทบทวนหลักสูตรรวมถึงการเรียนการสอนให้ทันสมัยขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน เพราะฉะนั้น สพฐ. จะมีการทบทวนหลักสูตรการศึกษาใหม่โดยจะดูตั้งแต่โครงสร้างหลักสูตร เวลาเรียนที่เหมาะสม การแบ่งกลุ่มสาระวิชา ที่ปัจจุบันกำหนดไว้เป็น 8 กลุ่มสาระมีความเหมาะสมหรือไม่ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กที่ต้องการ
“ขณะนี้ คณะอนุกรรมการวิชาการและพัฒนาหลักสูตร ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ที่มี ดร.นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นประธาน กำลังศึกษารายละเอียดต่างๆ ร่วมกับ สพฐ. เพื่อสรุปหลักการ และแนวทางของการปรับหลักสูตรใหม่ จากนั้นจะเสนอให้บอร์ด กพฐ. พิจารณาเห็นชอบให้มีการปรับหลักสูตรครั้งใหญ่ พร้อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาปรับหลักสูตรซึ่งจะปรับทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน และคุณลักษณะที่ต้องการ จากนั้นจะมาทบทวนเนื้อหาที่จะใส่ไว้ในหลักสูตรใหม่ เมื่อตรงนี้ชัดเจนแล้ว จึงจะรู้ว่าหลักสูตรใหม่ ควรจะแบ่งออกเป็นกี่กลุ่มสาระวิชา และมีโครงสร้างเวลาเรียนเท่าไหร่ ซึ่งตอนนี้ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าการปรับหลักสูตรครั้งนี้จะช่วยลดเวลาเรียนลงหรือไม่ แต่ สพฐ. จะนำปัญหาที่เกิดจากการใช้หลักสูตร พ.ศ. 2551 ทั้งหมด อาทิ ปัญหาโครงสร้างเวลาเรียน ปัญหาการบ้านที่มากเกินไป รวมทั้งปัญหาอื่นๆ มาเป็นข้อพิจารณาในการปรับหลักสูตรใหญ่ครั้งนี้ด้วย ” นายกมล กล่าวและว่า สำหรับการปรับปรุงหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองนั้น ขณะนี้ สพฐ. ได้เตรียมจัดพิมพ์หนังสืออ่านนอกเวลา และหนังสืออ่านเพิ่มเติมรวมถึงจะเริ่มจัดอบรมครูแกนนำระดับมัธยมศึกษา 4 รุ่น จำนวน 1,206 คน ซึ่งจะเริ่มอบรมตั้งแต่เดือนกันยายน - ตุลาคม 2557 เพื่อให้ครูแกนนำไปขยายผลพัฒนาครูระดับพื้นที่ให้ครอบคลุมใน 225 เขตพื้นที่การศึกษาให้มีความพร้อมในการสอนทันทีในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
ด้าน นายสุชาติ วงศ์สุวรรณ อดีตผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำรายวิชาหน้าที่พลเมือง กล่าวว่า ที่ผ่านมา สพฐ. ได้เตรียมความพร้อม ในการจัดการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมืองตามนโยบายของ คสช. เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะให้สถานศึกษาเริ่มจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โดยสรุปแล้ว วิชาหน้าที่พลเมืองจะใช้ชั่วโมงเรียนในรายวิชาเพิ่มเติม ซึ่งตามปกติโรงเรียนจะเป็นผู้เลือกรายวิชาเพิ่มเติมเอง แต่เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในวิชานี้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สพฐ. จึงกำหนดโครงสร้างหลักสูตรของวิชาหน้าที่พลเมืองพร้อมรายละเอียดของเนื้อหา ให้โรงเรียนนำใช้ โดยโครงสร้างหลักสูตร ระดับประถม จะเรียนทั้งหมด 6 รายวิชา ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมงต่อปี ระดับมัธยมต้น เรียน 6 รายวิชา ใช้เวลาเรียน 20 ชั่วโมงต่อภาคเรียน คิดเป็น 3 หน่วยกิต ส่วนระดับม.ปลาย เรียนทั้งหมด 4 วิชา รวม 2 หน่วยกิต โดยโรงเรียนสามารถเลือกจัดการเรียนการสอนในชั้นใดก็ได้ แต่ให้ครบตามเวลาที่กำหนด คือ 80 ชั่วโมง ใน 3 ปี
“จริง ๆ แล้วเนื้อหาวิชาหน้าที่พลเมืองมีอยู่ในวิชา สังคมศึกษาและบูรณาการกลุ่มสาระอื่นๆ อยู่แล้ว แต่จะเป็นการสอนในเชิงหลักการ เน้นคุณธรรมจริยธรรม ส่วนวิชาหน้าที่พลเมืองที่กำหนดขึ้นมาใหม่จะเน้นการปฏิบัติต่อยอดจากการเรียนหลักการ เพราะฉะนั้นการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นในรูปแบบกิจกรรม ซึ่ง สพฐ. ได้ทำตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ ส่งให้ส่งเรียนใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ด้วย” นายสุชาติ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่