คาดช่วง 5 ปี อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต้องการแรงงานกว่า 2 แสนคน กพร. เตรียมผลิตกำลังแรงงานนำร่อง 800 คน ป้อนตลาด ทั้งพนักงานเดิม - นศ. จบใหม่ - ระดับวิทยากร พร้อมจัดทำหลังสูตรการเรียนการสอน พัฒนาครู เน้นฝึกประสบการณ์ในสถานที่จริง ใช้อุปกรณ์ทันสมัย ตั้งเป้าปี 63 ผลิตรถยนต์ได้ 3.5 ล้านคัน
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เปิดเผยว่า จากการศึกษาแนวทางการพัฒนากำลังแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ พบว่าในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2558 - 2562 มีความต้องการแรงงานในกลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ จำนวน 63,025 คน ในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์มีจำนวน 200,555 คน หากแยกความต้องการตามระดับการศึกษาพบว่า มีความต้องการในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสบการณ์หรือผ่านการฝึกฝีมือ ร้อยละ 55 รองลงมา ระดับอาชีวศึกษา ร้อยละ 25 ระดับปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์ คือ วิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เมคคาทรอนิกส์และอุตสาหการ ร้อยละ 15 และระดับปริญญาตรีในสายอื่นๆ เช่น บริหารธุรกิจ ร้อยละ 5
ม.ล.ปุณฑริก กล่าวอีกว่า กพร. มีแผนพัฒนากำลังคนในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ โดยจะพัฒนาแรงงานให้ได้ 800 คน ทั้งพนักงานที่ทำงานในสถานประกอบการ นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาด้านยานยนต์ในระดับ ปวช. ปวส. ในสาขาที่เกี่ยวข้อง และในระดับวิทยากร ในสาขาต่างๆ อาทิ กลึงซีเอ็นซี กัดซีเอ็นซี เครื่องวัดละเอียด การเชื่อมแมกซ์ ระบบไฮดรอลิก โดยเริ่มอบรมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 เป็นต้นไปซึ่งจะอบรมทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ มีระยะเวลาการอบรม 2 - 5 วัน โดยจะร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สถาบันการศึกษาต่างๆ ผู้ประกอบการด้านยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ จัดอบรมทั้งในสถาบันพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับกลางและสูงในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการเป็นเจ้าภาพหลัก และบางส่วนจะอบรมในสถานประกอบการ เนื่องจากมีอุปกรณ์ในการฝึกครบถ้วน
“การพัฒนาบุคลากรด้านนี้ต้องเริ่มตั้งแต่การจัดทำหลักสูตร การพัฒนาครู การเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาและการฝึกงานในสถานประกอบการจริงเพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ในสถานการณ์จริง มีทักษะสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ รวมทั้งความร่วมมือในลักษณะของเครือข่ายระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกมีความรู้อย่างรอบด้านจากอุปกรณ์ที่ทันสมัยในสถานประกอบการ” ม.ล.ปุณฑริก กล่าว
ทั้งนี้ ยอดการผลิตรถยนต์ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านคัน ต่อปี มีกำลังแรงงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 700,000 คน โดยไทยตั้งเป้าหมายว่าในปี 2563 จะผลิตรถยนต์ให้ได้ 3.5 ล้านคัน ทำให้ต้องเพิ่มกำลังแรงงานอีก 200,000 คน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เปิดเผยว่า จากการศึกษาแนวทางการพัฒนากำลังแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ พบว่าในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2558 - 2562 มีความต้องการแรงงานในกลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ จำนวน 63,025 คน ในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์มีจำนวน 200,555 คน หากแยกความต้องการตามระดับการศึกษาพบว่า มีความต้องการในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสบการณ์หรือผ่านการฝึกฝีมือ ร้อยละ 55 รองลงมา ระดับอาชีวศึกษา ร้อยละ 25 ระดับปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์ คือ วิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เมคคาทรอนิกส์และอุตสาหการ ร้อยละ 15 และระดับปริญญาตรีในสายอื่นๆ เช่น บริหารธุรกิจ ร้อยละ 5
ม.ล.ปุณฑริก กล่าวอีกว่า กพร. มีแผนพัฒนากำลังคนในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ โดยจะพัฒนาแรงงานให้ได้ 800 คน ทั้งพนักงานที่ทำงานในสถานประกอบการ นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาด้านยานยนต์ในระดับ ปวช. ปวส. ในสาขาที่เกี่ยวข้อง และในระดับวิทยากร ในสาขาต่างๆ อาทิ กลึงซีเอ็นซี กัดซีเอ็นซี เครื่องวัดละเอียด การเชื่อมแมกซ์ ระบบไฮดรอลิก โดยเริ่มอบรมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 เป็นต้นไปซึ่งจะอบรมทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ มีระยะเวลาการอบรม 2 - 5 วัน โดยจะร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สถาบันการศึกษาต่างๆ ผู้ประกอบการด้านยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ จัดอบรมทั้งในสถาบันพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับกลางและสูงในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการเป็นเจ้าภาพหลัก และบางส่วนจะอบรมในสถานประกอบการ เนื่องจากมีอุปกรณ์ในการฝึกครบถ้วน
“การพัฒนาบุคลากรด้านนี้ต้องเริ่มตั้งแต่การจัดทำหลักสูตร การพัฒนาครู การเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาและการฝึกงานในสถานประกอบการจริงเพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ในสถานการณ์จริง มีทักษะสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ รวมทั้งความร่วมมือในลักษณะของเครือข่ายระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกมีความรู้อย่างรอบด้านจากอุปกรณ์ที่ทันสมัยในสถานประกอบการ” ม.ล.ปุณฑริก กล่าว
ทั้งนี้ ยอดการผลิตรถยนต์ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านคัน ต่อปี มีกำลังแรงงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 700,000 คน โดยไทยตั้งเป้าหมายว่าในปี 2563 จะผลิตรถยนต์ให้ได้ 3.5 ล้านคัน ทำให้ต้องเพิ่มกำลังแรงงานอีก 200,000 คน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่