วานนี้ (23ก.ย.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. กล่าวภายหลังการประชุม กกต. ว่า ขณะนี้ทางสำนักงาน กกต.ได้ส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ครบแล้วทั้ง 77 จังหวัด ให้กับเลขาธิการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นที่เรียบร้อย จากที่ก่อนหน้านี้ได้ส่งผลการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา 11 ด้านไปก่อนแล้ว จึงถือว่าการทำงานในส่วนของสำนักงานกกต. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหาสปช. ที่ทำหน้าที่ฝ่ายธุรการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย
ส่วนกรณีที่มีการยื่นร้องเรียนว่า การสรรหาสปช.ในระดับจังหวัดไม่มีความโปร่งใส ตนก็ทราบแต่จากการนำของสื่อ ยังไม่เห็นการมายื่นอย่างเป็นทางการ หากมายื่น สำนักงานกกต. ก็ทำได้เพียงเสนอเรื่องไปยังคสช. ยกเว้นแต่ คสช.จะมอบอำนาจให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงก็พร้อมจะดำเนินการ แต่ถ้าไม่มีการมอบหมาย หากมีการร้องมายังกกต. ก็ต้องส่งเรื่องไปยังคสช. เป็นผู้พิจารณา เพราะบทบาทของกกต.ในฐานะฝ่ายเลขานุการนั้น ไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย
**ได้รายชื่อ 250 สปช. 2 ต.ค.นี้
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติว่า รายชื่อ 550 คนถึง คสช.แล้ว เมื่อสัปดาห์ที่แล้วตนได้นั่งไล่ดูอยู่ ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จภายในวันที่ 2 ต.ค. ส่วนการประชุม คสช.ร่วมกับรัฐบาล เบื้องต้นอย่างน้องวางไว้เดือนละหนึ่งครั้ง เป็นการหารือร่วมกันระหว่าง คสช. ที่ปรึกษา คสช. และครม. การเดินหน้าทุกอย่างของคสช. และรัฐบาลยังเป็นไปตามโรดแมป ส่วนของ สปช. จะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 2 ต.ค. ซึ่งรายชื่อ 550 คนที่ส่งมา ก็ไม่รู้จักใครสักคน อีกส่วน 358 คนนั้น ต้องคัดเหลือ 77 คน
เมื่อถามว่าจะไม่มีคำครหาเรื่องล็อกสเปก ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า มันล็อกยังไง ตนก็ไม่รู้จะล็อกยังไงเหมือนกัน เมื่อถามย้ำว่ามีพวกใคร พวกใครหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะมีพวกใครล่ะ ทางจังหวัดก็เลือกมาโดยคณะกรรมการตั้งหลายคน และในส่วนคณะกรรมการคัดสรร 77 คน เท่าที่ทราบไม่ใช่ว่าเรารู้จักคนนั้น คนนี้ ไม่ใช่ เขาใช้โหวตคะแนนกัน คงไม่ต้องขอร้องให้นักวิจารณ์หยุดวิจารณ์ ซึ่งคุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นสปช.ต้องมีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในงานที่สมัครเข้ามา และไม่มีคดีความฟ้องร้อง ซึ่งกกต.มีข้อห้ามอยู่แล้ว บางคนบอกไปล็อกสเปก เพราะคดียังไม่สิ้นสุด มันคนละเรื่อง นั่นเป็นเรื่องมาตรการ และเมื่อสรรหาเสร็จเรียบร้อย ต้องเปิดเผยรายชื่อ เพราะต้องนำรายชื่อทูลเกล้าฯ เหมือนสนช.
ส่วนผู้ที่สมัครเป็นสปช.แล้ว ไม่ได้รับการคัดเลือก จะเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างไรนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะหาวิธีการในการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นช่องทางศูนย์ดำรงธรรม หรือ กกต.จว. รวบรวมมาที่รัฐสภา แล้วเข้าไปสู่สภาปฏิรูป ในส่วนของคสช. เองก็มีการเตรียมเรื่องที่จะเสนอเข้าไปสปช. ด้วยเช่นกัน และกรอบการทำงานของสปช. ก็อยู่ที่เรา 10-12 เดือน ซึ่งจะมีเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ตามโรดแมปที่วางไว้ เมื่อถามว่าหลังเข้ามานั่งเก้าอี้นายกฯ จะสามารถนำรัฐบาลเดินไปตามกรอบที่วางไว้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทุกอย่างก็ยังเป็นไปตามโรดแมป ซึ่ง สปช. ก็จะมีความเรียบร้อยในวันที่ 2 ต.ค. ตามกรอบเวลาที่วางไว้
**วิษณุไม่รู้เรื่องตั้ง-ยุบ 14 อรหันต์
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการสรรหาสมาชิก สปช. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน กล่าวถึง การยกเลิกคำสั่งคสช. ที่ตั้งคณะกรรมการ 14 คน เพื่อคัดเลือกสมาชิก ว่า ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งตอนตั้ง และยกเลิก เท่าที่ทราบคณะกรรมการคัดเลือก สปช. มีการตั้งไว้นานแล้ว แต่รีบประกาศไม่ได้ เพราะพอประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว ต้องคัดเลือกในวันรุ่งขึ้นทันที ตามที่กำหนดไว้ในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อถามว่า เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ให้อำนาจ คสช.คัดเลือกอยู่แล้ว ทำไมต้องตั้ง 14 คน ดังกล่าว นายวิษณุ กล่าวว่า ในส่วนของ 173 คน มีคณะกรรมการกลั่นกรองให้ก่อนส่งให้ คสช. ทั้ง 11 ด้าน แต่ 77 คนส่วนจากจังหวัด ไม่มีคนคัดกรองให้ เลยคิดว่าตั้ง 14 นายพลขึ้นมาเพื่อคัดกรองในส่วนของจังหวัด เพราะคสช. รับชื่อมาคงไม่รู้เรื่อง เช็คเองไม่ได้ และก่อนหน้านี้ มีร้องเรียนหลายจังหวัดว่า เอาลูก เอาเมีย น้องเขย สะใภ้มาเป็น ต้องเขียนคำสั่งให้ดีว่า ตั้งมาเพื่อคัดเลือก 77 คนจากส่วนจังหวัด
เมื่อถามว่า ในส่วนของตัวแทนจังหวัด หากไม่มีคณะกรรมการคัดเลือก 14 คน แล้วจะกลั่นกรองอย่างไร ก่อนถึงคสช. นายวิษณุ กล่าวว่า ต่อจากนี้ไป เมื่อยกเลิกเป็นทางการแล้ว ก็ต้องตั้งขึ้นมาเงียบๆ กรองกันเอง โดยไม่ต้องบอกให้ใครรู้ ว่ามีใคร มีคณะกรรมการคัดเลือกได้ แต่ไม่ต้องประกาศก็ได้ เพราะประกาศไปแล้ว คนตกใจ ทำคนเดียวยังได้เลย ไม่จำเป็นต้องไปกำหนดหลักเกณฑ์อะไร เพราะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว เพราะยิ่งกรองผู้มีอิทธิพล ยิ่งไม่สมควรไปประกาศชื่อใหญ่ ว่าใครเป็นคนกรอง เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะเปิดเผยชื่อก่อน นายวิษณุ กล่าว่า แล้วแต่คสช.พิจารณา แต่ในที่สุดแล้ว ก็ต้องรู้อยู่ดี แต่อาจจะรู้ภายหลัง ซึ่งที่นายกฯ ประกาศ และมอบหมายให้ตนทำคือ คนที่เข้ารอบสุดท้าย 50 คน ใน 11 ด้าน ติดจริงๆ มีประมาณด้านละ 15-17 คน ถือว่าผ่านด่านมาแล้ว ควรมาตั้งเวทีใช้งาน ซึ่งตอนนั้น เขาจะรู้ว่าติดหนึ่งใน 50 คน แต่ไม่ติดใน 15 คน เพราะเราจะไม่เอาคนนอก
นอกจากนี้ ในส่วนที่เหลือจาก 7 พันคนที่สมัคร จะไปอยู่ในเวทีปฏิรูป ที่มีพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้างานกลุ่มงานสร้างความปรองดอง และการปฏิรูป ส่วนอีกเวทีที่จะตั้ง ตนตั้งใจใช้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นฐาน เพราะห้องประชุมก็มีแล้ว อุปกรณ์ต่างๆ ก็พร้อม เจ้าหน้าที่ก็มีถึง 200 คน ก็จะช่วยได้ เรียกง่ายๆว่า เป็นเวทีปฏิรูป 2 มีค่าตอบแทนด้วย
เมื่อถามว่า ส่วนที่จังหวัดที่มีร้องเรียน เรื่องของเครือญาติ แสดงว่ามีการล็อกสเปกได้ ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เห็นร้องเรียนกันมา จริง ไม่จริง ไม่รู้ แต่ไม่น่าจะเรียกว่าล็อกสเปก รายชื่อทั้งหมด 550 คน ตนเห็นหมดแล้ว คนดี คนเด่น คนดัง เข้ามามาก ห่วงก็แต่คนไม่ดี ไม่เด่น ไม่ดัง ที่น่าจะมีโอกาสบ้าง เชื่อว่าเมื่อรายชื่อออกมาจะเป็นที่พอใจของสังคม อาจจะมีชื่อที่ไม่คุ้นบ้าง เราต้องให้โอกาส แต่จะให้พอใจทั้งหมด คงยาก เมื่อถามว่าหากรายชื่อออกมา มีบางคนถูกร้องเรียน ปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ นายวิษณุ ตอบว่าไม่น่าจะทำอย่างนั้น ประกาศไปแล้ว มีคนไปร้อง จะไปปรับเขาออกได้อย่างไร แต่คิดว่า เขาไปคัดคนมีปัญหาเข้ามา บางคนอาจเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทางสังคม แต่เขาอาจเป็นคนดีก็ได้
**"อุเทน"เชื่อมีล็อกรายชื่อเกินครึ่ง
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย ในฐานะผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านสังคม กล่าวถึงกระแสข่าวการคัดเลือก สปช. ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ว่าอาจมีการล็อกชื่อตัวบุคคลไว้แล้ว เนื่องจากไม่มีการเปิดเผยรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหา ว่า เรื่องนี้ คสช.ไม่ควรที่จะปฏิเสธ เพราะยากที่จะทำให้คนทั่วไปเชื่อได้ แต่ควรยอมรับตรงไปตรงมาถึงเหตุผลความจำเป็นต้องที่ต้องตั้งคนของตัวเองมาเป็น สปช. เพื่อมาขับเคลื่อนเรื่องการปฏิรูปประเทศ เพราะคสช.ก็ต้องนำคนที่ตัวเองควบคุมได้มาอยู่ในสภาปฏิรูปฯ เพื่อให้ปลอดภัยไว้ก่อน ที่เหลือก็จะเอาคนที่ภาพลักษณ์ดูดี และต้องไม่มีปากเสียง
"เรื่องล็อกคน อาจจะไม่ล็อกทั้งหมด แต่แค่ครึ่งหนึ่งก็ตายแล้ว ที่เหลืออาจจะใช้คำว่า แต่งหน้าเค้กก็ถูก พอเป็นแบบนี้ใครจะกล้าไปเถียงในที่ประชุม พวกไม่เห็นด้วยครึ่งหนึ่งเข้าไปแล้ว อีกครึ่งก็คนดูดีหน่อยไม่ดื้อ อย่ามีปากเสียง ใครเป็นม้าพยศ เขาคงไม่เอา อย่างผมอาจเข้าข่ายม้าดื้อ ม้าพยศ คนขี่มันขี่ยาก เขาก็คงไม่เลือก" นายอุเทน ระบุ
นายอุเทน กล่าวอีกว่า ในการสรรหา สปช. มีคนสมัครไปกว่า 7,000 คน ก็เชื่อว่าคณะกรรมการสรรหาแต่ละด้าน คงรู้แค่ชื่อ และประวัติเบื้องต้น อยากถามว่าไปรู้จักเขาดีแค่ไหน หรือจะเอาแค่คนเด่นคนดัง แค่นั้นหรือ แล้วคนเด่นดังพวกนี้เคยทำอะไรให้กับบ้านเมือง ทำดี คิดดี ให้บ้านเมืองแค่ไหน อย่างไรก็ตาม คสช.ต้องเลือกคนที่มาเป็นสปช. อย่างเปิดใจกว้าง หากต้องการให้เกิดกระบวนการปฏิรูปที่แท้จริง ไม่ใช่ว่านำคนของตัวเองมาทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นต้องไม่เลือกแต่ข้าราชการ นักวิชาการ หรือคหบดีหน้าเดิมๆ จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมประเทศ เนื่องจากคนเหล่านี้ มีส่วนร่วมให้เกิดปัญหาของประเทศมาโดยตลอดไม่มากก็น้อย หากยังดึงเข้าเป็นคนออกแบบการปฏิรูป ก็กลายเป็นวังวนปัญหาในที่สุด
"สุดท้ายเชื่อว่า เมื่อชื่อสปช. ที่ออกมา จะมีคนไม่ยอมรับ ก็คงวิพากษ์วิจารณ์ไม่นานนัก เหมือนตอนประกาศรายชื่อสนช. ที่มีทหารกว่าครึ่ง ที่เหลือเอานักธุรกิจ คหบดี มานั่งร่วมด้วย แต่ละคนก็เป็นคนที่เคยเรียนวปอ. อะไรมาด้วยกัน ไปชำแหละดู มันเกี่ยวโยงกันไปหมด แล้วนี่มันคืออะไร กลายเป็นสภาครอบครัว สภาพรรคพวกไปเลย" นายอุเทน ระบุ
**ร้องสอบ 5 ชื่อว่าที่สปช.พังงารั่ว
นายวระชาติ ทนังผล อดีต ส.ว.พังงา และผู้เข้ารับการเสนอชื่อเป็น สปช. จังหวัดพังงา เข้ายื่นคำร้องต่อ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อให้ตรวจสอบกรณีมีเอกสารเผยแพร่ภายในจังหวัด ระบุรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น สปช. ในส่วนของ จ.พังงารวม 5 คน ได้แก่ นายธราธิป ทองเจิม ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)พังงา นายรวยชัย กิตติพรหมวงศ์ ประธานสภา อบจ.พังงา นายชาญพิเชษฐ์ กิจประสานเจริญ อดีตนายกเทศบาลตำบลเกาะยาว นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดพังงา และ นายเทวะ เวชพันธุ์ อดีตกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดพังงา ว่า รายชื่อดังกล่าวตรงกับที่คณะกรรมการสรรหาจังหวัดได้เสนอมายังคสช. จริงหรือไม่ เพราะหากเป็นความจริง ก็ถือว่าไม่มีความหลากหลายทางอาชีพตามที่ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการสรรหาสปช. กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติให้คณะกรรมการสรรหาต้องพิจารณาต้องคัดเลือกบุคคล รวมทั้งบุคคลเหล่านี้ยังมีส่วนได้เสียกับคณะกรรมการสรรหา
อย่างไรก็ตาม ที่มายื่นให้ตรวจสอบ ไม่ได้เป็นเพราะว่าตนเองไม่มีชื่อติด 1 ใน 5 แต่ต้องการให้กระบวนการสรรหา เป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยที่จังหวัดมีผู้เข้ารับการเสนอชื่อรวม 27 คน มีความหลากหลายทางอาชีพ หากตนเองไม่ได้รับคัดเลือก ก็ไม่เป็นไร ถ้าคนที่ได้มีความเหมาะสมกว่า ซึ่งอยากให้คสช. มีการเปิดรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการสรรหาทุกจังหวัด เพื่อให้คนในสังคมและคนในจังหวัดได้ตรวจสอบ และพิจารณาว่าเหมาะสมที่ได้รับการเสนอชื่อหรือไม่ อย่าไปกลัวว่าจะเกิดความวุ่นวาย หรือมีการวิ่งเต้น เพราะในเมื่อเราจะปฏิรูปบ้านเมือง ก็ควรมีความโปร่งใส ให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม ไม่ใช่ปฏิรูปไปแล้วยังจะมีการมาเดินบนถนนอีก แล้วบ้านเมืองก็กลับไปสู่วังวนเดิม
ส่วนกรณีที่มีการยื่นร้องเรียนว่า การสรรหาสปช.ในระดับจังหวัดไม่มีความโปร่งใส ตนก็ทราบแต่จากการนำของสื่อ ยังไม่เห็นการมายื่นอย่างเป็นทางการ หากมายื่น สำนักงานกกต. ก็ทำได้เพียงเสนอเรื่องไปยังคสช. ยกเว้นแต่ คสช.จะมอบอำนาจให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงก็พร้อมจะดำเนินการ แต่ถ้าไม่มีการมอบหมาย หากมีการร้องมายังกกต. ก็ต้องส่งเรื่องไปยังคสช. เป็นผู้พิจารณา เพราะบทบาทของกกต.ในฐานะฝ่ายเลขานุการนั้น ไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย
**ได้รายชื่อ 250 สปช. 2 ต.ค.นี้
ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติว่า รายชื่อ 550 คนถึง คสช.แล้ว เมื่อสัปดาห์ที่แล้วตนได้นั่งไล่ดูอยู่ ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จภายในวันที่ 2 ต.ค. ส่วนการประชุม คสช.ร่วมกับรัฐบาล เบื้องต้นอย่างน้องวางไว้เดือนละหนึ่งครั้ง เป็นการหารือร่วมกันระหว่าง คสช. ที่ปรึกษา คสช. และครม. การเดินหน้าทุกอย่างของคสช. และรัฐบาลยังเป็นไปตามโรดแมป ส่วนของ สปช. จะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 2 ต.ค. ซึ่งรายชื่อ 550 คนที่ส่งมา ก็ไม่รู้จักใครสักคน อีกส่วน 358 คนนั้น ต้องคัดเหลือ 77 คน
เมื่อถามว่าจะไม่มีคำครหาเรื่องล็อกสเปก ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า มันล็อกยังไง ตนก็ไม่รู้จะล็อกยังไงเหมือนกัน เมื่อถามย้ำว่ามีพวกใคร พวกใครหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะมีพวกใครล่ะ ทางจังหวัดก็เลือกมาโดยคณะกรรมการตั้งหลายคน และในส่วนคณะกรรมการคัดสรร 77 คน เท่าที่ทราบไม่ใช่ว่าเรารู้จักคนนั้น คนนี้ ไม่ใช่ เขาใช้โหวตคะแนนกัน คงไม่ต้องขอร้องให้นักวิจารณ์หยุดวิจารณ์ ซึ่งคุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นสปช.ต้องมีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในงานที่สมัครเข้ามา และไม่มีคดีความฟ้องร้อง ซึ่งกกต.มีข้อห้ามอยู่แล้ว บางคนบอกไปล็อกสเปก เพราะคดียังไม่สิ้นสุด มันคนละเรื่อง นั่นเป็นเรื่องมาตรการ และเมื่อสรรหาเสร็จเรียบร้อย ต้องเปิดเผยรายชื่อ เพราะต้องนำรายชื่อทูลเกล้าฯ เหมือนสนช.
ส่วนผู้ที่สมัครเป็นสปช.แล้ว ไม่ได้รับการคัดเลือก จะเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างไรนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะหาวิธีการในการแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นช่องทางศูนย์ดำรงธรรม หรือ กกต.จว. รวบรวมมาที่รัฐสภา แล้วเข้าไปสู่สภาปฏิรูป ในส่วนของคสช. เองก็มีการเตรียมเรื่องที่จะเสนอเข้าไปสปช. ด้วยเช่นกัน และกรอบการทำงานของสปช. ก็อยู่ที่เรา 10-12 เดือน ซึ่งจะมีเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ตามโรดแมปที่วางไว้ เมื่อถามว่าหลังเข้ามานั่งเก้าอี้นายกฯ จะสามารถนำรัฐบาลเดินไปตามกรอบที่วางไว้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทุกอย่างก็ยังเป็นไปตามโรดแมป ซึ่ง สปช. ก็จะมีความเรียบร้อยในวันที่ 2 ต.ค. ตามกรอบเวลาที่วางไว้
**วิษณุไม่รู้เรื่องตั้ง-ยุบ 14 อรหันต์
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะคณะกรรมการสรรหาสมาชิก สปช. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน กล่าวถึง การยกเลิกคำสั่งคสช. ที่ตั้งคณะกรรมการ 14 คน เพื่อคัดเลือกสมาชิก ว่า ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งตอนตั้ง และยกเลิก เท่าที่ทราบคณะกรรมการคัดเลือก สปช. มีการตั้งไว้นานแล้ว แต่รีบประกาศไม่ได้ เพราะพอประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว ต้องคัดเลือกในวันรุ่งขึ้นทันที ตามที่กำหนดไว้ในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อถามว่า เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ให้อำนาจ คสช.คัดเลือกอยู่แล้ว ทำไมต้องตั้ง 14 คน ดังกล่าว นายวิษณุ กล่าวว่า ในส่วนของ 173 คน มีคณะกรรมการกลั่นกรองให้ก่อนส่งให้ คสช. ทั้ง 11 ด้าน แต่ 77 คนส่วนจากจังหวัด ไม่มีคนคัดกรองให้ เลยคิดว่าตั้ง 14 นายพลขึ้นมาเพื่อคัดกรองในส่วนของจังหวัด เพราะคสช. รับชื่อมาคงไม่รู้เรื่อง เช็คเองไม่ได้ และก่อนหน้านี้ มีร้องเรียนหลายจังหวัดว่า เอาลูก เอาเมีย น้องเขย สะใภ้มาเป็น ต้องเขียนคำสั่งให้ดีว่า ตั้งมาเพื่อคัดเลือก 77 คนจากส่วนจังหวัด
เมื่อถามว่า ในส่วนของตัวแทนจังหวัด หากไม่มีคณะกรรมการคัดเลือก 14 คน แล้วจะกลั่นกรองอย่างไร ก่อนถึงคสช. นายวิษณุ กล่าวว่า ต่อจากนี้ไป เมื่อยกเลิกเป็นทางการแล้ว ก็ต้องตั้งขึ้นมาเงียบๆ กรองกันเอง โดยไม่ต้องบอกให้ใครรู้ ว่ามีใคร มีคณะกรรมการคัดเลือกได้ แต่ไม่ต้องประกาศก็ได้ เพราะประกาศไปแล้ว คนตกใจ ทำคนเดียวยังได้เลย ไม่จำเป็นต้องไปกำหนดหลักเกณฑ์อะไร เพราะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว เพราะยิ่งกรองผู้มีอิทธิพล ยิ่งไม่สมควรไปประกาศชื่อใหญ่ ว่าใครเป็นคนกรอง เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะเปิดเผยชื่อก่อน นายวิษณุ กล่าว่า แล้วแต่คสช.พิจารณา แต่ในที่สุดแล้ว ก็ต้องรู้อยู่ดี แต่อาจจะรู้ภายหลัง ซึ่งที่นายกฯ ประกาศ และมอบหมายให้ตนทำคือ คนที่เข้ารอบสุดท้าย 50 คน ใน 11 ด้าน ติดจริงๆ มีประมาณด้านละ 15-17 คน ถือว่าผ่านด่านมาแล้ว ควรมาตั้งเวทีใช้งาน ซึ่งตอนนั้น เขาจะรู้ว่าติดหนึ่งใน 50 คน แต่ไม่ติดใน 15 คน เพราะเราจะไม่เอาคนนอก
นอกจากนี้ ในส่วนที่เหลือจาก 7 พันคนที่สมัคร จะไปอยู่ในเวทีปฏิรูป ที่มีพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้างานกลุ่มงานสร้างความปรองดอง และการปฏิรูป ส่วนอีกเวทีที่จะตั้ง ตนตั้งใจใช้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นฐาน เพราะห้องประชุมก็มีแล้ว อุปกรณ์ต่างๆ ก็พร้อม เจ้าหน้าที่ก็มีถึง 200 คน ก็จะช่วยได้ เรียกง่ายๆว่า เป็นเวทีปฏิรูป 2 มีค่าตอบแทนด้วย
เมื่อถามว่า ส่วนที่จังหวัดที่มีร้องเรียน เรื่องของเครือญาติ แสดงว่ามีการล็อกสเปกได้ ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เห็นร้องเรียนกันมา จริง ไม่จริง ไม่รู้ แต่ไม่น่าจะเรียกว่าล็อกสเปก รายชื่อทั้งหมด 550 คน ตนเห็นหมดแล้ว คนดี คนเด่น คนดัง เข้ามามาก ห่วงก็แต่คนไม่ดี ไม่เด่น ไม่ดัง ที่น่าจะมีโอกาสบ้าง เชื่อว่าเมื่อรายชื่อออกมาจะเป็นที่พอใจของสังคม อาจจะมีชื่อที่ไม่คุ้นบ้าง เราต้องให้โอกาส แต่จะให้พอใจทั้งหมด คงยาก เมื่อถามว่าหากรายชื่อออกมา มีบางคนถูกร้องเรียน ปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ นายวิษณุ ตอบว่าไม่น่าจะทำอย่างนั้น ประกาศไปแล้ว มีคนไปร้อง จะไปปรับเขาออกได้อย่างไร แต่คิดว่า เขาไปคัดคนมีปัญหาเข้ามา บางคนอาจเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทางสังคม แต่เขาอาจเป็นคนดีก็ได้
**"อุเทน"เชื่อมีล็อกรายชื่อเกินครึ่ง
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย ในฐานะผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านสังคม กล่าวถึงกระแสข่าวการคัดเลือก สปช. ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ว่าอาจมีการล็อกชื่อตัวบุคคลไว้แล้ว เนื่องจากไม่มีการเปิดเผยรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหา ว่า เรื่องนี้ คสช.ไม่ควรที่จะปฏิเสธ เพราะยากที่จะทำให้คนทั่วไปเชื่อได้ แต่ควรยอมรับตรงไปตรงมาถึงเหตุผลความจำเป็นต้องที่ต้องตั้งคนของตัวเองมาเป็น สปช. เพื่อมาขับเคลื่อนเรื่องการปฏิรูปประเทศ เพราะคสช.ก็ต้องนำคนที่ตัวเองควบคุมได้มาอยู่ในสภาปฏิรูปฯ เพื่อให้ปลอดภัยไว้ก่อน ที่เหลือก็จะเอาคนที่ภาพลักษณ์ดูดี และต้องไม่มีปากเสียง
"เรื่องล็อกคน อาจจะไม่ล็อกทั้งหมด แต่แค่ครึ่งหนึ่งก็ตายแล้ว ที่เหลืออาจจะใช้คำว่า แต่งหน้าเค้กก็ถูก พอเป็นแบบนี้ใครจะกล้าไปเถียงในที่ประชุม พวกไม่เห็นด้วยครึ่งหนึ่งเข้าไปแล้ว อีกครึ่งก็คนดูดีหน่อยไม่ดื้อ อย่ามีปากเสียง ใครเป็นม้าพยศ เขาคงไม่เอา อย่างผมอาจเข้าข่ายม้าดื้อ ม้าพยศ คนขี่มันขี่ยาก เขาก็คงไม่เลือก" นายอุเทน ระบุ
นายอุเทน กล่าวอีกว่า ในการสรรหา สปช. มีคนสมัครไปกว่า 7,000 คน ก็เชื่อว่าคณะกรรมการสรรหาแต่ละด้าน คงรู้แค่ชื่อ และประวัติเบื้องต้น อยากถามว่าไปรู้จักเขาดีแค่ไหน หรือจะเอาแค่คนเด่นคนดัง แค่นั้นหรือ แล้วคนเด่นดังพวกนี้เคยทำอะไรให้กับบ้านเมือง ทำดี คิดดี ให้บ้านเมืองแค่ไหน อย่างไรก็ตาม คสช.ต้องเลือกคนที่มาเป็นสปช. อย่างเปิดใจกว้าง หากต้องการให้เกิดกระบวนการปฏิรูปที่แท้จริง ไม่ใช่ว่านำคนของตัวเองมาทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นต้องไม่เลือกแต่ข้าราชการ นักวิชาการ หรือคหบดีหน้าเดิมๆ จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมประเทศ เนื่องจากคนเหล่านี้ มีส่วนร่วมให้เกิดปัญหาของประเทศมาโดยตลอดไม่มากก็น้อย หากยังดึงเข้าเป็นคนออกแบบการปฏิรูป ก็กลายเป็นวังวนปัญหาในที่สุด
"สุดท้ายเชื่อว่า เมื่อชื่อสปช. ที่ออกมา จะมีคนไม่ยอมรับ ก็คงวิพากษ์วิจารณ์ไม่นานนัก เหมือนตอนประกาศรายชื่อสนช. ที่มีทหารกว่าครึ่ง ที่เหลือเอานักธุรกิจ คหบดี มานั่งร่วมด้วย แต่ละคนก็เป็นคนที่เคยเรียนวปอ. อะไรมาด้วยกัน ไปชำแหละดู มันเกี่ยวโยงกันไปหมด แล้วนี่มันคืออะไร กลายเป็นสภาครอบครัว สภาพรรคพวกไปเลย" นายอุเทน ระบุ
**ร้องสอบ 5 ชื่อว่าที่สปช.พังงารั่ว
นายวระชาติ ทนังผล อดีต ส.ว.พังงา และผู้เข้ารับการเสนอชื่อเป็น สปช. จังหวัดพังงา เข้ายื่นคำร้องต่อ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อให้ตรวจสอบกรณีมีเอกสารเผยแพร่ภายในจังหวัด ระบุรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น สปช. ในส่วนของ จ.พังงารวม 5 คน ได้แก่ นายธราธิป ทองเจิม ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)พังงา นายรวยชัย กิตติพรหมวงศ์ ประธานสภา อบจ.พังงา นายชาญพิเชษฐ์ กิจประสานเจริญ อดีตนายกเทศบาลตำบลเกาะยาว นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดพังงา และ นายเทวะ เวชพันธุ์ อดีตกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดพังงา ว่า รายชื่อดังกล่าวตรงกับที่คณะกรรมการสรรหาจังหวัดได้เสนอมายังคสช. จริงหรือไม่ เพราะหากเป็นความจริง ก็ถือว่าไม่มีความหลากหลายทางอาชีพตามที่ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการสรรหาสปช. กำหนดไว้เป็นคุณสมบัติให้คณะกรรมการสรรหาต้องพิจารณาต้องคัดเลือกบุคคล รวมทั้งบุคคลเหล่านี้ยังมีส่วนได้เสียกับคณะกรรมการสรรหา
อย่างไรก็ตาม ที่มายื่นให้ตรวจสอบ ไม่ได้เป็นเพราะว่าตนเองไม่มีชื่อติด 1 ใน 5 แต่ต้องการให้กระบวนการสรรหา เป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยที่จังหวัดมีผู้เข้ารับการเสนอชื่อรวม 27 คน มีความหลากหลายทางอาชีพ หากตนเองไม่ได้รับคัดเลือก ก็ไม่เป็นไร ถ้าคนที่ได้มีความเหมาะสมกว่า ซึ่งอยากให้คสช. มีการเปิดรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการสรรหาทุกจังหวัด เพื่อให้คนในสังคมและคนในจังหวัดได้ตรวจสอบ และพิจารณาว่าเหมาะสมที่ได้รับการเสนอชื่อหรือไม่ อย่าไปกลัวว่าจะเกิดความวุ่นวาย หรือมีการวิ่งเต้น เพราะในเมื่อเราจะปฏิรูปบ้านเมือง ก็ควรมีความโปร่งใส ให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วม ไม่ใช่ปฏิรูปไปแล้วยังจะมีการมาเดินบนถนนอีก แล้วบ้านเมืองก็กลับไปสู่วังวนเดิม