ที่ประชุมกระทรวง เห็นชอบขยายใบอนุญาตสอนชั่วคราว 90 วันในสาขาขาดแคลนให้ครอบคลุมทุกสังกัดที่เปิดสอนสายอาชีพ จากเดิมที่เปิดช่องให้แต่ครูอาชีวะ ขณะที่ “ชัยพฤกษ์” ระบุ 86 สาขาขาดแคลนที่เคยสำรวจอาจยังไม่เพียงพอ เหตุพบบางสาขา เช่น นิติศาสตร์ ก็มีวิทยาลัยต้องการ เล็งสำรวจเพิ่มเติมเสนอคุรุสภารวมทางหาช่องให้ผู้จบ ปทส. ได้มีโอกาสมาเป็นครูช่างได้
วันที่ (6 พ.ย.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมหารือกรณีที่คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รับบุคคลที่ไม่ได้จบสาขาวิชาชีพครูเข้าเป็นข้าราชการครูได้ในสาขาที่ขาดแคลนครูผู้สอน และต้องเป็นสาขาที่ไม่มีการเปิดสอนในคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 86 สาขา โดยทางคุรุสภาจะออกหนังสืออนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเป็นระยะเวลา 90 วัน เพื่อให้สามารถสมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู สอศ. ได้ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าแนวทางดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี และมีความเห็นว่าอยากให้ขยายแนวทางดังกล่าวครอบคลุมครูสาขาขาดแคลนของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ด้วย เพราะปัจจุบันสถาบันอาชีวะเอกชน และโรงเรียนสังกัด สพฐ. บางแห่งก็เปิดสอนในสายวิชาชีพ ซึ่งเป็นสาขาขาดแคลนเช่นเดียวกับ สอศ. อาทิ สาขาพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นต้น ทั้งนี้ หากจะมีการขยายเพิ่มอาจจะต้องไปศึกษาในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย ที่ประชุมจึงมอบให้สำนักนิติการ สำงานปลัด ศธ. ไปดูรายละเอียดและเสนอให้คณะกรรมการคุรุสภาพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 20 พฤศจิกายน
“เดิมนั้น สอศ. สำรวจสาขาที่ขาดแคลนไว้ 86 สาขา แต่จากการลงพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ ที่ผ่านมาพบว่าข้อมูลที่ สำรวจไว้เดิมนั้นยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ เพราะบางแห่งยังมีความต้องการครูในสายวิชาชีพอื่นๆ อาทิ สาขานิติศาสตร์ ที่บางวิทยาลัยมีความต้องการเพื่อสอนเรื่องกฎหมายแรงงาน แต่สาขาดังกล่าวคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ไม่เปิดสอน ดังนั้น สอศ. จะไปสำรวจสาขาที่ขาดแคลนครูเพิ่มเติม เพื่อเสนอต่อคุรุสภา เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพนั้นๆ สามารถสอบเป็นครูสังกัด สอศ. ได้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ที่จบหลักสูตรการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผลิตครูของ สอศ. โดยตรงสามารถมาเป็นครูได้ จากเดิมที่เด็กที่จบจากหลักสูตรดังกล่าวไม่สามารถเป็นครูได้เนื่องจากติดข้อกำหนดของคุรุสภา ที่มองว่าไม่ใช่หลักสูตรต่อเนื่อง 5 ปี ทั้งๆ ที่เรียน ปวส. 2 ปี บวกกับ ปทส. 3 ปี รวมเป็น 5 ปี เท่ากัน โดยปัจจุบัน สอศ. มีผู้ที่จบจากหลักสูตรดังกล่าว ค้างท่ออยู่ประมาณ 100 คน หากสามารถเปิดทางให้คนกลุ่มนี้ได้ ในอนาคต สอศ. หารือกับคุรุสภาเพื่อหาช่องทางเปิดสอนหลักสูตรดังกล่าว เพื่อผลิตครูช่างรองรับความต้องการของ สอศ. ในอนาคต” นายชัยพฤกษ์ กล่าว
วันที่ (6 พ.ย.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมหารือกรณีที่คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รับบุคคลที่ไม่ได้จบสาขาวิชาชีพครูเข้าเป็นข้าราชการครูได้ในสาขาที่ขาดแคลนครูผู้สอน และต้องเป็นสาขาที่ไม่มีการเปิดสอนในคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 86 สาขา โดยทางคุรุสภาจะออกหนังสืออนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเป็นระยะเวลา 90 วัน เพื่อให้สามารถสมัครสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู สอศ. ได้ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าแนวทางดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี และมีความเห็นว่าอยากให้ขยายแนวทางดังกล่าวครอบคลุมครูสาขาขาดแคลนของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ด้วย เพราะปัจจุบันสถาบันอาชีวะเอกชน และโรงเรียนสังกัด สพฐ. บางแห่งก็เปิดสอนในสายวิชาชีพ ซึ่งเป็นสาขาขาดแคลนเช่นเดียวกับ สอศ. อาทิ สาขาพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นต้น ทั้งนี้ หากจะมีการขยายเพิ่มอาจจะต้องไปศึกษาในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย ที่ประชุมจึงมอบให้สำนักนิติการ สำงานปลัด ศธ. ไปดูรายละเอียดและเสนอให้คณะกรรมการคุรุสภาพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 20 พฤศจิกายน
“เดิมนั้น สอศ. สำรวจสาขาที่ขาดแคลนไว้ 86 สาขา แต่จากการลงพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ ที่ผ่านมาพบว่าข้อมูลที่ สำรวจไว้เดิมนั้นยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ เพราะบางแห่งยังมีความต้องการครูในสายวิชาชีพอื่นๆ อาทิ สาขานิติศาสตร์ ที่บางวิทยาลัยมีความต้องการเพื่อสอนเรื่องกฎหมายแรงงาน แต่สาขาดังกล่าวคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ไม่เปิดสอน ดังนั้น สอศ. จะไปสำรวจสาขาที่ขาดแคลนครูเพิ่มเติม เพื่อเสนอต่อคุรุสภา เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพนั้นๆ สามารถสอบเป็นครูสังกัด สอศ. ได้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ที่จบหลักสูตรการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผลิตครูของ สอศ. โดยตรงสามารถมาเป็นครูได้ จากเดิมที่เด็กที่จบจากหลักสูตรดังกล่าวไม่สามารถเป็นครูได้เนื่องจากติดข้อกำหนดของคุรุสภา ที่มองว่าไม่ใช่หลักสูตรต่อเนื่อง 5 ปี ทั้งๆ ที่เรียน ปวส. 2 ปี บวกกับ ปทส. 3 ปี รวมเป็น 5 ปี เท่ากัน โดยปัจจุบัน สอศ. มีผู้ที่จบจากหลักสูตรดังกล่าว ค้างท่ออยู่ประมาณ 100 คน หากสามารถเปิดทางให้คนกลุ่มนี้ได้ ในอนาคต สอศ. หารือกับคุรุสภาเพื่อหาช่องทางเปิดสอนหลักสูตรดังกล่าว เพื่อผลิตครูช่างรองรับความต้องการของ สอศ. ในอนาคต” นายชัยพฤกษ์ กล่าว