สพฐ. ย้ำการทำงานหลักให้ ผอ. กลุ่มส่งเสริมจัดการศึกษา กำชับให้ดูแลการรับ นร. ให้โปร่งใสตอบคำถามสังคมได้ ไม่มีการร้องเรียนและห้ามเรียกรับเงิน
วันนี้ (23 ธ.ค.) ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดประชุมและมอบนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนกับผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขตทั่วประเทศ ว่า ตนได้เน้นย้ำแนวทางการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในปี 2558 ซึ่งจะเน้นใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน โดยช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2558 จะตรงกับช่วงที่นักเรียนต้องเข้ารับการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ซึ่งเรามีเป้าหมายจะยกระดับผลสัมฤทธิ์ของคะแนน O-Net ของเด็กให้ดียิ่งขึ้นซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางไว้แล้ว โดยหากเราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ก็จะส่งผลต่อการยกระดับคะแนนการสอบ PISA ในช่วงปลายปีได้ด้วย ขณะเดียวกัน ก็จะเร่งแก้ไขปัญหาการอ่านออกเขียนได้โดยเฉพาะเด็กระดับประถมต้องอ่านให้ได้ อีกเรื่องที่สำคัญจะเร่งเดินหน้าแก้ปัญหาจัดการศึกษาในเขตพื้นที่พิเศษ เขตพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและการพัฒนาประเทศ
2.การพัฒนาครูและผู้บริหารและปฏิรูปการเรียนรู้ โดยตั้งเป้าจะใช้เวลาในช่วงปิดภาคเรียนจัดอบรมครูและปลายปีจะเป็นการสอบบรรจุผู้บริหาร อาทิ รองผู้อำนวยการ/ผอ.โรงเรียนใน รองผอ./ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่ง สพฐ. เน้นให้การเข้าสู่ตำแหน่งเป็นไปอย่างยุติธรรมไม่มีปัญหาการโกง และ 3. การเตรียมการปฏิรูปการศึกษา ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปของ ศธ. ที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และส่วนที่ค่อนข้างชัดเจนคือ การปฏิรูปโครงสร้างของ ศธ. ที่เวลานี้ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ศึกษาและเสนอขอแยกออกจาก ศธ. แต่ในส่วน สพฐ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานปลัด ศธ. รมว.ศึกษาฯ ก็ได้ให้ดูการปรับโครงสร้างภายใน ขณะเดียวกัน ในปี 2558 สพฐ. เตรียมปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 ด้วย
“ในเรื่องการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2558 ได้เน้นย้ำให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติการรับนักเรียนที่ สพฐ. ได้กำหนดไว้ อาทิ ตั้งคณะกรรมการระดับเขตพื้นที่ฯ คณะกรรมการออกข้อสอบ ฯลฯ โดยขอให้ดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างโปร่งใสที่สุดและสามารถตอบคำถามได้ ต้องไม่ให้มีปัญหาร้องเรียน ที่สำคัญ ต้องไม่มีการเรียกรับเงิน โดยขอให้ ผอ.กลุ่มส่งเสริมฯ คอยให้คำแนะนำโรงเรียน รวมถึงดูแลและทำความเข้าใจกับโรงเรียนและผู้ปกครอง ยืนยันว่า สพฐ. ที่มีเรียนเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคน ขณะเดียวกัน ยังมีโรงเรียนเอกชนและอาชีวศึกษารองรับด้วย”นายกมล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 ธ.ค.) ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดประชุมและมอบนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนกับผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขตทั่วประเทศ ว่า ตนได้เน้นย้ำแนวทางการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในปี 2558 ซึ่งจะเน้นใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน โดยช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2558 จะตรงกับช่วงที่นักเรียนต้องเข้ารับการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ซึ่งเรามีเป้าหมายจะยกระดับผลสัมฤทธิ์ของคะแนน O-Net ของเด็กให้ดียิ่งขึ้นซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางไว้แล้ว โดยหากเราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ก็จะส่งผลต่อการยกระดับคะแนนการสอบ PISA ในช่วงปลายปีได้ด้วย ขณะเดียวกัน ก็จะเร่งแก้ไขปัญหาการอ่านออกเขียนได้โดยเฉพาะเด็กระดับประถมต้องอ่านให้ได้ อีกเรื่องที่สำคัญจะเร่งเดินหน้าแก้ปัญหาจัดการศึกษาในเขตพื้นที่พิเศษ เขตพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ห่างไกลให้ได้รับการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและการพัฒนาประเทศ
2.การพัฒนาครูและผู้บริหารและปฏิรูปการเรียนรู้ โดยตั้งเป้าจะใช้เวลาในช่วงปิดภาคเรียนจัดอบรมครูและปลายปีจะเป็นการสอบบรรจุผู้บริหาร อาทิ รองผู้อำนวยการ/ผอ.โรงเรียนใน รองผอ./ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่ง สพฐ. เน้นให้การเข้าสู่ตำแหน่งเป็นไปอย่างยุติธรรมไม่มีปัญหาการโกง และ 3. การเตรียมการปฏิรูปการศึกษา ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปของ ศธ. ที่มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และส่วนที่ค่อนข้างชัดเจนคือ การปฏิรูปโครงสร้างของ ศธ. ที่เวลานี้ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ศึกษาและเสนอขอแยกออกจาก ศธ. แต่ในส่วน สพฐ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานปลัด ศธ. รมว.ศึกษาฯ ก็ได้ให้ดูการปรับโครงสร้างภายใน ขณะเดียวกัน ในปี 2558 สพฐ. เตรียมปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 ด้วย
“ในเรื่องการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2558 ได้เน้นย้ำให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติการรับนักเรียนที่ สพฐ. ได้กำหนดไว้ อาทิ ตั้งคณะกรรมการระดับเขตพื้นที่ฯ คณะกรรมการออกข้อสอบ ฯลฯ โดยขอให้ดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างโปร่งใสที่สุดและสามารถตอบคำถามได้ ต้องไม่ให้มีปัญหาร้องเรียน ที่สำคัญ ต้องไม่มีการเรียกรับเงิน โดยขอให้ ผอ.กลุ่มส่งเสริมฯ คอยให้คำแนะนำโรงเรียน รวมถึงดูแลและทำความเข้าใจกับโรงเรียนและผู้ปกครอง ยืนยันว่า สพฐ. ที่มีเรียนเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคน ขณะเดียวกัน ยังมีโรงเรียนเอกชนและอาชีวศึกษารองรับด้วย”นายกมล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่