คุรุสภา นัดถกปัญหาครู สอศ. ขาดแคลน 18 ส.ค. “ไพฑูรย์” ชี้ถึงเวลา สอศ. ต้องทบทวนตัวเองจะสร้างเด็กอาชีวะให้เก่งสอดรับความต้องการในอนาคตอย่างไร
วันนี้ (13 ส.ค.) ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการศึกษา ปัญหาครูในสาขาขาดแคลน ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า ในวันที่ 18 สิงหาคม 2557 ตนได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้ง สอศ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ฝ่ายสถาบันผลิตครูช่าง ได้แก่ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) และสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) มาหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว เป็นนัดแรก ก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องมีการนัดหารือก่อนที่จะตั้งคณะกรรมการ เพราะเห็นว่า สอศ. ยังมีปัญหาอีกหลายเรื่อง อาทิ สาขาที่ สอศ. ระบุว่า เป็นสาขาขาดแคลน ก็ต้องมาพิจารณาว่าปัจจุบันยังเปิดสอนอยู่หรือไม่ และหากไม่มีการเปิดสอน อนาคตจะกลับมาเปิดสอนหรือไม่ รวมถึงหาก สอศ. ต้องการเปิดสอน จะมีสถาบันฝ่ายผลิต รับผลิตครูในสาขาดังกล่าวหรือไม่ หรือถ้าไม่มี สอศ. สามารถผลิตครูในสาขาขาดแคลนเหล่านี้ได้เองหรือไม่ ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาในส่วนของสาขาที่ต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญ อาทิ ช่างทองหลวง ช่างทำบาตรพระ เป็นต้น ที่ส่วนใหญ่ผู้ที่มีความชำนาญในด้านนี้จะสูงอายุ และไม่มีการสอนในระดับปริญญาตรี โดยจะต้องมาดูว่าจะมีช่องทางใดบ้างให้คนเหล่านี้สามารถมาสอน และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้อย่างถูกต้อง
“ผมจะใช้โอกาสนี้ พูดคุยกับทาง สอศ. ว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรจะต้องทบทวน อนาคตว่า สอศ. ต้องการจะเน้นสร้างเด็กที่มีคุณลักษณะเช่นไร เพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาประเทศในอนาคต ขณะเดียวกัน เป็นแนวทางให้สถาบันฝ่ายผลิตเอง ผลิตครูในสาขาที่เป็นความต้องการจริงๆ อย่างไรก็ตาม ผมยืนยันว่า การได้มาซึ่งใบประกอบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องเป็นไปตามระบบ เพราะมีข้อกฎหมายในการกำกับดูแล อีกทั้งระบบดังกล่าวยังเป็นระบบที่มุ่งส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพครูในภาพรวม ดังนั้น การให้ผู้ที่จบในสาขาวิชาชีพอื่น สามารถเป็นครูได้โดยอัตโนมัติ คงเป็นไปไม่ได้ แม้จะเป็นสาขาที่มีความต้องการอย่างมากก็ตาม”ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 ส.ค.) ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการศึกษา ปัญหาครูในสาขาขาดแคลน ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ว่า ในวันที่ 18 สิงหาคม 2557 ตนได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้ง สอศ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ฝ่ายสถาบันผลิตครูช่าง ได้แก่ กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) และสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) มาหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว เป็นนัดแรก ก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องมีการนัดหารือก่อนที่จะตั้งคณะกรรมการ เพราะเห็นว่า สอศ. ยังมีปัญหาอีกหลายเรื่อง อาทิ สาขาที่ สอศ. ระบุว่า เป็นสาขาขาดแคลน ก็ต้องมาพิจารณาว่าปัจจุบันยังเปิดสอนอยู่หรือไม่ และหากไม่มีการเปิดสอน อนาคตจะกลับมาเปิดสอนหรือไม่ รวมถึงหาก สอศ. ต้องการเปิดสอน จะมีสถาบันฝ่ายผลิต รับผลิตครูในสาขาดังกล่าวหรือไม่ หรือถ้าไม่มี สอศ. สามารถผลิตครูในสาขาขาดแคลนเหล่านี้ได้เองหรือไม่ ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาในส่วนของสาขาที่ต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญ อาทิ ช่างทองหลวง ช่างทำบาตรพระ เป็นต้น ที่ส่วนใหญ่ผู้ที่มีความชำนาญในด้านนี้จะสูงอายุ และไม่มีการสอนในระดับปริญญาตรี โดยจะต้องมาดูว่าจะมีช่องทางใดบ้างให้คนเหล่านี้สามารถมาสอน และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้อย่างถูกต้อง
“ผมจะใช้โอกาสนี้ พูดคุยกับทาง สอศ. ว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรจะต้องทบทวน อนาคตว่า สอศ. ต้องการจะเน้นสร้างเด็กที่มีคุณลักษณะเช่นไร เพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาประเทศในอนาคต ขณะเดียวกัน เป็นแนวทางให้สถาบันฝ่ายผลิตเอง ผลิตครูในสาขาที่เป็นความต้องการจริงๆ อย่างไรก็ตาม ผมยืนยันว่า การได้มาซึ่งใบประกอบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องเป็นไปตามระบบ เพราะมีข้อกฎหมายในการกำกับดูแล อีกทั้งระบบดังกล่าวยังเป็นระบบที่มุ่งส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพครูในภาพรวม ดังนั้น การให้ผู้ที่จบในสาขาวิชาชีพอื่น สามารถเป็นครูได้โดยอัตโนมัติ คงเป็นไปไม่ได้ แม้จะเป็นสาขาที่มีความต้องการอย่างมากก็ตาม”ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่