ก.แรงงาน โต้ แรงงานไทยในอิสราเอลติดยาหนักกว่า 1.5 หมื่นคน เผยบันทึกล่าสุดพบแค่ 63 คน รับโทษตามกฎหมายแล้ว
วันนี้ (23 ธ.ค.) นายนพดล กรรณิกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลที่ว่าแรงงานไทยในอิสราเอลกว่า 15,000 คน ติดยาเสพติดซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 50 ของคนไทยที่ทำงานในอิสราเอลทั้งหมดประมาณ 26,500 คน ได้สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ประเทศไทยและกระทรวงแรงงาน แต่อีกด้านหนึ่งพบว่า ปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานไทยในอิสราเอลมีน้อยมากและส่วนใหญ่ส่งเงินกลับบ้านทุกเดือนโดยบันทึกอย่างเป็นทางการที่มีการทำขึ้นเกี่ยวกับแรงงานไทยในอิสราเอลระบุว่า คนไทยที่ถูกจับกุม แยกเป็นกรณียาเสพติด ระหว่างปี 54 ถึง ล่าสุด 10 พ.ย. 57 มี 63 คน ปัจจุบันรับโทษ 10 คน ในจำนวนนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคดี 7 คน ใน 10 คนนี้ มีโทษสูงสุดจำคุก 3 ปี 8 เดือน และพ้นโทษถูกเนรเทศไปแล้ว 46 คน
ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน กล่าวต่อว่า ขั้นตอนการส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังปี พ.ศ. 2552 ที่เคยจับกุมยาเสพติดได้ 63,000 เม็ด และมีการเรียกค่าหัวคิวไปทำงานจำนวน 3 - 4 แสนบาท แต่ตอนนี้การจัดแรงงานไทยไปอิสราเอลมีการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงานกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration, IOM) เป็นโครงการที่สหประชาชาติสนับสนุน องค์กรนี้ทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลครอบคลุมกว่า 150 ประเทศ มีหน้าที่คัดกรองแรงงานไทยไปอิสราเอล ขจัดค่าหัวคิวในกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่แรงงานไทยปัจจุบันจ่ายไม่เกิน 7 หมื่นบาท อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กระทรวงแรงงานกำลังทำงานกันอย่างใกล้ชิดกับสำนักงาน ป.ป.ส. มากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในทางลึก แก้ปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานไทยให้หมดไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 ธ.ค.) นายนพดล กรรณิกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลที่ว่าแรงงานไทยในอิสราเอลกว่า 15,000 คน ติดยาเสพติดซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 50 ของคนไทยที่ทำงานในอิสราเอลทั้งหมดประมาณ 26,500 คน ได้สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ประเทศไทยและกระทรวงแรงงาน แต่อีกด้านหนึ่งพบว่า ปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานไทยในอิสราเอลมีน้อยมากและส่วนใหญ่ส่งเงินกลับบ้านทุกเดือนโดยบันทึกอย่างเป็นทางการที่มีการทำขึ้นเกี่ยวกับแรงงานไทยในอิสราเอลระบุว่า คนไทยที่ถูกจับกุม แยกเป็นกรณียาเสพติด ระหว่างปี 54 ถึง ล่าสุด 10 พ.ย. 57 มี 63 คน ปัจจุบันรับโทษ 10 คน ในจำนวนนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคดี 7 คน ใน 10 คนนี้ มีโทษสูงสุดจำคุก 3 ปี 8 เดือน และพ้นโทษถูกเนรเทศไปแล้ว 46 คน
ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน กล่าวต่อว่า ขั้นตอนการส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังปี พ.ศ. 2552 ที่เคยจับกุมยาเสพติดได้ 63,000 เม็ด และมีการเรียกค่าหัวคิวไปทำงานจำนวน 3 - 4 แสนบาท แต่ตอนนี้การจัดแรงงานไทยไปอิสราเอลมีการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงานกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration, IOM) เป็นโครงการที่สหประชาชาติสนับสนุน องค์กรนี้ทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลครอบคลุมกว่า 150 ประเทศ มีหน้าที่คัดกรองแรงงานไทยไปอิสราเอล ขจัดค่าหัวคิวในกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่แรงงานไทยปัจจุบันจ่ายไม่เกิน 7 หมื่นบาท อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กระทรวงแรงงานกำลังทำงานกันอย่างใกล้ชิดกับสำนักงาน ป.ป.ส. มากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในทางลึก แก้ปัญหายาเสพติดในกลุ่มแรงงานไทยให้หมดไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่