ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภาเปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้นำประเด็นที่มีการร้องเรียนว่า มีการทุจริตเรียกรับเงินในการดำเนินการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคุรุสภาจังหวัด ซึ่งในการประชุมร่วมกับฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีความห่วงใยและขอให้สำนักงานคุรุสภาดำเนินการด้วยความยุติธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ ขณะเดียวกัน นางสุทธศรี วงษสมาน ปลัด ศธ.ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ รมว.ศึกษาธิการ ยังทำได้หนังสือแจ้งมายังคณะกรรมการคุรุสภา ขอให้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน เพราะได้รับการร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน อย่างไรก็ตาม คุรุสภาไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้ตั้งคณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบในหลายช่องทาง ซึ่งพบว่าการดำเนินการค่อนข้างโปร่งใส ไม่มีเรื่องการรับเงินที่เป็นหลักฐานยืนยัน หรือแม้แต่ตัวเลขาธิการคุรุสภา ที่ถูกอ้างถึง ก็ยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยสามารถแจกแจงรายละเอียดต่าง ๆ ได้ชัดเจน
ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่สังคมกังขา และจับตามอง ดังนั้น ประชุมจึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการกลางที่มาจากบุคคลภายนอกสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และไม่ใช่คนในบอร์ดคุรุสภา ขึ้นมาตรวจสอบกระบวนการคัดเลือกตามประกาศของคุรุสภา เพื่อความเป็นธรรมและโปร่งใสอีกครั้ง โดยขอให้สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ คัดเลือกคณบดี 3 คน เพื่อมาตรวจสอบระบบกระบวนการดำเนินงาน และขอให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่งนิติกร มาเป็นเลขานุการ โดยให้ดำเนินการภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้จะต้องได้ทั้งรายชื่อผอ.สำนักงานคุรุสภาจังหวัด และผลการตรวจสอบระบบการสรรหา นำเสนอ คสช.ด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้ อนุกรรมการสรรหาผอ.คุรุสภาจังหวัด ที่เลขาธิการคุรุสภา เป็นประธานดำเนินการต่อไป เพื่อรวบรวมคะแนนมาดู เนื่องจากก่อนหน้านี้ ยังไม่มีการรวบรวมคะแนนผู้สมัครเพราะมีการหยุดดำเนินการเพื่อหารือกับ คสช. ดังนั้นจึงต้องให้คณะกรรมการชุดนี้ดำเนินการต่อ เพื่อจะได้นำคะแนนมาดู และตัดสินใจว่าใครมีความเหมาะสมที่จะเป็นผอ.สำนักงานคุรุสภาจังหวัด จากนั้นจะส่งรายชื่อให้คสช. อีกครั้งหนึ่ง
“ในขั้นตอนสุดท้าย คุรุสภาจะส่งรายชื่อผอ.สำนักงานคุรุสภาจังหวัดตัวจริงให้ คสช.พิจารณาและตัดสินใจ ส่วน คสช.จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็อยู่ในวิสัยของท่าน ถ้าคสช.ยังพบว่า มีบางคนที่คุรุสภาเสนอไปยังมีข้อกังขาอยู่ ก็ให้ตีกลับมา เพื่อคุรุสภา จะได้มาทบทวนเฉพาะคนนั้น ๆ ส่วนรายชื่อที่ คสช.เห็นชอบ ก็จะประกาศเป็นรายๆ ไป” ประธานบอร์ดคุรุสภา กล่าว และว่า หลังการแต่งตั้งแล้ว จะต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน และประเมินการทำงาน หาก ผอ.คุรุสภาจังหวัดคนใดไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ก็ต้องถูกออก เพราะในการทำสัญญา จะต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ภายใน 6 เดือน
ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่สังคมกังขา และจับตามอง ดังนั้น ประชุมจึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการกลางที่มาจากบุคคลภายนอกสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และไม่ใช่คนในบอร์ดคุรุสภา ขึ้นมาตรวจสอบกระบวนการคัดเลือกตามประกาศของคุรุสภา เพื่อความเป็นธรรมและโปร่งใสอีกครั้ง โดยขอให้สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ คัดเลือกคณบดี 3 คน เพื่อมาตรวจสอบระบบกระบวนการดำเนินงาน และขอให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่งนิติกร มาเป็นเลขานุการ โดยให้ดำเนินการภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้จะต้องได้ทั้งรายชื่อผอ.สำนักงานคุรุสภาจังหวัด และผลการตรวจสอบระบบการสรรหา นำเสนอ คสช.ด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้ อนุกรรมการสรรหาผอ.คุรุสภาจังหวัด ที่เลขาธิการคุรุสภา เป็นประธานดำเนินการต่อไป เพื่อรวบรวมคะแนนมาดู เนื่องจากก่อนหน้านี้ ยังไม่มีการรวบรวมคะแนนผู้สมัครเพราะมีการหยุดดำเนินการเพื่อหารือกับ คสช. ดังนั้นจึงต้องให้คณะกรรมการชุดนี้ดำเนินการต่อ เพื่อจะได้นำคะแนนมาดู และตัดสินใจว่าใครมีความเหมาะสมที่จะเป็นผอ.สำนักงานคุรุสภาจังหวัด จากนั้นจะส่งรายชื่อให้คสช. อีกครั้งหนึ่ง
“ในขั้นตอนสุดท้าย คุรุสภาจะส่งรายชื่อผอ.สำนักงานคุรุสภาจังหวัดตัวจริงให้ คสช.พิจารณาและตัดสินใจ ส่วน คสช.จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็อยู่ในวิสัยของท่าน ถ้าคสช.ยังพบว่า มีบางคนที่คุรุสภาเสนอไปยังมีข้อกังขาอยู่ ก็ให้ตีกลับมา เพื่อคุรุสภา จะได้มาทบทวนเฉพาะคนนั้น ๆ ส่วนรายชื่อที่ คสช.เห็นชอบ ก็จะประกาศเป็นรายๆ ไป” ประธานบอร์ดคุรุสภา กล่าว และว่า หลังการแต่งตั้งแล้ว จะต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน และประเมินการทำงาน หาก ผอ.คุรุสภาจังหวัดคนใดไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ก็ต้องถูกออก เพราะในการทำสัญญา จะต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ภายใน 6 เดือน