xs
xsm
sm
md
lg

มาเลย์จัดหารือ 3 ฝ่ายไทย-อินโดฯ วันพุธนี้แก้ปัญหาโรฮิงญา ไม่มีพม่าเข้าร่วม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>หญิงชาวมุสลิมโรฮิงยาที่ใช้ผ้าปิดหน้า  เข้าแถวเพื่อรับอาหารเช้าที่ค่ายพักพิงชั่วคราวแห่งหนึ่ง ในเมืองลาปัง (Lapang) จ.อาเจ๊ (Acheh) อินโดนีเซีย ในภาพวันศุกร์ 15 พ.ค.2558 ชาวบังกลาเทศกับชาวโรฮิงยาจากพม่าเกือบ 2,500 คน ไปถึงฝั่งอินโดนีเซียและมาเลเซียในช่วงข้ามสัปดาห์มานี้ อีก ราว 5,000 ยังอยู่ในทะเล บนเรือที่ผุกร่อนและอาหารร่อยหรอ มาเลเซียนัดรัฐมนตรีต่างปรเทศไทยกับอินโดนีเซียไปหารือกัน ในวันพุธ 19 พ.ค.นี้ โดยไม่มีพม่าเข้าร่วมด้วย. -- Associated Press/Binsar Bakkara.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - มาเลเซียกล่าววันจันทร์นี้ว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของตนกำลังจะพบกับผู้ร่วมตำแหน่งจากไทย และอินโดนีเซีย ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ วันพุธนี้ เพื่อหารือการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ หลังจากผู้แสวงหาการลี้ภัยที่สิ้นหวังจำนวนหลายพันคนไปถึงฝั่งของมาเลเซียในช่วงหลายสัปดาห์มานี้

แต่รัฐบาลประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างแสดงให้เห็นท่าทีเพียงน้อยนิด เกี่ยวกับร่วมกันสนองตอบผู้อพยพชาวบังกลาเทศ กับชาวโรงฮิงญาจากพม่า ที่มากันเต็มลำเรือเข้าสู่น่านน้ำ ผู้อพยพราว 2,500 คน ได้ขึ้นบกที่มาเลเซีย และอินโดนีเซียในช่วงกว่าสัปดาห์มานี้ อีกราว 5,000 คน ยังคงลอยลำอยู่ในทะเล บนเรือเก่าที่โคลงเคลง และง่อนแง่น กับอาหาร และน้ำดื่มที่ร่อยหรอลง

มาเลเซีย อินโดนีเซีย กับไทย ต่างผลักเรือกลับออกไป หรือลากจูงเรือที่เต็มไปด้วยผู้อพยพออกไปให้ห่างไกลจากฝั่งของตน อันเป็นสิ่งองค์การเพื่อผู้อพยพระหว่างประเทศ (International Organization for Migration) เรียกว่า “การเล่นปิงปองในทะเลด้วยชีวิตมนุษย์”

การพบปะระหว่าง รมว.ต่างประเทศมาเลเซีย กับอินโดนีเซีย แต่เดิมกำหนดจะมีขึ้นในวันจันทร์นี้ ได้เลื่อนออกไปเป็นวันพุธ เพื่อให้ รมว.ต่างประเทศไทย ได้เข้าร่วมด้วย เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย กล่าว

การพบปะหารือจะเน้นไปที่การค้ามนุษย์ กับการลักพาตัวผู้คนในภูมิภาค กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียร ะบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

“มาเลเซียจะแสวงหาวิธีแก้ปัญหาในเรื่องนี้ ผ่าน.. ความพยายามร่วมกัน และประสานกันระหว่างประเทศที่เป็นต้นตอ ทางผ่าน และปลายทาง” คำแถลงระบุ ส่วนเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศไทย และอินโดนีเซียยังไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ ในขณะนี้ เกี่ยวกับสิ่งที่คาดหวังจะได้ออกมาจากการพบหารือ

หน่วยงานผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ มีชาวบังกลาเทศ กับชาวโรฮิงญาราว 25,000 คน เดินทางโดยเรือของพวกผู้ลักลอบขนคน เป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้น 2 เท่า จากช่วงเดียวกันของปี 2557

การปราบปรามกวาดล้างของรัฐบาลทหารของไทย ได้ทำให้การลักลอบเข้าสู่ดินแดนมาเลเซีย ซึ่งมีเศษฐกิจร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทางบกนั้นเสี่ยงเกินไปสำหรับเหล่าอาชญากรที่หากินกับโรฮิงญาผู้หนีการกดขี่ปราบปรามจากพม่า ที่มีชาวพุทธเป็นประชากรส่วนใหญ่ กับชาวบังกลาเทศที่แสวงหาความเป็นอยู่ที่ดีกว่าในต่างแดน

มาเลเซีย ซึ่งกล่าวว่า ตนเองได้รับเอาผู้อพยพผิดกฎหมายจากพม่า 120,000 คน ไว้ในขณะนี้ ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จะไม่ยอมรับอีกแล้ว และจะผลักไสเรือบรรทุกผู้อพยพออกไป

อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นประเทศประธานกลุ่มสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในปัจจุบัน มาเลเซียกำลังเป็นผู้นำดำเนินความพยายามทางการทูต ต่อวิกฤตการณ์ในภูมิภาค

“หากจำเป็นเราก็จะเรียกประชุมฉุกเฉิน (อาเซียน)” นายอานิฟาห์ อามาน รมว.ต่างประเทศมาเลเซีย กล่าว หลังพบหารือกับคู่ตำแหน่งจากบังกลาเทศเมื่อวันอาทิตย์

“ในฐานะประธานกลุ่มอาเซียน มาเลเซียจะหารือเรื่องนี้ในเชิงลึก และหวังว่าพม่าจะเข้าร่วมหาทางแก้ไขด้วยกัน ก่อนที่ปัญหานี้จะถูกนำไปสู่ปัญหาระดับระหว่างประเทศ” นายอามาน กล่าว
.
<bR><FONT color=#000033>ผู้อพยพจากพม่าที่ได้รับการช่วยเหลือ อุ้มเด็กเล็กนำไปรับการรักษาจากแพทย์ ที่ จ.อาเจ๊ อินโดนีเซีย ในวันจันทร์ 18 พ.ค.นี้  หลายสัปดาห์มานี้ ชาวโรงฮิงยากับชาวบังกลาเทศเกือบ 3,000 คน ว่ายน้ำเข้าฝั่ง หรือ ได้รับการช่วยเหลือในน่านน้ำของอินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ราวครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าวไปขึ้นบกในอินโดนีเซีย. --  Agence France-Presse/Sutanta Aditya.</b>
2
<bR><FONT color=#000033>ทีมแพทย์จากองค์การผู้อพยพระหว่างประเทศ (International Organization for Migration) ให้วิตามินเอแห่เด็กชาวโรฮิงยาจากพม่าคนหนึ่ง ที่สถานกักกันชั่วคราว บริเวณท่าเรือประมงกัวลาลังสะ (Kuala Langsa) ใน จ.อาเจ๊ ในวันจันทร์ 18 พ.ค.นี้ ข้ามสัปดาห์มานี้ มีชาวโรฮิงยาจากพม่า กับชาวบังกลาเทศกว่า 1,000 คน ไปขึ้นบกที่นี่. --  Agence France-Presse/Romeo Gacad. </b>
3
<bR><FONT color=#000033>ผู้อพยพหญิงชาวโรฮิงยา ที่ไปถึงอินโดนีเซียโดยทางเรือ เดินไปยังที่พักพิงที่ดีกว่า ภายในบริเวณแหล่งพักพิงชั่วคราว ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ใน จ.อาเจ๊ ของอินโดนีเซีย ในภาพวันจันทร์ 18 พ.ค.นี้ องค์การสหประชาชาติได้เรียกร้องไปยังประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มิให้ผลักดันผู้อพยพเหล่านี้ออกจากฝั่ง. -- Reuters/Beawiharta. </b>
4
องค์การสหประชาชาติ กล่าวสัปดาห์ที่แล้วว่า การอพยพข้ามอ่าวเบงกอล บนความเป็นความตายเช่นนี้จะยังดำเนินต่อไป จนกว่าพม่าจะยุติการเลือกปฏิบัติ

ไทยกล่าวสัปดาห์ที่แล้วว่า จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมในกรุงเทพฯ วันที่ 29 พ.ค. เพื่อให้ 15 ประเทศ ได้ร่วมกันหารือปัญหาเร่งด่วนนี้ การปราบปรามของไทยเร็วๆ นี้ได้มีขึ้นหลังจากเมื่อปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้ลดอันดับไทย กับมาเซียลงอีก ในบัญชีประเทศอันเป็นศูนย์กลางการค้ามนุษย์ที่เลวร้ายที่สุด

นายกรัฐมนตรีไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวเมื่อวันจันทร์โดยไม่ได้ระบุชื่อประเทศพม่าว่า ยูเอ็นควรจะพูดคุยกับ “ประเทศต้นตอ” เกี่ยวกับการแก้ปัญหา

“ผมหวังว่าการประชุมหารือในวันที่ 29 พฤษภาคม จะได้วิธีการแก้ปัญหาที่ปฏิบัติจริงได้ออกมา รวมทั้งการปฏิบัติที่สามารถใช้ได้ ทั้งกับแหล่งต้นตอ การขนผ่าน และปลายทาง” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ชาวมุสลิมโรฮิงญาในพม่า 1.1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นคนที่ไร้ดินแดน และดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพการณ์ที่เหมือนกับการเหยียดผิว การปะทะกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวระไค (ยะไข่) ซึ่งเป็นชาวพุทธเมื่อปี 2555 นั้น ได้ทำให้ (ชาวโรฮิงญา) เกือบ 140,000 คน กลายเป็นผู้พลัดถิ่น.
กำลังโหลดความคิดเห็น