“กมล” มั่นใจการศึกษาไทยไม่ตกต่ำรั้งท้ายอาเซียน แบบที่ปรากฏในการประเมินนานาชาติ ชี้การพัฒนาคุณภาพเด็กต้องทำร่วมกันทั้งระบบ
วันนี้ (18 ก.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ที่มี นายสุรัตน์ ศิลปอนันต์ เป็นประธาน กพฐ. ว่า ได้มีการหารือสอบถามความเห็นจากกรรมการ กพฐ. ในประเด็นการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ว่ามีข้อเสนอคิดเห็นอะไรบ้าง ซึ่งที่ประชุมได้เสนอความเห็นว่ากระบวนการเสนอแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาควรจะ ทำเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรกปัญหาที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาและสามารถแก้ไขได้เลยเพราะไม่จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปการศึกษาน่าจะนำเสนอในช่วง 2 - 3 เดือนนี้ อย่างเช่น ปัญหาใบประกอบวิชาชีพครู โครงสร้างกระทรวง อำนาจของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขต พื้นที่การศึกษา เป็นต้น ส่วนระยะที่สองจะเสนอแผนการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
“แม้จะมีข้อมูลการประเมินระดับนานาชาติต่างๆ ที่ผ่านมาที่ระบุว่า การศึกษาไทยอยู่ระดับท้ายๆ ของอาเซียนนั้น สพฐ. ก็คงไม่ปฏิเสธในผลการประเมิน แต่ผมก็ยืนยันว่าการศึกษาไทยไม่ได้ตกต่ำขนาดนั้นและคิดว่าการพัฒนาคุณภาพเด็ก ต้องทำเป็นองค์รวมไม่ได้ทำเฉพาะคุณภาพวิชาการอย่างเดียว แต่ต้องมีคุณลักษณะและความสามารถพิเศษอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การส่งเสริมมารยาทความเป็นไทย เพราะถือเป็นเอกลักษณ์ของเด็กไทยใน อนาคต” นายกมล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ก.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ที่มี นายสุรัตน์ ศิลปอนันต์ เป็นประธาน กพฐ. ว่า ได้มีการหารือสอบถามความเห็นจากกรรมการ กพฐ. ในประเด็นการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ว่ามีข้อเสนอคิดเห็นอะไรบ้าง ซึ่งที่ประชุมได้เสนอความเห็นว่ากระบวนการเสนอแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาควรจะ ทำเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรกปัญหาที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาและสามารถแก้ไขได้เลยเพราะไม่จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการปฏิรูปการศึกษาน่าจะนำเสนอในช่วง 2 - 3 เดือนนี้ อย่างเช่น ปัญหาใบประกอบวิชาชีพครู โครงสร้างกระทรวง อำนาจของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขต พื้นที่การศึกษา เป็นต้น ส่วนระยะที่สองจะเสนอแผนการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
“แม้จะมีข้อมูลการประเมินระดับนานาชาติต่างๆ ที่ผ่านมาที่ระบุว่า การศึกษาไทยอยู่ระดับท้ายๆ ของอาเซียนนั้น สพฐ. ก็คงไม่ปฏิเสธในผลการประเมิน แต่ผมก็ยืนยันว่าการศึกษาไทยไม่ได้ตกต่ำขนาดนั้นและคิดว่าการพัฒนาคุณภาพเด็ก ต้องทำเป็นองค์รวมไม่ได้ทำเฉพาะคุณภาพวิชาการอย่างเดียว แต่ต้องมีคุณลักษณะและความสามารถพิเศษอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การส่งเสริมมารยาทความเป็นไทย เพราะถือเป็นเอกลักษณ์ของเด็กไทยใน อนาคต” นายกมล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่