ผอ.สวรส. แจงเหตุขอนายกฯ คุ้มครองพยาน ถูกโทรศัพท์คุกคาม ตั้งกรรมการสอบไม่เป็นหลัง หลังรื้อข้อมูลทุจริต เผยอดีต ผอ.สวรส. ทำเรื่องขอค่าตอบแทนและโบนัส ทั้งที่กฤษฎีกาตีความทำไม่ได้ เพราะผิดกฎหมาย จ่อเรียกเงินคืน 1.7 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ขณะที่กองทุนพัฒนาระบบสาธารณสุขรับเงินทุนจากแคนาดาไม่โปร่งใส
นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ (สวรส.) กล่าวถึงกรณียื่นหนังสือถีง พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้คุ้มครองตนเองในฐานะพยาน หลังแจ้งเบาะแสข้อมูลที่ส่อให้เห็นถึงกระบวนการทุจริตที่เกิดขึ้นในอดีตและผลประโยชน์ทับซ้อนที่ปรากฏต่อเนื่องใน สวรส. ทีมสนับสนุนวิชาการของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รมช.สาธารณสุข และกรรมการอีกหลายชุด รวมถึงคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ครม. จนได้รับโทรศัพท์คุกคาม รวมถึงถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงตนเองอย่างไม่เป็นธรรม ว่า เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ผอ.สวรส. แล้ว พบความผิดปกติหลายอย่าง และได้มีความพยายามในการแก้ปัญหา รวมถึงแจ้งข้อมูลต่อ รมว. และ รมช.สาธารณสุข รวมทั้ง นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกฯ ด้านสังคม แต่ไม่ได้รับการแก้ไข แต่กลับพบว่ามีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงตน การยื่นหนังสือถึงนายกฯ ก็เพื่อขอให้คุ้มครองในฐานะพยาน ตาม มาตรา 103 หมวด 9/1 ว่าด้วยเรื่องการส่งเสริมป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่สามารถขอการคุ้มครองได้
“ในการประชุมคณะกรรมการครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา ทั้งที่ไม่ครบองค์ประชุม ไม่ครบองค์ประกอบการประชุม เพราะผมเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นตามคำอนุมัติของ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง และยังเป็นการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง จากมูลเหตุที่มีผู้ส่งบัตรสนเท่ห์ กรณีการคัดลอกผลงานวิจัยซึ่งมีข้อยุติไปแล้วในอดีตว่า ผมไม่มีความผิด แต่กลับนำมาใช้เป็นมูลเหตุแห่งการสอบสวน” ผอ.สวรส. กล่าว
นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า หลังจากเข้ารับตำแหน่งเป็นเวลาปีครึ่ง พบความผิดปกติหลายอย่าง เช่น อดีต ผอ.สวรส. ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา รมช.สาธารณสุข ได้ทำเรื่องเสนอขอค่าตอบแทนพื้นฐานรายเดือนและโบนัส ทั้งที่คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยแล้วว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย เพราะตาม พ.ร.บ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ระบุว่า ตำแหน่ง ผอ. ไม่สามารถรับค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนและโบนัสได้ ซึ่งมีคำวินิจฉัยเมื่อปี 2556 จึงต้องถือว่าการดำรงตำแหน่งของอดีต ผอ. คนดังกล่าวในช่วงเวลาที่กฤษฎีกาตีความนั้นจะไม่สามารถรับเงินได้ ซึ่ง สวรส. ได้ดำเนินการฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายที่อดีต ผอ. ได้รับไปแล้วคืนจำนวน 1,746,580 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 การจ่ายเงินเดือนและโบนัสของพนักงานบางรายไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง และความไม่โปร่งใสจากการปฏิบัติงานของพนักงานบางราย เป็นต้น
นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า นอกจากนี้ บางเรื่องยังไม่สามารถตรวจสอบได้คือ กองทุนพัฒนาระบบสาธารณสุข ซึ่งอยู่ภายใต้การทำงานของ สวรส. ได้รับทุนจากองค์กรสนับสนุนทุนวิจัยจากประเทศแคนาดา (IDRC) ซึ่งให้ทุนผ่าน สวรส. และต้องกระจายให้กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำงานวิจัยด้วย โดย IDRC ได้เข้ามาตรวจสอบรายละเอียดการบริหารโครงการเมื่อ ต.ค. ที่ผ่านมา แต่พบว่า มีคำสั่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ที่ 28/2551 ลงวันที่ 15 ก.ค. 2551 ระบุว่า ให้เงินทุนทั้งหมดที่สนับสนุนโดย IDRC ไม่ต้องปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนปฏิบัติงานของ สวรส. ทำให้ IDRC ประเมินว่า ข้อยกเว้นดังกล่าวส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะมีการบริหารงานที่ผิดพลาดเกิดขึ้นกับโครงการที่ได้รับทุนจาก IDRC อีกทั้งการบริหารโครงการค่อนข้างคลุมเครือและเป็นรูปแบบเฉพาะกิจ การดำเนินธุรกรรมของโครงการจึงไม่มีความโปร่งใส ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องให้โครงการที่ได้รับทุนจาก IDRC ปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานของสวรส. เช่น มีระบบการตรวจสอบบัญชีจากฝ่ายบัญชีตรวจสอบภายในของ สวรส. เป็นต้น จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถทราบได้ว่า มีการรับเงินทุนมาปีละเท่าไหร่ และมีการกระจายงบประมาณไปอย่างไรบ้าง และไม่มีการส่งรายงานการใช้เงินดังกล่าว แม้แต่เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบการใช้งบประมาณ ก็ยังไม่สามารถขอข้อมูลในส่วนดังกล่าวได้ ซึ่งได้กำหนดเวลาให้ส่งรายงานภายในวันที่ 15 ธ.ค. นี้ หากยังไม่มีการส่งรายงานก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ (สวรส.) กล่าวถึงกรณียื่นหนังสือถีง พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้คุ้มครองตนเองในฐานะพยาน หลังแจ้งเบาะแสข้อมูลที่ส่อให้เห็นถึงกระบวนการทุจริตที่เกิดขึ้นในอดีตและผลประโยชน์ทับซ้อนที่ปรากฏต่อเนื่องใน สวรส. ทีมสนับสนุนวิชาการของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รมช.สาธารณสุข และกรรมการอีกหลายชุด รวมถึงคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ครม. จนได้รับโทรศัพท์คุกคาม รวมถึงถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงตนเองอย่างไม่เป็นธรรม ว่า เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ผอ.สวรส. แล้ว พบความผิดปกติหลายอย่าง และได้มีความพยายามในการแก้ปัญหา รวมถึงแจ้งข้อมูลต่อ รมว. และ รมช.สาธารณสุข รวมทั้ง นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกฯ ด้านสังคม แต่ไม่ได้รับการแก้ไข แต่กลับพบว่ามีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงตน การยื่นหนังสือถึงนายกฯ ก็เพื่อขอให้คุ้มครองในฐานะพยาน ตาม มาตรา 103 หมวด 9/1 ว่าด้วยเรื่องการส่งเสริมป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่สามารถขอการคุ้มครองได้
“ในการประชุมคณะกรรมการครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา ทั้งที่ไม่ครบองค์ประชุม ไม่ครบองค์ประกอบการประชุม เพราะผมเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นตามคำอนุมัติของ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง และยังเป็นการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง จากมูลเหตุที่มีผู้ส่งบัตรสนเท่ห์ กรณีการคัดลอกผลงานวิจัยซึ่งมีข้อยุติไปแล้วในอดีตว่า ผมไม่มีความผิด แต่กลับนำมาใช้เป็นมูลเหตุแห่งการสอบสวน” ผอ.สวรส. กล่าว
นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า หลังจากเข้ารับตำแหน่งเป็นเวลาปีครึ่ง พบความผิดปกติหลายอย่าง เช่น อดีต ผอ.สวรส. ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา รมช.สาธารณสุข ได้ทำเรื่องเสนอขอค่าตอบแทนพื้นฐานรายเดือนและโบนัส ทั้งที่คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยแล้วว่าไม่เป็นไปตามกฎหมาย เพราะตาม พ.ร.บ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ระบุว่า ตำแหน่ง ผอ. ไม่สามารถรับค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนและโบนัสได้ ซึ่งมีคำวินิจฉัยเมื่อปี 2556 จึงต้องถือว่าการดำรงตำแหน่งของอดีต ผอ. คนดังกล่าวในช่วงเวลาที่กฤษฎีกาตีความนั้นจะไม่สามารถรับเงินได้ ซึ่ง สวรส. ได้ดำเนินการฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายที่อดีต ผอ. ได้รับไปแล้วคืนจำนวน 1,746,580 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 การจ่ายเงินเดือนและโบนัสของพนักงานบางรายไม่เป็นไปตามสัญญาจ้าง และความไม่โปร่งใสจากการปฏิบัติงานของพนักงานบางราย เป็นต้น
นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า นอกจากนี้ บางเรื่องยังไม่สามารถตรวจสอบได้คือ กองทุนพัฒนาระบบสาธารณสุข ซึ่งอยู่ภายใต้การทำงานของ สวรส. ได้รับทุนจากองค์กรสนับสนุนทุนวิจัยจากประเทศแคนาดา (IDRC) ซึ่งให้ทุนผ่าน สวรส. และต้องกระจายให้กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำงานวิจัยด้วย โดย IDRC ได้เข้ามาตรวจสอบรายละเอียดการบริหารโครงการเมื่อ ต.ค. ที่ผ่านมา แต่พบว่า มีคำสั่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ที่ 28/2551 ลงวันที่ 15 ก.ค. 2551 ระบุว่า ให้เงินทุนทั้งหมดที่สนับสนุนโดย IDRC ไม่ต้องปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนปฏิบัติงานของ สวรส. ทำให้ IDRC ประเมินว่า ข้อยกเว้นดังกล่าวส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะมีการบริหารงานที่ผิดพลาดเกิดขึ้นกับโครงการที่ได้รับทุนจาก IDRC อีกทั้งการบริหารโครงการค่อนข้างคลุมเครือและเป็นรูปแบบเฉพาะกิจ การดำเนินธุรกรรมของโครงการจึงไม่มีความโปร่งใส ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องให้โครงการที่ได้รับทุนจาก IDRC ปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานของสวรส. เช่น มีระบบการตรวจสอบบัญชีจากฝ่ายบัญชีตรวจสอบภายในของ สวรส. เป็นต้น จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถทราบได้ว่า มีการรับเงินทุนมาปีละเท่าไหร่ และมีการกระจายงบประมาณไปอย่างไรบ้าง และไม่มีการส่งรายงานการใช้เงินดังกล่าว แม้แต่เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้เข้ามาตรวจสอบการใช้งบประมาณ ก็ยังไม่สามารถขอข้อมูลในส่วนดังกล่าวได้ ซึ่งได้กำหนดเวลาให้ส่งรายงานภายในวันที่ 15 ธ.ค. นี้ หากยังไม่มีการส่งรายงานก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่