บอร์ดคุรุสภา ให้ สอศ. คิดวิธีการให้ครูช่างได้ตั๋วครู แล้วนำกลับเสนอ เล็งเพิ่มช่องทางดึงคนเป็นครู สั่งคุรุสภาทบทวนขั้นตอนแต่ต้องไม่ละทิ้งคุณภาพและมาตรฐาน พร้อมจัดระดมสมองปฏิรูปการศึกษา 1 ส.ค. นี้
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับปัญหาการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของครูในสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพราะปัจจุบัน ครูสายอาชีวศึกษาขาดแคลนเป็นจำนวนมาก และครูช่างส่วนใหญ่จะไม่ได้จบปริญญาในสาขาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ แต่จะจบสายอื่นๆ โดยเฉพาะวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ขณะเดียวกัน ทางอาชีวศึกษาก็เห็นว่า ระบบการขอรับใบอนุญาตฯ ตามปกติที่ใช้อยู่นั้น คือ ถ้าผู้มาเป็นครูแต่ไม่จบ ป.ตรี หรือ ป.โท ในสายการศึกษากำหนด เจ้าตัวต้องไปเรียนหลักสูตรประกาศณียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) วิชาชีพครูเพื่อมาขอใบอนุญาตฯภายใน 2 ปี ระหว่างนั้น ต้องมีการฝึกสอนด้วย ซึ่งทางอาชีวศึกษาเห็นว่าไม่เหมาะนำมาใช้กับครูสายอาชีวศึกษา ดังนั้น ที่ประชุมฯ จึงมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปคิดว่ากระบวนการขอใบอนุญาตฯ ของครูอาชีวศึกษา จะต้องมีลักษณะพิเศษใดบ้างและนำมาเสนอที่ประชุมคุรุสภาพิจารณา
ปัจจุบันคนสนใจเป็นครูมากขึ้น ผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นก็มาเปลี่ยนมาเป็นครู ช่องทางเป็นครูอาจไม่ครอบคลุมเพียงพอ ที่ประชุมจึงมอบให้สำนักงานคุรุสภา ไปตั้งกรรมการทบทวนกระบวนการเข้าสู่วิชาชีพครู ทั้งทบทวนกระบวนการที่ใช้อยู่และพิจารณาดูว่า ควรต้องเปิดเส้นทางอื่นๆ เพิ่มหรือไม่เพื่อให้คนอื่นมาเป็นครูได้ แต่ทั้งนี้ ทุกเส้นทางจะต้องรักษามาตรฐานในการกลั่นกรองผู้ที่จะเป็นครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน นอกจากนั้น ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ คุรุสภา จะจัดเสวนาทางวิชาการ ระดมผู้ที่เกี่ยวข้องกับแวดวงการศึกษา ทั้งนักวิชาการ ผู้แทนครู ผู้ที่ใช้ครู องค์กรเอกชน สถานประกอบการ มาสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา เพื่อประมวลเป็นข้อเสนอแนะ นำเสนอกระทรวงศึกษาธิการต่อไป รวมถึงนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับปัญหาการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของครูในสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพราะปัจจุบัน ครูสายอาชีวศึกษาขาดแคลนเป็นจำนวนมาก และครูช่างส่วนใหญ่จะไม่ได้จบปริญญาในสาขาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ แต่จะจบสายอื่นๆ โดยเฉพาะวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ขณะเดียวกัน ทางอาชีวศึกษาก็เห็นว่า ระบบการขอรับใบอนุญาตฯ ตามปกติที่ใช้อยู่นั้น คือ ถ้าผู้มาเป็นครูแต่ไม่จบ ป.ตรี หรือ ป.โท ในสายการศึกษากำหนด เจ้าตัวต้องไปเรียนหลักสูตรประกาศณียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) วิชาชีพครูเพื่อมาขอใบอนุญาตฯภายใน 2 ปี ระหว่างนั้น ต้องมีการฝึกสอนด้วย ซึ่งทางอาชีวศึกษาเห็นว่าไม่เหมาะนำมาใช้กับครูสายอาชีวศึกษา ดังนั้น ที่ประชุมฯ จึงมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปคิดว่ากระบวนการขอใบอนุญาตฯ ของครูอาชีวศึกษา จะต้องมีลักษณะพิเศษใดบ้างและนำมาเสนอที่ประชุมคุรุสภาพิจารณา
ปัจจุบันคนสนใจเป็นครูมากขึ้น ผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นก็มาเปลี่ยนมาเป็นครู ช่องทางเป็นครูอาจไม่ครอบคลุมเพียงพอ ที่ประชุมจึงมอบให้สำนักงานคุรุสภา ไปตั้งกรรมการทบทวนกระบวนการเข้าสู่วิชาชีพครู ทั้งทบทวนกระบวนการที่ใช้อยู่และพิจารณาดูว่า ควรต้องเปิดเส้นทางอื่นๆ เพิ่มหรือไม่เพื่อให้คนอื่นมาเป็นครูได้ แต่ทั้งนี้ ทุกเส้นทางจะต้องรักษามาตรฐานในการกลั่นกรองผู้ที่จะเป็นครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน นอกจากนั้น ในวันที่ 1 ส.ค.นี้ คุรุสภา จะจัดเสวนาทางวิชาการ ระดมผู้ที่เกี่ยวข้องกับแวดวงการศึกษา ทั้งนักวิชาการ ผู้แทนครู ผู้ที่ใช้ครู องค์กรเอกชน สถานประกอบการ มาสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา เพื่อประมวลเป็นข้อเสนอแนะ นำเสนอกระทรวงศึกษาธิการต่อไป รวมถึงนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่