ศธ. เตรียมเปิดเฟซบุ๊กเพิ่มพื้นที่ให้เด็กร่วมเสนอความเห็นต้องการให้ภาคการศึกษามีส่วนปฏิรูปใดบ้าง รวมทั้งจัดเวทีสาธารณะในเดือน ก.ค. นี้ ก่อนรวมประเด็นเสนอให้สภาปฏิรูปประเทศ
วันนี้ (24 มิ.ย.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือร่วมกับคณะทำงานฝ่ายสังคมและจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการปฏิรูปประเทศว่าแต่ละกระทรวงจะมีนโยบายในด้านใดบ้างที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้รายงานว่าภาพรวมการทำงานที่ผ่านมา ศธ. เคยมีการปฏิรูปการศึกษามาหลายครั้ง โดยเฉพาะการปรับระบบโครงการสร้างการทำงานของ ศธ. ที่เคยออกแบบไว้ คือ ต้องการให้การทำงานในส่วนกลางเล็กลง และทำงานในรูปแบบคณะกรรมการมากขึ้น พร้อมกันนี้ ตนได้นำเสนอปัญหาการทำงานของ ศธ. ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ว่า พบปัญหาอะไรบ้าง เนื่องจากมองว่าบางครั้ง ศธ. ยังทำหน้าที่จัดการศึกษาได้ไม่เข้มแข็ง โดยเฉพาะการกำหนดมาตรฐาน การติดตามประเมินผล เช่น การพัฒนาครู การแก้ปัญหาขาดอัตรากำลังครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลน ปัญหาหนี้สิ้นครู เป็นต้น ซึ่งจะต้องเร่งพัฒนาเรื่องนี้ให้มาก
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลที่ คสช. ต้องการให้เพิ่มโอกาสอย่างมีคุณภาพในโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่ง คสช. เห็นว่าจะทำอย่างไรให้ ศธ. ขยายเครือข่ายโรงเรียนวังไกลกังวล และโมเดลการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 1 ไปสู่การแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่ 15,000 แห่ง ได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ ในส่วนระบบการให้ทุนการศึกษาจะต้องทำให้มีประสิทธิภาพและเปิดโอกาสให้ทุนสำหรับผู้ที่ยากจนจริงๆ โดยจะมีการปรับหลักเกณฑ์การให้ทุนใหม่ เช่น อาจต้องให้ผู้รับทุนกลับมาชดใช้ทุน และเน้นให้เด็กด้อยโอกาสได้ไปเรียนในต่างประเทศ เป็นต้น อีกทั้งงบประมาณที่ได้มา ศธ. จะต้องทุ่มไปกับผู้ที่ยากจนและด้อยโอกาสทางการศึกษา สำหรับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จะต้องมีบทบาทด้านการวิจัยและวางแผนการศึกษาให้มากขึ้น ซึ่งคณะทำงานปฏิรูปประเทศจะทำงานเก็บข้อมูลจากกระทรวงต่างๆ เบื้องต้นทั้งในอดีตและปัจจุบันว่า แต่ละกระทรวงจะมีข้อมูลใดบ้างที่มีส่วนสนับสนุนการปฏิรูปประเทศได้บ้าง
“รู้สึกยินดีที่ คสช. ได้เห็นความสำคัญของการศึกษาที่จะเป็นตัวช่วยหนึ่งในการปฏิรูปประเทศ เพราะการศึกษาถือเป็นเรื่องของการพัฒนาคน และยังสามารถต่อยอดไปถึงการพัฒนาในด้านอื่นๆของประเทศในอนาคตอีกด้วย การปฏิรูปประเทศจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการสร้างโมเดลของทุกภาคส่วนอย่างมี มาตรฐาน ดังนั้น จากนี้ไป ศธ. จะจัดเวทีจะรับฟังความคิดเห็นช่วงเดือน ก.ค. หลังจากนั้นจะเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อจัดทำข้อเสนอเรื่องปฏิรูปการศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งจะเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามาให้ข้อมูลว่าอยากเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้างในการปฏิรูปประเทศจากการใช้ภาคการศึกษา นอกจากนี้ ศธ. จะเปิดเฟซบุ๊กให้เด็กและเยาวชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นพร้อมเขียนข้อเสนอ แนะว่าอยากให้ภาคการศึกษาช่วยปฏิรูปประเทศในส่วนใดบ้าง โดย ศธ. จะจัดตั้งทีมงาน รวบรวมประเด็น เพื่อนำไปสู่การนำเสนอสภาปฏิรูปประเทศต่อไป” นางสุทธศรี กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 มิ.ย.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือร่วมกับคณะทำงานฝ่ายสังคมและจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงแนวทางการปฏิรูปประเทศว่าแต่ละกระทรวงจะมีนโยบายในด้านใดบ้างที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้รายงานว่าภาพรวมการทำงานที่ผ่านมา ศธ. เคยมีการปฏิรูปการศึกษามาหลายครั้ง โดยเฉพาะการปรับระบบโครงการสร้างการทำงานของ ศธ. ที่เคยออกแบบไว้ คือ ต้องการให้การทำงานในส่วนกลางเล็กลง และทำงานในรูปแบบคณะกรรมการมากขึ้น พร้อมกันนี้ ตนได้นำเสนอปัญหาการทำงานของ ศธ. ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ว่า พบปัญหาอะไรบ้าง เนื่องจากมองว่าบางครั้ง ศธ. ยังทำหน้าที่จัดการศึกษาได้ไม่เข้มแข็ง โดยเฉพาะการกำหนดมาตรฐาน การติดตามประเมินผล เช่น การพัฒนาครู การแก้ปัญหาขาดอัตรากำลังครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลน ปัญหาหนี้สิ้นครู เป็นต้น ซึ่งจะต้องเร่งพัฒนาเรื่องนี้ให้มาก
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลที่ คสช. ต้องการให้เพิ่มโอกาสอย่างมีคุณภาพในโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่ง คสช. เห็นว่าจะทำอย่างไรให้ ศธ. ขยายเครือข่ายโรงเรียนวังไกลกังวล และโมเดลการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 1 ไปสู่การแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่ 15,000 แห่ง ได้อย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ ในส่วนระบบการให้ทุนการศึกษาจะต้องทำให้มีประสิทธิภาพและเปิดโอกาสให้ทุนสำหรับผู้ที่ยากจนจริงๆ โดยจะมีการปรับหลักเกณฑ์การให้ทุนใหม่ เช่น อาจต้องให้ผู้รับทุนกลับมาชดใช้ทุน และเน้นให้เด็กด้อยโอกาสได้ไปเรียนในต่างประเทศ เป็นต้น อีกทั้งงบประมาณที่ได้มา ศธ. จะต้องทุ่มไปกับผู้ที่ยากจนและด้อยโอกาสทางการศึกษา สำหรับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จะต้องมีบทบาทด้านการวิจัยและวางแผนการศึกษาให้มากขึ้น ซึ่งคณะทำงานปฏิรูปประเทศจะทำงานเก็บข้อมูลจากกระทรวงต่างๆ เบื้องต้นทั้งในอดีตและปัจจุบันว่า แต่ละกระทรวงจะมีข้อมูลใดบ้างที่มีส่วนสนับสนุนการปฏิรูปประเทศได้บ้าง
“รู้สึกยินดีที่ คสช. ได้เห็นความสำคัญของการศึกษาที่จะเป็นตัวช่วยหนึ่งในการปฏิรูปประเทศ เพราะการศึกษาถือเป็นเรื่องของการพัฒนาคน และยังสามารถต่อยอดไปถึงการพัฒนาในด้านอื่นๆของประเทศในอนาคตอีกด้วย การปฏิรูปประเทศจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการสร้างโมเดลของทุกภาคส่วนอย่างมี มาตรฐาน ดังนั้น จากนี้ไป ศธ. จะจัดเวทีจะรับฟังความคิดเห็นช่วงเดือน ก.ค. หลังจากนั้นจะเปิดเวทีสาธารณะ เพื่อจัดทำข้อเสนอเรื่องปฏิรูปการศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งจะเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามาให้ข้อมูลว่าอยากเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้างในการปฏิรูปประเทศจากการใช้ภาคการศึกษา นอกจากนี้ ศธ. จะเปิดเฟซบุ๊กให้เด็กและเยาวชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นพร้อมเขียนข้อเสนอ แนะว่าอยากให้ภาคการศึกษาช่วยปฏิรูปประเทศในส่วนใดบ้าง โดย ศธ. จะจัดตั้งทีมงาน รวบรวมประเด็น เพื่อนำไปสู่การนำเสนอสภาปฏิรูปประเทศต่อไป” นางสุทธศรี กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่