กกอ. เดินหน้าผลักดัน 2 เรื่องหลักเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ทั้งร่าง พ.ร.บ. การศึกษาอุดมฯ เพื่อช่วยควบคุมการจัดการศึกษาอุดมฯ มีคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งจะเร่งปฏิรูปผลิตครูการศึกษาพื้นฐาน ที่ต้องผลิตให้ได้จำนวนที่เหมาะสม
รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม กกอ. เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีมติที่จะเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในประเด็นที่ กกอ. จะเข้าไปช่วยขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาใน 2 เรื่องหลัก ได้แก่ 1. การปฎิรูปอุดมศึกษาที่เน้นเรื่องคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยมีร่างพ.ร.บ. การศึกษาอุดมศึกษา เข้ามาเป็นตัวช่วยผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษามากขึ้น ซึ่งต้องเร่งผลักดันร่างนี้ แต่ก่อนที่จะสรุปเนื้อหาที่ชัดเจนของร่างก็จะต้องมีการประชาพิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องในแวดวงอุดมศึกษาก่อน โดยสาระสำคัญของร่างดังกล่าว อาทิ การดูแลการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ซึ่งหากมีสถาบันอุดมศึกษาใดไม่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามที่กำหนด กกอ. จะมีบทลงโทษทันที จาก เดิมกกอ.จะไม่มีอำนาจที่จะลงโทษได้ต้องอาศัยกฎหมายอื่นๆ เข้ามาช่วยทำให้การดำเนินการบางเรื่องทำได้ช้ามาก โดยคณะกรรมการ กกอ. จะมาทำงานเต็มเวลาซึ่งทำให้สามารถพิจารณาและตัดสินในเรื่องต่างๆ และออกเป็นนโยบายได้เร็วขึ้น เป็นต้น
2. การปฏิรูปการผลิตและพัฒนาครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากขณะนี้มีข้อมูลการผลิตครูเกินความต้องการจำนวนมากและจำนวนการผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลพบว่าจำนวนนักศึกษาเข้าใหม่สาขาวิชาชีพครู ในปีการศึกษา 2551-2556 มีดังนี้ ปี 2551 มีจำนวน 25,333 คน ปี 2552 จำนวน 36,601 คน ปี 2553 จำนวน 52,336 คน ปี 2554 จำนวน 61,472 คน ปี 2555 จำนวน 54,679 คน และปี 2556 จำนวน 50,131 คน ดังนั้น กกอ. จึงเห็นว่าสถาบันฝ่ายผลิตครูเน้นจำนวนการผลิตมากเกินไป แต่ที่สำคัญกว่าต้องดูเรื่องคุณภาพของครูที่ผลิตออกมา จึงต้องมาดูระบบการผลิตครูในภาพรวมว่าการผลิตครูที่ดีควรจะเป็นอย่างไร การคัดเลือกครูต้องมีความเข็มแข็ง และต้องครูจะต้องไปสอนในโรงเรียนที่ความต้องการครูจริงๆ
รศ.ดร.คุณหญิง สุมณฑา กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่ คสช. ต้องการให้นักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เรียนต่อระดับปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้น นั้น กกอ. เห็นด้วยที่ส่งเสริมให้นักเรียนสายช่างเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และที่ผ่านมา กกอ. เปิดให้นักเรียน จบ ปวส. สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ และมี 2 หลักสูตรที่สามารถเรียนต่อปริญญาตรีต่อเนื่องได้เลยคือหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต และหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม จากนี้ กกอ. คงต้องมาทบทวนว่าจะมีการเปิดให้หลักสูตรใดอีกบ้างเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง แต่จะเน้นสายปฏิบัติเท่านั้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม กกอ. เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีมติที่จะเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในประเด็นที่ กกอ. จะเข้าไปช่วยขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาใน 2 เรื่องหลัก ได้แก่ 1. การปฎิรูปอุดมศึกษาที่เน้นเรื่องคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยมีร่างพ.ร.บ. การศึกษาอุดมศึกษา เข้ามาเป็นตัวช่วยผลักดันให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษามากขึ้น ซึ่งต้องเร่งผลักดันร่างนี้ แต่ก่อนที่จะสรุปเนื้อหาที่ชัดเจนของร่างก็จะต้องมีการประชาพิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องในแวดวงอุดมศึกษาก่อน โดยสาระสำคัญของร่างดังกล่าว อาทิ การดูแลการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น การจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ซึ่งหากมีสถาบันอุดมศึกษาใดไม่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามที่กำหนด กกอ. จะมีบทลงโทษทันที จาก เดิมกกอ.จะไม่มีอำนาจที่จะลงโทษได้ต้องอาศัยกฎหมายอื่นๆ เข้ามาช่วยทำให้การดำเนินการบางเรื่องทำได้ช้ามาก โดยคณะกรรมการ กกอ. จะมาทำงานเต็มเวลาซึ่งทำให้สามารถพิจารณาและตัดสินในเรื่องต่างๆ และออกเป็นนโยบายได้เร็วขึ้น เป็นต้น
2. การปฏิรูปการผลิตและพัฒนาครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากขณะนี้มีข้อมูลการผลิตครูเกินความต้องการจำนวนมากและจำนวนการผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลพบว่าจำนวนนักศึกษาเข้าใหม่สาขาวิชาชีพครู ในปีการศึกษา 2551-2556 มีดังนี้ ปี 2551 มีจำนวน 25,333 คน ปี 2552 จำนวน 36,601 คน ปี 2553 จำนวน 52,336 คน ปี 2554 จำนวน 61,472 คน ปี 2555 จำนวน 54,679 คน และปี 2556 จำนวน 50,131 คน ดังนั้น กกอ. จึงเห็นว่าสถาบันฝ่ายผลิตครูเน้นจำนวนการผลิตมากเกินไป แต่ที่สำคัญกว่าต้องดูเรื่องคุณภาพของครูที่ผลิตออกมา จึงต้องมาดูระบบการผลิตครูในภาพรวมว่าการผลิตครูที่ดีควรจะเป็นอย่างไร การคัดเลือกครูต้องมีความเข็มแข็ง และต้องครูจะต้องไปสอนในโรงเรียนที่ความต้องการครูจริงๆ
รศ.ดร.คุณหญิง สุมณฑา กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่ คสช. ต้องการให้นักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เรียนต่อระดับปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้น นั้น กกอ. เห็นด้วยที่ส่งเสริมให้นักเรียนสายช่างเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และที่ผ่านมา กกอ. เปิดให้นักเรียน จบ ปวส. สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ และมี 2 หลักสูตรที่สามารถเรียนต่อปริญญาตรีต่อเนื่องได้เลยคือหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต และหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม จากนี้ กกอ. คงต้องมาทบทวนว่าจะมีการเปิดให้หลักสูตรใดอีกบ้างเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง แต่จะเน้นสายปฏิบัติเท่านั้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่