กรมอนามัยชวนคนไทยบอกรักครอบครัว เพื่อน วันวาเลนไทน์ผ่านการกอด ชี้ช่วยกระตุ้นการทำงานฮีโมโกลบิน ร่างกายสดชื่น มีชีวิตชีวา เพิ่มสารความสุข ลดสารก่อความเครียด กอดเด็กช่วยกระตุ้นพัฒนาการและอีคิว กอดคนแก่ช่วยเติมเต็มความอ้างว้าง

วันนี้ (3 ก.พ.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า วันวาเลนไทน์ปีนี้ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ไม่อยากให้มองแต่เพียงเรื่องความรักเชิงหนุ่มสาว แต่อยากให้ทุกคนหันมาสร้างความรักให้เกิดขึ้นระหว่างคนในครอบครัว ระหว่างเพื่อน และระหว่างมนุษย์ด้วยกัน พร้อมทั้งบอกรักด้วยการกอดสัมผัสที่มีความพิเศษอย่างมาก ซึ่งคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่า กอดวันละครั้งทำให้ห่างไกลจากการพบแพทย์ เช่นเดียวกับ เวอร์จิเนีย ซาเทียร์ นักจิตวิทยาครอบครัวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ชาวแคนาดา ที่พบว่าคนเราต้องการการกอดวันละ 4 ครั้ง เพื่อการดำรงชีวิต วันละ 8 ครั้ง เพื่อการดำเนินชีวิต และ 12 ครั้ง เพื่อจิตใจและการเจริญเติบโตของร่างกาย และในต่างประเทศมีการวิจัยพบว่าการกอดสามารถเยียวยาผู้ป่วยได้ นอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีการและยาที่มีประสิทธิภาพแล้ว การกอดเป็นการถ่ายทอดความรัก กำลังใจ ความอบอุ่น ความห่วงใยไปสู่ผู้ป่วย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้นและมีกำลังใจสูงขึ้น
นพ.พรเทพ กล่าวว่า มีผลการศึกษาวิจัยของต่างประเทศระบุว่า บุคคลที่ได้รับการกอด หรือกอดผู้อื่น จะทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของฮีโมโกลบิน ทำให้การลำเลียงของออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างทั่วถึงทำให้สดชื่น มีชีวิตชีวา และยังเป็นการกระตุ้นสัมผัสที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อร่างกายและจิตใจ จะช่วยเพิ่มระดับของฮอร์โมนออกซิทอกซิน (oxytocin) ที่ช่วยให้ผู้ถูกกอดรู้สึกอบอุ่นและเป็นสุข ลดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิด ความสุข ความพึงพอใจ ความปีติยินดี และความกระฉับกระเฉงมากขึ้น ก่อให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุขตัวอื่นๆ อีก เช่น เอนโดรฟิน (endorphin) และเซโรโทนิน (serotonin) มีส่วนช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ และระบบภูมิต้านทานในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น กระตุ้นการทำงานของฮีโมโกลบิน ร่างกายจะกระปรี้กระเปร่าและแข็งแรง สุขภาพดีขึ้น ช่วยรักษาภาวะซึมเศร้า ลดความเครียด ในเด็กทารกมีงานวิจัยพบว่าการกอดมีส่วนช่วยกระตุ้นและเพิ่มอีคิวให้กับลูก โดยเฉพาะเด็กทารก การอุ้มกอดขณะให้นมช่วยเพิ่มความอบอุ่นและสานสัมพันธ์ความรักได้อย่างมาก
“การกอดไม่ได้จำกัดขอบเขตเพียงกับเด็ก หรือระหว่างหนุ่มสาวเท่านั้น แต่ผู้สูงอายุก็ต้องการการโอบกอดด้วยความรักจากคนใกล้ชิด เพราะการกอดในผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเติมความรู้สึกอ้างว้างภายในจิตใจได้เป็นอย่างดี งานวิจัยจากสหรัฐอเมริการะบุว่า การกอดทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพดีขึ้น มีความกระตือรือร้น และความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ บรรเทาความเจ็บป่วย ซึมเศร้า ความวิตกกังวล ทำให้ผู้สูงอายุต้องการที่จะมีชีวิตอยู่และรู้สึกว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 ก.พ.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า วันวาเลนไทน์ปีนี้ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ไม่อยากให้มองแต่เพียงเรื่องความรักเชิงหนุ่มสาว แต่อยากให้ทุกคนหันมาสร้างความรักให้เกิดขึ้นระหว่างคนในครอบครัว ระหว่างเพื่อน และระหว่างมนุษย์ด้วยกัน พร้อมทั้งบอกรักด้วยการกอดสัมผัสที่มีความพิเศษอย่างมาก ซึ่งคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่า กอดวันละครั้งทำให้ห่างไกลจากการพบแพทย์ เช่นเดียวกับ เวอร์จิเนีย ซาเทียร์ นักจิตวิทยาครอบครัวที่มีชื่อเสียงระดับโลก ชาวแคนาดา ที่พบว่าคนเราต้องการการกอดวันละ 4 ครั้ง เพื่อการดำรงชีวิต วันละ 8 ครั้ง เพื่อการดำเนินชีวิต และ 12 ครั้ง เพื่อจิตใจและการเจริญเติบโตของร่างกาย และในต่างประเทศมีการวิจัยพบว่าการกอดสามารถเยียวยาผู้ป่วยได้ นอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีการและยาที่มีประสิทธิภาพแล้ว การกอดเป็นการถ่ายทอดความรัก กำลังใจ ความอบอุ่น ความห่วงใยไปสู่ผู้ป่วย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้นและมีกำลังใจสูงขึ้น
นพ.พรเทพ กล่าวว่า มีผลการศึกษาวิจัยของต่างประเทศระบุว่า บุคคลที่ได้รับการกอด หรือกอดผู้อื่น จะทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของฮีโมโกลบิน ทำให้การลำเลียงของออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ให้ทำงานได้อย่างทั่วถึงทำให้สดชื่น มีชีวิตชีวา และยังเป็นการกระตุ้นสัมผัสที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อร่างกายและจิตใจ จะช่วยเพิ่มระดับของฮอร์โมนออกซิทอกซิน (oxytocin) ที่ช่วยให้ผู้ถูกกอดรู้สึกอบอุ่นและเป็นสุข ลดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิด ความสุข ความพึงพอใจ ความปีติยินดี และความกระฉับกระเฉงมากขึ้น ก่อให้เกิดการหลั่งสารแห่งความสุขตัวอื่นๆ อีก เช่น เอนโดรฟิน (endorphin) และเซโรโทนิน (serotonin) มีส่วนช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ และระบบภูมิต้านทานในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น กระตุ้นการทำงานของฮีโมโกลบิน ร่างกายจะกระปรี้กระเปร่าและแข็งแรง สุขภาพดีขึ้น ช่วยรักษาภาวะซึมเศร้า ลดความเครียด ในเด็กทารกมีงานวิจัยพบว่าการกอดมีส่วนช่วยกระตุ้นและเพิ่มอีคิวให้กับลูก โดยเฉพาะเด็กทารก การอุ้มกอดขณะให้นมช่วยเพิ่มความอบอุ่นและสานสัมพันธ์ความรักได้อย่างมาก
“การกอดไม่ได้จำกัดขอบเขตเพียงกับเด็ก หรือระหว่างหนุ่มสาวเท่านั้น แต่ผู้สูงอายุก็ต้องการการโอบกอดด้วยความรักจากคนใกล้ชิด เพราะการกอดในผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเติมความรู้สึกอ้างว้างภายในจิตใจได้เป็นอย่างดี งานวิจัยจากสหรัฐอเมริการะบุว่า การกอดทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพดีขึ้น มีความกระตือรือร้น และความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ บรรเทาความเจ็บป่วย ซึมเศร้า ความวิตกกังวล ทำให้ผู้สูงอายุต้องการที่จะมีชีวิตอยู่และรู้สึกว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่