(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Iraq ‘emergency’ call as Mosul falls
By RFE/RL’s Radio Free Iraq
11/06/2014
นายกรัฐมนตรี นูริ อัล-มาลิกี ของอิรัก เรียกร้องต้องการให้ประกาศใช้ภาวะฉุกเฉิน ภายหลังพวกกองกำลังติดอาวุธที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับอัลกออิดะห์ ได้เข้าควบคุมเมืองโมซุล นครขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของอิรักเอาไว้ โดยที่มีรายงานด้วยว่า การบุกโมซุลเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีครั้งใหญ่ซึ่งนำไปสู่การยึดครองได้ทั่วทั้งจังหวัดนิเนเวห์ทีเดียว สถานการณ์เช่นนี้กำลังทำให้ประชาชนจำนวนหลายแสนคนอพยพลี้ภัยออกจากโมซุล ขณะเดียวกันนั้นเอง ที่จังหวัดอันบาร์ซึ่งอยู่ถัดลงมาทางใต้ ก็มีผู้คนจำนวนมากกำลังหลบหนีเหตุการณ์ความไม่สงบ เป็นการเพิ่มเติมผู้อพยพร่วมๆ ครึ่งล้านคนที่ได้ละทิ้งบ้านเรือนหนีภัยออกมาก่อนแล้ว สืบเนื่องจากการสู้รบดุเดือดต่อเนื่องที่นั่นก่อนหน้านี้
นายกรัฐมนตรี นูริ อัล-มาลิกี (Nuri al-Maliki) ของอิรัก กำลังเรียกร้องขอให้รัฐสภาประกาศใช้ภาวะฉุกเฉิน หลังจากที่กองกำลังอาวุธซึ่งโยงใยเกี่ยวข้องกับอัลกออิดะห์ ได้เข้าควบคุมหนึ่งในเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเอาไว้
สถานีโทรทัศน์ของทางการรายงานว่า รัฐสภามีกำหนดเปิดการประชุมในวันพฤหัสบดี (12 มิ.ย.) นี้ เพื่อพิจารณาคำขอดังกล่าว
พวกนักรบของกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อกันว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่กับกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า “รัฐอิสลามในอิรักและเลแวนต์” (Islamic State in Iraq and the Levant ใช้อักษรย่อว่า ISIL) เหล่านี้ ได้เข้ายึดอาคารสำคัญๆ จำนวนมากในเมืองโมซุล (Mosul) ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของอิรักเอาไว้ได้ ในคืนวันจันทร์ (9 มิ.ย.) ที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่หลายๆ รายระบุว่า พวกนักรบเหล่านี้จำนวนหลายสิบคนซึ่งมีอาวุธหนักด้วย ได้เข้ายึดศูนย์ราชการของเมืองโมซุล ที่เป็นเมืองเอกของจังหวัดนิเนเวห์ (Nineveh) รวมทั้งสถานีตำรวจแห่งต่างๆ และบุกเข้าไปในท่าอากาศยาน ตลอดจนเข้าไปในเรือนจำและปลดปล่อยพวกนักโทษจำนวนมาก
[ตามรายงานของ อัล ญะซีเราะห์ ตลอดจนสำนักข่าวอื่นๆ นักรบของกองกำลังอาวุธที่เชื่อกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม “รัฐอิสลามในอิรักและเลแวนต์” สามารถยึดครองได้ทั่วทั้งจังหวัดนิเนเวห์แล้ว]
อาทิล อัล-นูไจฟี (Athil al-Nujaifi) ผู้ว่าการของจังหวัดนิเนเวห์ กล่าวว่า กองทหารและกำลังตำรวจจำนวนมากพากันทิ้งที่มั่นหลบหนีไป
ขณะที่ สำนักข่าวหลายสำนักได้อ้างอิงคำบอกเล่าของพวกชาวเมืองซึ่งระบุว่า ตามอาคารต่างๆ ในโมซุล เวลานี้มีการประดับธงสีดำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่โยงใยกับนักรบญิฮัด นอกจากนั้น พวกหัวรุนแรงทางศาสนาเหล่านี้ยังประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงว่า พวกเขาบุกเข้ามาก็เพื่อ “ปลดปล่อย” นครที่มีประชากรร่วมๆ 2 ล้านคนแห่งนี้
ในวันจันทร์ (9 มิ.ย.) ก่อนหน้าที่นักรบพวกนี้จะเข้ายึดโมซุลได้ไม่กี่ชั่วโมง ผู้ว่าการนูไจฟี เพิ่งออกมาแถลงทางโทรทัศน์ เรียกร้องวิงวอนให้ชาวเมืองช่วยกันสู้รบกับประดากลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงที่โยงใยกับอัลกออิดะห์เหล่านี้ ซึ่งกำลังหวนกลับมายึดครองพื้นที่ในอิรักอีกครั้งหนึ่ง
ตัวผู้ว่าการนูไจฟี สามารถหลบหนีออกมาจากเมืองโมซุลโดยไม่ได้รับอันตรายอะไร ก่อนที่ศูนย์ราชการของจังหวัดนิเนเวห์ จะถูกตีแตก
ทางด้านพี่ชายของเขา คือ อุซามะห์ อัล-นูไจฟี (Osama al-Nujaifi) ประธานรัฐสภาอิรัก ได้เรียกร้องรัฐบาลอิรักและรัฐบาลเขตกึ่งปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน (Kurdistan) จัดส่งกำลังหนุนไปช่วยเหลือโมซุล เขาแถลงด้วยว่าเขาได้ร้องขอต่อเอกอัครราชทูตสหรัฐฯให้เข้ามาช่วยเหลือเช่นกัน
“เมื่อการสู้รบดำเนินไปอย่างดุเดือดรุนแรงภายในเขตเมืองโมซุล กองกำลัง (ทหารตำรวจของทางการอิรัก) ได้ทิ้งอาวุธของพวกเขา และพวกผู้บังคับบัญชาก็พากันหลบหนีไป โดยทิ้งอาวุธยุทโธปกรณ์และรถหุ้มเกราะเอาไว้ –ที่มั่นของพวกเขาจึงตกเป็นเหยื่ออันโอชะของพวกผู้ก่อการร้าย แม้กระทั่งสนามบินเมืองโมซุลด้วย” ประธานรัฐสภานูไจฟี แถลงเช่นนี้ในกรุงแบกแดด
“ทั้งเครื่องบินและหน่วยบังคับการกองบัญชาการต่างๆ – ทั้งหมดต่างตกอยู่ในกำมือของข้าศึก นอกเหนือไปจากพวกคลังอาวุธ ยิ่งกว่านั้นพวกคุกพวกเรือนจำก็ถูกจู่โจมและเหล่าอาชญากรทั้งหลายได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ว่าจะใช้เกณฑ์อะไรมาวัดก็ต้องบอกว่ามันคือความวิบัติหายนะ”
**ผู้คนเรือนหมื่นเรือนแสนหลบลี้หนีภัยสงคราม**
มาซูด บาร์ซานี (Masud Barzani) ประธานของเขตกึ่งปกครองตนเอง “เคอร์ดิสถาน” ซึ่งก็ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของอิรักและติดประชิดกับจังหวัดนิเนเวห์ ได้ออกมาขอร้องให้องค์การระหว่างประเทศทั้งหลายเร่งจัดหาจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ส่วน สเตฟานี ดูจาร์ริก (Stephane Dujarric) โฆษกของ บัน คีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ออกมาแถลงว่า ตัวเลขาธิการใหญ่ยูเอ็น “มีความกังวลเป็นอย่างยิ่ง” เกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงปลอดภัยในโมซุล ที่กำลังเสื่อมทรามลงอย่างร้ายแรง
ขณะที่ เจน ซากี (Jen Psaki) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ก็แสดงความวิตกกังวลเช่นกัน ต่อสิ่งที่เธอเรียกว่าเป็น “สถานการณ์อันเลวร้ายอย่างที่สุด” ในโมซุล
ทางด้านบรรดาผู้สื่อข่าวให้แก่ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี (Radio Free Europe/Radio Liberty ใช้อักษรย่อว่า RFE/RL) ในอิรัก ต่างรายงานว่า การสู้รบที่เกิดขึ้นคราวนี้ ทำให้ประชาชนจำนวนนับหมื่นนับแสนคนต้องหลบหนีออกจาบ้านเรือน ไปลี้ภัยยังพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของจังหวัด หรือกระทั่งไปไกลกว่านั้น
ขณะที่ผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษกให้สหประชาชาติผู้หนึ่ง ได้อ้างอิงข้อมูลจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration) ซึ่งให้ตัวเลขประมาณการว่า มีประชาชนราว 500,000 คนทีเดียว หลบหนีออกจากเมืองโมซุล
“เราตื่นขึ้นมาในตอนเช้าวันนี้ แล้วก็พบว่าตามท้องถนนต่างๆ ว่างเปล่าไม่มีกองกำลังรักษาความมั่นคงเลย ไม่ว่าตามด่านตรวจต่างๆ หรือตามหน่วยทหาร พวกเขาต่างพากันหนีไปหมดแล้ว ตอนนี้ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นหรอก ถนนทุกๆ สายตอนนี้เปิดให้รถวิ่งไปมาได้ทั้งหมดแล้ว เมื่อเช้านี้มีการปะทะกันอยู่บ้าง แต่เวลานี้ไม่มีอะไรแล้ว” ชาวเมืองโมซุลผู้หนึ่งบอกกับ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี
“[กลุ่มติดอาวุธเหล่านี้] เข้ามา [ในเมืองโมซุล] แล้ว แต่พวกเขายังไม่ได้ทำอะไร พวกเขาขอให้ประชาชนอย่าได้หวาดกลัว เพราะพวกเขาไม่ได้มาเพื่อทำร้ายประชาชน” เขาเล่าต่อ
“แต่ประชาชนของเราก็ยังคงกลัวอยู่ดี จำนวนมากได้หลบหนีออกจากบ้านของพวกเขา จากนั้นก็ย้อนกลับมาอีก เพราะ [เขตกึ่งปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของอิรักติดๆ กันกับจังหวัดนิเนเวห์] ไม่ยอมให้พวกเขาเข้าไป เวลานี้บรรยากาศสงบลงแล้ว ตามท้องถนนมีรถราวิ่ง ทหารกับตำรวจหนีหายไปหมด และ [กลุ่มติดอาวุธเหล่านี้] กำลังควบคุมเมืองโมซุลอยู่ในตอนนี้”
ในเวลาเดียวกันนี้ สถานกงสุลตุรกีในเมืองโมซุล แถลงยืนยันรายงานข่าวที่ว่า มีคนขับรถบรรทุกชาวตุรกีจำนวน 28 คนซึ่งกำลังลำเลียงน้ำมันดีเซลเข้าสู่เมืองโมซุล ได้ถูกลับพาตัวหายไป
โมซุล ซึ่งเคยเป็นที่มั่นสำคัญของอัลกออิดะห์ ตั้งอยู่ทางจากกรุงแบกแดดไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 360 กิโลเมตร
ระยะหลังๆ มานี้ พวกนักรบของกลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและดินแดนเลเวนต์ (ISIL) ตลอดจนกองกำลังพันธมิตรของพวกเขา ได้ดำเนินการโจมตีหลายต่อหลายครั้งทั่วทั้งภาคตะวันตกและภาคเหนือของอิรัก
กองกำลังความมั่นคงของทางการกำลังพยายามที่จะผลักดันขับไล่กลุ่มนักรบ ISIL ให้ออกไปจากจังหวัดอันบาร์ (Anbar) ที่อยู่ทางภาคตะวันตกของอิรัก โดยที่กองกำลังอาวุธก่อความไม่สงบเหล่านี้ กำลังยึดครองพื้นที่หลายๆ ส่วนของเมืองระมาดี (Ramadi) ซึ่งเป็นเมืองเอกของจังหวัดอันบาร์ ตลอดจนพื้นที่จำนวนมากของเมืองฟอลลูจาห์ (Fallujah) ที่อยู่ใกล้เคียงกัน มาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันเสาร์ (7 มิ.ย.) ที่ผ่านมา นักรบของ ISIL ได้เข้าโจมตีวิทยาเขตในเมืองระมาดี ของมหาวิทยาลัยอันบาร์ และเวลานี้ยังคงจับกุมคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเอาไว้เป็นตัวประกันอย่างน้อย 15 คน
มีรายงานด้วยว่า เกิดการปะทะกันอย่างดุเดือดในวันจันทร์ (9 มิ.ย.) ในเมืองฟอลลูจาห์ ตลอดจนเมืองเล็กๆ ชื่อ การ์มา (Garma) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กันและสังกัดอยู่ในจังหวัดอันบาร์เช่นเดียวกัน
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้ออกมาแถลงในวันที่ 7 มิ.ย.ว่า ภายหลังเกิดการสู้รบในอันบาร์มาเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้มีประชาชนจำนวนมากถูกผลักดันให้ต้องหลบหนีละทิ้งบ้านเรือนของตัวเอง โดยที่ในเวลานี้มีจำนวนใกล้ๆ จะถึง 480,000 คนแล้ว
สืบเนื่องจากความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในจังหวัดอันบาร์จึงยังคงไม่มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาของอิรัก ซึ่งตามกำหนดจะต้องจัดขึ้นในวันที่ 30 เมษายน
ปัจจุบัน อิรักกำลังตกอยู่ท่ามกลางความรุนแรงนองเลือดในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปี 2006-07 เป็นต้นมา โดยที่ในระหว่างช่วงปีดังกล่าว มีผู้คนหลายหมื่นคนถูกฆ่าตาย ในความขัดแย้งปะทะสู้รบกันระหว่างชาวชิอะห์ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และชาวสุหนี่ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในอิรัก
สำหรับในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตามตัวเลขของสหประชาชาติ มีผู้คนราว 900 คนถูกสังหารในความรุนแรงซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วทั้งอิรัก
รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ( Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL) ซึ่งเขียนขึ้นโดยอาศัยรายงานข่าวของ เอพี (AP), รอยเตอร์ (Reuters), และ ดีพีเอ (DPA) ด้วย
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง
Iraq ‘emergency’ call as Mosul falls
By RFE/RL’s Radio Free Iraq
11/06/2014
นายกรัฐมนตรี นูริ อัล-มาลิกี ของอิรัก เรียกร้องต้องการให้ประกาศใช้ภาวะฉุกเฉิน ภายหลังพวกกองกำลังติดอาวุธที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับอัลกออิดะห์ ได้เข้าควบคุมเมืองโมซุล นครขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของอิรักเอาไว้ โดยที่มีรายงานด้วยว่า การบุกโมซุลเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีครั้งใหญ่ซึ่งนำไปสู่การยึดครองได้ทั่วทั้งจังหวัดนิเนเวห์ทีเดียว สถานการณ์เช่นนี้กำลังทำให้ประชาชนจำนวนหลายแสนคนอพยพลี้ภัยออกจากโมซุล ขณะเดียวกันนั้นเอง ที่จังหวัดอันบาร์ซึ่งอยู่ถัดลงมาทางใต้ ก็มีผู้คนจำนวนมากกำลังหลบหนีเหตุการณ์ความไม่สงบ เป็นการเพิ่มเติมผู้อพยพร่วมๆ ครึ่งล้านคนที่ได้ละทิ้งบ้านเรือนหนีภัยออกมาก่อนแล้ว สืบเนื่องจากการสู้รบดุเดือดต่อเนื่องที่นั่นก่อนหน้านี้
นายกรัฐมนตรี นูริ อัล-มาลิกี (Nuri al-Maliki) ของอิรัก กำลังเรียกร้องขอให้รัฐสภาประกาศใช้ภาวะฉุกเฉิน หลังจากที่กองกำลังอาวุธซึ่งโยงใยเกี่ยวข้องกับอัลกออิดะห์ ได้เข้าควบคุมหนึ่งในเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเอาไว้
สถานีโทรทัศน์ของทางการรายงานว่า รัฐสภามีกำหนดเปิดการประชุมในวันพฤหัสบดี (12 มิ.ย.) นี้ เพื่อพิจารณาคำขอดังกล่าว
พวกนักรบของกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อกันว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่กับกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า “รัฐอิสลามในอิรักและเลแวนต์” (Islamic State in Iraq and the Levant ใช้อักษรย่อว่า ISIL) เหล่านี้ ได้เข้ายึดอาคารสำคัญๆ จำนวนมากในเมืองโมซุล (Mosul) ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของอิรักเอาไว้ได้ ในคืนวันจันทร์ (9 มิ.ย.) ที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่หลายๆ รายระบุว่า พวกนักรบเหล่านี้จำนวนหลายสิบคนซึ่งมีอาวุธหนักด้วย ได้เข้ายึดศูนย์ราชการของเมืองโมซุล ที่เป็นเมืองเอกของจังหวัดนิเนเวห์ (Nineveh) รวมทั้งสถานีตำรวจแห่งต่างๆ และบุกเข้าไปในท่าอากาศยาน ตลอดจนเข้าไปในเรือนจำและปลดปล่อยพวกนักโทษจำนวนมาก
[ตามรายงานของ อัล ญะซีเราะห์ ตลอดจนสำนักข่าวอื่นๆ นักรบของกองกำลังอาวุธที่เชื่อกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม “รัฐอิสลามในอิรักและเลแวนต์” สามารถยึดครองได้ทั่วทั้งจังหวัดนิเนเวห์แล้ว]
อาทิล อัล-นูไจฟี (Athil al-Nujaifi) ผู้ว่าการของจังหวัดนิเนเวห์ กล่าวว่า กองทหารและกำลังตำรวจจำนวนมากพากันทิ้งที่มั่นหลบหนีไป
ขณะที่ สำนักข่าวหลายสำนักได้อ้างอิงคำบอกเล่าของพวกชาวเมืองซึ่งระบุว่า ตามอาคารต่างๆ ในโมซุล เวลานี้มีการประดับธงสีดำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่โยงใยกับนักรบญิฮัด นอกจากนั้น พวกหัวรุนแรงทางศาสนาเหล่านี้ยังประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงว่า พวกเขาบุกเข้ามาก็เพื่อ “ปลดปล่อย” นครที่มีประชากรร่วมๆ 2 ล้านคนแห่งนี้
ในวันจันทร์ (9 มิ.ย.) ก่อนหน้าที่นักรบพวกนี้จะเข้ายึดโมซุลได้ไม่กี่ชั่วโมง ผู้ว่าการนูไจฟี เพิ่งออกมาแถลงทางโทรทัศน์ เรียกร้องวิงวอนให้ชาวเมืองช่วยกันสู้รบกับประดากลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงที่โยงใยกับอัลกออิดะห์เหล่านี้ ซึ่งกำลังหวนกลับมายึดครองพื้นที่ในอิรักอีกครั้งหนึ่ง
ตัวผู้ว่าการนูไจฟี สามารถหลบหนีออกมาจากเมืองโมซุลโดยไม่ได้รับอันตรายอะไร ก่อนที่ศูนย์ราชการของจังหวัดนิเนเวห์ จะถูกตีแตก
ทางด้านพี่ชายของเขา คือ อุซามะห์ อัล-นูไจฟี (Osama al-Nujaifi) ประธานรัฐสภาอิรัก ได้เรียกร้องรัฐบาลอิรักและรัฐบาลเขตกึ่งปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน (Kurdistan) จัดส่งกำลังหนุนไปช่วยเหลือโมซุล เขาแถลงด้วยว่าเขาได้ร้องขอต่อเอกอัครราชทูตสหรัฐฯให้เข้ามาช่วยเหลือเช่นกัน
“เมื่อการสู้รบดำเนินไปอย่างดุเดือดรุนแรงภายในเขตเมืองโมซุล กองกำลัง (ทหารตำรวจของทางการอิรัก) ได้ทิ้งอาวุธของพวกเขา และพวกผู้บังคับบัญชาก็พากันหลบหนีไป โดยทิ้งอาวุธยุทโธปกรณ์และรถหุ้มเกราะเอาไว้ –ที่มั่นของพวกเขาจึงตกเป็นเหยื่ออันโอชะของพวกผู้ก่อการร้าย แม้กระทั่งสนามบินเมืองโมซุลด้วย” ประธานรัฐสภานูไจฟี แถลงเช่นนี้ในกรุงแบกแดด
“ทั้งเครื่องบินและหน่วยบังคับการกองบัญชาการต่างๆ – ทั้งหมดต่างตกอยู่ในกำมือของข้าศึก นอกเหนือไปจากพวกคลังอาวุธ ยิ่งกว่านั้นพวกคุกพวกเรือนจำก็ถูกจู่โจมและเหล่าอาชญากรทั้งหลายได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ว่าจะใช้เกณฑ์อะไรมาวัดก็ต้องบอกว่ามันคือความวิบัติหายนะ”
**ผู้คนเรือนหมื่นเรือนแสนหลบลี้หนีภัยสงคราม**
มาซูด บาร์ซานี (Masud Barzani) ประธานของเขตกึ่งปกครองตนเอง “เคอร์ดิสถาน” ซึ่งก็ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของอิรักและติดประชิดกับจังหวัดนิเนเวห์ ได้ออกมาขอร้องให้องค์การระหว่างประเทศทั้งหลายเร่งจัดหาจัดส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ส่วน สเตฟานี ดูจาร์ริก (Stephane Dujarric) โฆษกของ บัน คีมุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ออกมาแถลงว่า ตัวเลขาธิการใหญ่ยูเอ็น “มีความกังวลเป็นอย่างยิ่ง” เกี่ยวกับสถานการณ์ความมั่นคงปลอดภัยในโมซุล ที่กำลังเสื่อมทรามลงอย่างร้ายแรง
ขณะที่ เจน ซากี (Jen Psaki) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ก็แสดงความวิตกกังวลเช่นกัน ต่อสิ่งที่เธอเรียกว่าเป็น “สถานการณ์อันเลวร้ายอย่างที่สุด” ในโมซุล
ทางด้านบรรดาผู้สื่อข่าวให้แก่ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี (Radio Free Europe/Radio Liberty ใช้อักษรย่อว่า RFE/RL) ในอิรัก ต่างรายงานว่า การสู้รบที่เกิดขึ้นคราวนี้ ทำให้ประชาชนจำนวนนับหมื่นนับแสนคนต้องหลบหนีออกจาบ้านเรือน ไปลี้ภัยยังพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของจังหวัด หรือกระทั่งไปไกลกว่านั้น
ขณะที่ผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษกให้สหประชาชาติผู้หนึ่ง ได้อ้างอิงข้อมูลจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration) ซึ่งให้ตัวเลขประมาณการว่า มีประชาชนราว 500,000 คนทีเดียว หลบหนีออกจากเมืองโมซุล
“เราตื่นขึ้นมาในตอนเช้าวันนี้ แล้วก็พบว่าตามท้องถนนต่างๆ ว่างเปล่าไม่มีกองกำลังรักษาความมั่นคงเลย ไม่ว่าตามด่านตรวจต่างๆ หรือตามหน่วยทหาร พวกเขาต่างพากันหนีไปหมดแล้ว ตอนนี้ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นหรอก ถนนทุกๆ สายตอนนี้เปิดให้รถวิ่งไปมาได้ทั้งหมดแล้ว เมื่อเช้านี้มีการปะทะกันอยู่บ้าง แต่เวลานี้ไม่มีอะไรแล้ว” ชาวเมืองโมซุลผู้หนึ่งบอกกับ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี
“[กลุ่มติดอาวุธเหล่านี้] เข้ามา [ในเมืองโมซุล] แล้ว แต่พวกเขายังไม่ได้ทำอะไร พวกเขาขอให้ประชาชนอย่าได้หวาดกลัว เพราะพวกเขาไม่ได้มาเพื่อทำร้ายประชาชน” เขาเล่าต่อ
“แต่ประชาชนของเราก็ยังคงกลัวอยู่ดี จำนวนมากได้หลบหนีออกจากบ้านของพวกเขา จากนั้นก็ย้อนกลับมาอีก เพราะ [เขตกึ่งปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของอิรักติดๆ กันกับจังหวัดนิเนเวห์] ไม่ยอมให้พวกเขาเข้าไป เวลานี้บรรยากาศสงบลงแล้ว ตามท้องถนนมีรถราวิ่ง ทหารกับตำรวจหนีหายไปหมด และ [กลุ่มติดอาวุธเหล่านี้] กำลังควบคุมเมืองโมซุลอยู่ในตอนนี้”
ในเวลาเดียวกันนี้ สถานกงสุลตุรกีในเมืองโมซุล แถลงยืนยันรายงานข่าวที่ว่า มีคนขับรถบรรทุกชาวตุรกีจำนวน 28 คนซึ่งกำลังลำเลียงน้ำมันดีเซลเข้าสู่เมืองโมซุล ได้ถูกลับพาตัวหายไป
โมซุล ซึ่งเคยเป็นที่มั่นสำคัญของอัลกออิดะห์ ตั้งอยู่ทางจากกรุงแบกแดดไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 360 กิโลเมตร
ระยะหลังๆ มานี้ พวกนักรบของกลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและดินแดนเลเวนต์ (ISIL) ตลอดจนกองกำลังพันธมิตรของพวกเขา ได้ดำเนินการโจมตีหลายต่อหลายครั้งทั่วทั้งภาคตะวันตกและภาคเหนือของอิรัก
กองกำลังความมั่นคงของทางการกำลังพยายามที่จะผลักดันขับไล่กลุ่มนักรบ ISIL ให้ออกไปจากจังหวัดอันบาร์ (Anbar) ที่อยู่ทางภาคตะวันตกของอิรัก โดยที่กองกำลังอาวุธก่อความไม่สงบเหล่านี้ กำลังยึดครองพื้นที่หลายๆ ส่วนของเมืองระมาดี (Ramadi) ซึ่งเป็นเมืองเอกของจังหวัดอันบาร์ ตลอดจนพื้นที่จำนวนมากของเมืองฟอลลูจาห์ (Fallujah) ที่อยู่ใกล้เคียงกัน มาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันเสาร์ (7 มิ.ย.) ที่ผ่านมา นักรบของ ISIL ได้เข้าโจมตีวิทยาเขตในเมืองระมาดี ของมหาวิทยาลัยอันบาร์ และเวลานี้ยังคงจับกุมคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเอาไว้เป็นตัวประกันอย่างน้อย 15 คน
มีรายงานด้วยว่า เกิดการปะทะกันอย่างดุเดือดในวันจันทร์ (9 มิ.ย.) ในเมืองฟอลลูจาห์ ตลอดจนเมืองเล็กๆ ชื่อ การ์มา (Garma) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กันและสังกัดอยู่ในจังหวัดอันบาร์เช่นเดียวกัน
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้ออกมาแถลงในวันที่ 7 มิ.ย.ว่า ภายหลังเกิดการสู้รบในอันบาร์มาเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้มีประชาชนจำนวนมากถูกผลักดันให้ต้องหลบหนีละทิ้งบ้านเรือนของตัวเอง โดยที่ในเวลานี้มีจำนวนใกล้ๆ จะถึง 480,000 คนแล้ว
สืบเนื่องจากความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในจังหวัดอันบาร์จึงยังคงไม่มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาของอิรัก ซึ่งตามกำหนดจะต้องจัดขึ้นในวันที่ 30 เมษายน
ปัจจุบัน อิรักกำลังตกอยู่ท่ามกลางความรุนแรงนองเลือดในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปี 2006-07 เป็นต้นมา โดยที่ในระหว่างช่วงปีดังกล่าว มีผู้คนหลายหมื่นคนถูกฆ่าตาย ในความขัดแย้งปะทะสู้รบกันระหว่างชาวชิอะห์ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และชาวสุหนี่ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในอิรัก
สำหรับในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตามตัวเลขของสหประชาชาติ มีผู้คนราว 900 คนถูกสังหารในความรุนแรงซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วทั้งอิรัก
รายงานนี้มาจาก เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ( Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL) ซึ่งเขียนขึ้นโดยอาศัยรายงานข่าวของ เอพี (AP), รอยเตอร์ (Reuters), และ ดีพีเอ (DPA) ด้วย
เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี เป็นกิจการกระจายเสียงที่ได้รับเงินทุนจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อเสนอข่าวสารข้อมูลและบทวิเคราะห์ ไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก, เอเชียกลาง, และตะวันออกกลาง