สพฐ. แยกวิชาหน้าที่พลเมือง ออกเป็นรายวิชาบังคับเลือก กำหนดให้เรียน 1 หน่วยกิต 40 ชม. ต่อปีในระดับ ป.1 - ม.3 และเรียน 2 หน่วยกิตในระดับ ม.ปลาย เรียน 80 ชม. ในเวลา 3 ปี ย้ำวิชาประวัติศาสตร์ ถูกกำหนดให้เรียนอยู่แล้ว เลขาธิการ กพฐ. เตรียมลงนามหนังสือแจ้งเวียนทำความเข้าใจ รวมทั้งจะประสาน สช. ให้ นร.ไทยที่เรียนใน ร.ร.นานาชาติ ต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยและวิชาหน้าที่พลเมือง
วันนี้ (17 มิ.ย.) นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ตนได้หารือร่วมกับ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ กพฐ. และ นายวินัย รอดจ่าย ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เกี่ยวกับการปรับการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง โดยมีความเห็นร่วมกัน ว่า ตามที่ที่ประชุมของคณะกรรมการพัฒนาฯ กำหนดให้โรงเรียนจัดสรรเวลา 40 ชั่วโมงจากชั่วโมงเรียนในรายวิชากิจกรรม ซึ่งสถานศึกษาใช้เพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้นให้แก่นักเรียน มาใช้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนหน้าที่พลเมืองนั้นยังไม่ตอบโจทย์เรื่องการปรับการเรียนการสอน ตามแนวนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในสภาพสังคมที่เป็นปัญหา เพราะฉะนั้น สพฐ. จะดำเนินการเรื่องนี้ใหม่
ทั้งนี้ ในส่วนของวิชาประวัติศาสตร์นั้น ที่ผ่านมาในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ก็ได้มีการแยกออกมาเพราะเป็นวิชาอยู่แล้ว ซึ่งได้จัดการเรียนการสอนตามโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรฯ โดยกำหนดเป็นวิชาเฉพาะให้เรียน 40 ชั่วโมงต่อปี จำนวน 1 หน่วยกิต ในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรียน 80 ชั่วโมงตลอด 3 ปี จำนวน 2 หน่วยกิต
รองเลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่า เพราะฉะนั้น สพฐ. จึงจะปรับเฉพาะวิชาหน้าที่พลเมือง ที่เดิมอยู่ในกลุ่มวิชาศาสนา ศีลธรรม เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ แยกออกมาเป็นรายวิชาบังคับเลือก มีหน่วยการเรียน 1 หน่วยกิต กำหนดให้เรียน 40 ชั่วโมงต่อปี หรือสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4 - 6 จะกำหนดให้เรียน 80 ชั่วโมงตลอด 3 ปี จำนวน 2 หน่วยกิต ทั้งนี้ วิชาหน้าที่พลเมือง ที่เพิ่มขึ้นมานั้นจะให้โรงเรียนใช้ชั่วโมงในรายวิชากิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้นมาจัดการเรียนการสอนให้ครบตามที่กำหนด โดยเร็วๆ นี้ เลขาธิการ กพฐ. จะลงนามในหนังสือ สพฐ. แจ้งแนวปฏิบัติไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อแจ้งให้สถานศึกษาได้ดำเนินการตามนโยบายการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองที่จะเน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การสร้างวินัย การมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
“สพฐ. จะทำหนังสือขอให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.)ปรับหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติกำหนดให้เด็กไทยที่เรียนในโรงเรียนนานาชาติเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยและวิชาหน้าที่พลเมือง ซึ่งในเรื่องนี้ได้แจ้ง สช.ทราบเบื้องต้นแล้ว และในวันที่ 25 - 26 มิถุนายนนี้จะมีการประชุมเสวนากำหนดจุดเน้นเพิ่มเติมวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองในแต่ละระดับชั้นเพื่อจัดทำตำราเรียนกลางของประเทศ กำหนดเอกสารและหนังสืออ่านประกอบ จากนั้นจะได้มีการจัดทำคู่มือการเรียนการสอนทั้งสองวิชาต่อไป ซึ่งจะมีการจัดอบรมและพัฒนาครูเพื่อให้ทันใช้จัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ” นายกมล กล่าวและว่า นอกจากการปรับการเรียนการสอนทั้งสองวิชาแล้ว สพฐ. จะประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้และแนวคิดต่อสาธารณชนในประเด็นเรื่องของหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม การเพิ่มสำนึกรักชาติประกอบกันไปด้วย โดยอาจจะทำเป็นสปอร์ต เพลงส่งเสริมสำนึกรักชาติ รายการวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (17 มิ.ย.) นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ตนได้หารือร่วมกับ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ กพฐ. และ นายวินัย รอดจ่าย ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เกี่ยวกับการปรับการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง โดยมีความเห็นร่วมกัน ว่า ตามที่ที่ประชุมของคณะกรรมการพัฒนาฯ กำหนดให้โรงเรียนจัดสรรเวลา 40 ชั่วโมงจากชั่วโมงเรียนในรายวิชากิจกรรม ซึ่งสถานศึกษาใช้เพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้นให้แก่นักเรียน มาใช้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนหน้าที่พลเมืองนั้นยังไม่ตอบโจทย์เรื่องการปรับการเรียนการสอน ตามแนวนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในสภาพสังคมที่เป็นปัญหา เพราะฉะนั้น สพฐ. จะดำเนินการเรื่องนี้ใหม่
ทั้งนี้ ในส่วนของวิชาประวัติศาสตร์นั้น ที่ผ่านมาในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ก็ได้มีการแยกออกมาเพราะเป็นวิชาอยู่แล้ว ซึ่งได้จัดการเรียนการสอนตามโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรฯ โดยกำหนดเป็นวิชาเฉพาะให้เรียน 40 ชั่วโมงต่อปี จำนวน 1 หน่วยกิต ในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เรียน 80 ชั่วโมงตลอด 3 ปี จำนวน 2 หน่วยกิต
รองเลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อว่า เพราะฉะนั้น สพฐ. จึงจะปรับเฉพาะวิชาหน้าที่พลเมือง ที่เดิมอยู่ในกลุ่มวิชาศาสนา ศีลธรรม เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ แยกออกมาเป็นรายวิชาบังคับเลือก มีหน่วยการเรียน 1 หน่วยกิต กำหนดให้เรียน 40 ชั่วโมงต่อปี หรือสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.4 - 6 จะกำหนดให้เรียน 80 ชั่วโมงตลอด 3 ปี จำนวน 2 หน่วยกิต ทั้งนี้ วิชาหน้าที่พลเมือง ที่เพิ่มขึ้นมานั้นจะให้โรงเรียนใช้ชั่วโมงในรายวิชากิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้นมาจัดการเรียนการสอนให้ครบตามที่กำหนด โดยเร็วๆ นี้ เลขาธิการ กพฐ. จะลงนามในหนังสือ สพฐ. แจ้งแนวปฏิบัติไปยังผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ เพื่อแจ้งให้สถานศึกษาได้ดำเนินการตามนโยบายการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองที่จะเน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การสร้างวินัย การมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
“สพฐ. จะทำหนังสือขอให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.)ปรับหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติกำหนดให้เด็กไทยที่เรียนในโรงเรียนนานาชาติเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทยและวิชาหน้าที่พลเมือง ซึ่งในเรื่องนี้ได้แจ้ง สช.ทราบเบื้องต้นแล้ว และในวันที่ 25 - 26 มิถุนายนนี้จะมีการประชุมเสวนากำหนดจุดเน้นเพิ่มเติมวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองในแต่ละระดับชั้นเพื่อจัดทำตำราเรียนกลางของประเทศ กำหนดเอกสารและหนังสืออ่านประกอบ จากนั้นจะได้มีการจัดทำคู่มือการเรียนการสอนทั้งสองวิชาต่อไป ซึ่งจะมีการจัดอบรมและพัฒนาครูเพื่อให้ทันใช้จัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ” นายกมล กล่าวและว่า นอกจากการปรับการเรียนการสอนทั้งสองวิชาแล้ว สพฐ. จะประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้และแนวคิดต่อสาธารณชนในประเด็นเรื่องของหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม การเพิ่มสำนึกรักชาติประกอบกันไปด้วย โดยอาจจะทำเป็นสปอร์ต เพลงส่งเสริมสำนึกรักชาติ รายการวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่