สกอ. ชงผลิตครูระบบปิดเข้าที่ประชุม ศธ. และเสนอตั้ง คกก. นโยบายและบริการเพื่อผลิตและพัฒนาครูระดับชาติ มีหน้าที่ดูแลติดตามในภาพรวม เลขาธิการ สกศ. ระบุสอดคล้องกับแนวคิดคณะอนุ กก. ปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ของบอร์ดปฏิรูป ศธ. ชี้เสนอทำโครงการผลิตครูต่อเนื่องระยะ 10 ปี ทดแทนโครงการครูพันธุ์ใหม่ โดยไม่ผูกพันกับพรรคการเมืองเพื่อให้การทำงานต่อเนื่อง
วันนี้ (5 ก.พ.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้รับทราบร่าง ยุทธศาสตร์และมาตรการเพื่อการผลิตและพัฒนาครู ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ใน 4 ยุทธศาสตร์ คือ การปฏิรูประบบและรูปแบบการผลิตครู, การปฏิรูประบบและรูปแบบการพัฒนาครู, การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตและพัฒนาครูทั้งระบบ และการสร้างกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพครูให้เป็น ครูมืออาชีพ มีมาตรฐานในระดับสากล เหมาะสมกับการเป็นครูในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ได้รับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาและการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่เสนอให้ปรับระบบการผลิตครูเป็นระบบปิด เพื่อผลิตครูให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการ โดยต้องดูความต้องการครูที่ชัดเจนในแต่ละสาขาวิชาและทุกสังกัด แล้วจึงผลิตให้ตรงกับความต้องการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการผลิตครูเกินปริมาณ หรือผลิตไม่ตรงตามความต้องการ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถในวิชาที่ขาดแคลนมาเป็นครู โดย สกอ. ยังเสนอให้มีคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการบริหารเพื่อการผลิตและพัฒนาครูระดับชาติด้วย เพื่อเป็นกลไกในการกำกับดูแลระบบการผลิตในภาพรวมด้วย
รศ.ดร.พินิติ ระตะนานุกุล เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า ข้อเสนอของ สกอ.สอดคล้องกับแนวคิดของคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู ในคณะกรรมการอำนวยการปฎิรูปการศึกษาของ ศธ. ที่เห็นว่าจำเป็น ต้องจำกัดจำนวนการผลิตครูให้เท่ากับความต้องการและมีอัตรารองรับที่ชัดเจน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และคุรุสภาต้องร่วมหารือความต้องการครูในระยะเวลา 5 ปี เพื่อกำหนดปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยแยกเป็นระดับประถม ระดับมัธยม ตามสาขาวิชาเอกที่จบ แต่เรื่องดังกล่าวต้องไปหารือกับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อปรับหลักสูตรการผลิตครูให้เหมาะสม โดยต้องดูความคาดหวังต่อตัวนักเรียนในอนาคตว่าต้องการเด็กไทยรูปแบบไหน ก็จะผลิตครูออกไปตามนั้น
“ยังเห็นตรงกันว่าควรจะมีโครงการการผลิตครูแบบต่อเนื่องระยะยาว 10 ปี มาทดแทนโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ซึ่งสิ้นสุดโครงการไปแล้วตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2557 เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาการขาดแคลนครู โดยโครงการดังกล่าวจะต้องไม่ผูกติดกับนโยบายของพรรคการเมือง เพื่อให้มีความต่อเนื่อง ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครูอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด เสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปฯ ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดรับนักเรียนเข้าร่วมโครงการรุ่นแรกได้ทันในปีการศึกษา 2558 ซึ่งผู้ที่เข้าโครงการจะได้รับทุนจนจบการศึกษา และจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เรียนครูจบมาในอนาคตจะไม่ตกงานแน่นอน” รศ.ดร.พินิติ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (5 ก.พ.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้รับทราบร่าง ยุทธศาสตร์และมาตรการเพื่อการผลิตและพัฒนาครู ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ใน 4 ยุทธศาสตร์ คือ การปฏิรูประบบและรูปแบบการผลิตครู, การปฏิรูประบบและรูปแบบการพัฒนาครู, การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตและพัฒนาครูทั้งระบบ และการสร้างกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนาครู ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพครูให้เป็น ครูมืออาชีพ มีมาตรฐานในระดับสากล เหมาะสมกับการเป็นครูในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ได้รับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาและการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่เสนอให้ปรับระบบการผลิตครูเป็นระบบปิด เพื่อผลิตครูให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการ โดยต้องดูความต้องการครูที่ชัดเจนในแต่ละสาขาวิชาและทุกสังกัด แล้วจึงผลิตให้ตรงกับความต้องการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการผลิตครูเกินปริมาณ หรือผลิตไม่ตรงตามความต้องการ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถในวิชาที่ขาดแคลนมาเป็นครู โดย สกอ. ยังเสนอให้มีคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการบริหารเพื่อการผลิตและพัฒนาครูระดับชาติด้วย เพื่อเป็นกลไกในการกำกับดูแลระบบการผลิตในภาพรวมด้วย
รศ.ดร.พินิติ ระตะนานุกุล เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า ข้อเสนอของ สกอ.สอดคล้องกับแนวคิดของคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครู ในคณะกรรมการอำนวยการปฎิรูปการศึกษาของ ศธ. ที่เห็นว่าจำเป็น ต้องจำกัดจำนวนการผลิตครูให้เท่ากับความต้องการและมีอัตรารองรับที่ชัดเจน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และคุรุสภาต้องร่วมหารือความต้องการครูในระยะเวลา 5 ปี เพื่อกำหนดปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยแยกเป็นระดับประถม ระดับมัธยม ตามสาขาวิชาเอกที่จบ แต่เรื่องดังกล่าวต้องไปหารือกับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อปรับหลักสูตรการผลิตครูให้เหมาะสม โดยต้องดูความคาดหวังต่อตัวนักเรียนในอนาคตว่าต้องการเด็กไทยรูปแบบไหน ก็จะผลิตครูออกไปตามนั้น
“ยังเห็นตรงกันว่าควรจะมีโครงการการผลิตครูแบบต่อเนื่องระยะยาว 10 ปี มาทดแทนโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ ซึ่งสิ้นสุดโครงการไปแล้วตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2557 เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาการขาดแคลนครู โดยโครงการดังกล่าวจะต้องไม่ผูกติดกับนโยบายของพรรคการเมือง เพื่อให้มีความต่อเนื่อง ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาครูอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด เสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปฯ ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดรับนักเรียนเข้าร่วมโครงการรุ่นแรกได้ทันในปีการศึกษา 2558 ซึ่งผู้ที่เข้าโครงการจะได้รับทุนจนจบการศึกษา และจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เรียนครูจบมาในอนาคตจะไม่ตกงานแน่นอน” รศ.ดร.พินิติ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่