เลขาธิการ กพฐ. คนใหม่ เร่งขยายโครงการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม ให้ครอบคลุม ร.ร. ทุกแห่ง 100% เพื่อถวายในหลวง “กมล” ยันทำให้ครบภายใน 5 ธันวาปีนี้ ซึ่ง นร. ทุกคนจะได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษารูปแบบต่างๆ พร้อมวาง 4 แนวทางทำงานตามนโยบาย คสช. พร้อมตั้งคณะทำงานปฏิรูปของ สพฐ. ทำงานล้อไปกับ คกก. ระดับชาติที่ ศธ. จัดตั้งขึ้นเพื่อทำพิมพ์เขียวปฏิรูปการศึกษา
วันนี้ (30 มิ.ย.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งให้ตนดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กพฐ. นั้น เบื้องต้นได้กำหนดทิศทางการทำงานตามนโยบายของ คสช. ไว้ 4 นโยบาย ดังนี้ 1. การปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อสร้างคนไทยในศตวรรษที่ 21 ให้มีคุณลักษณะตามที่ต้องการ โดยเฉพาะมีความรักชาติและสามัคคี ซึ่งถ้าแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ ก็คือ การแยกวิชาประวัติศาสตร์และวิชาหน้าที่พลเมือง ที่ขณะนี้ สพฐ. กำลังอยู่ระหว่างเร่งการดำเนินการปรับปรุงการเรียนการสอน 2. การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เนื่องจากขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียนมาเป็นการจัดทำห้องเรียนอัจฉริยะ หรือห้องเรียนสมาร์ทคลาสรูม เพื่อให้นักเรียนทุกชั้นปีได้มีโอกาสเข้าไปใช้งานแทน โดยขณะนี้ สพฐ. กำลังเสนอเรื่องไปยังสำนักงบประมาณเพื่อขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 2556 - 2557 มาใช้ในการจัดทำห้องสมาร์ทคลาสรูม เบื้องต้นจะได้ประมาณ 15,000 - 18,000 ห้องเรียน รวมทั้งขอเปลี่ยนชื่อโครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ขณะเดียวกัน สพฐ. ได้จัดทำรายละเอียดของโครงการดังกล่าวส่งให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ของ คสช .แล้วเร็วๆ นี้ คงจะได้มีการหารือและขอความเห็นชอบต่อไป
“นอกจากนี้ สพฐ. ยังได้หารือจะสานต่อโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนวังไกลกังวล ให้สมบูรณ์ 100% ปัจจุบันมีการติดตั้งจานดาวเทียมและชุดรับสัญญาณให้โรงเรียนส่วนใหญ่ในสังกัด สพฐ. แล้วเพื่อรับชมรายการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่ถ่ายทอดจากโรงเรียนวังไกลกังวล เหลือโรงเรียนอีกจำนวนไม่มากที่ยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์การรับสัญญาณ ซึ่ง สพฐ. จะเร่งติดตั้งให้ครบทุกโรงเรียนและในวันที่ 5 ธันวาคม 2557 สพฐ. จะประกาศว่า จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมได้ครบทั่วประเทศ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้พระองค์ท่านทรงสบายพระทัยว่าโครงการในพระราชดำริของพระองค์ที่ทรงทำมานานได้กระจายไปสู่นักเรียนได้ทั่วถึง ซึ่งเมื่อทำสำเร็จเท่ากับว่านักเรียนทุกคนนจะมีโอกาสได้สัมผัสเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นห้องสมาร์ทคลาสรูม ห้องคอมพิวเตอร์และการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
นายกมล กล่าวต่อว่า นโยบายที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ำทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพการศึกษา เพราะปัจจุบันความเหลื่อมล้ำในเชิงปริมาณค่อนข้างบรรเทาลง เพราะว่าเด็กส่วนใหญ่ได้มีโอกาสเข้าเรียนและมีทุนการศึกษารูปแบบต่างๆ ให้เด็กด้วยแต่ยังมีความล้ำเชิงคุณภาพการศึกษาอยู่ โดยเฉพาะโรงเรียนในเมืองและพื้นที่ห่างไกล เพราะฉะนั้นภารกิจหลักของ สพฐ. คือ การยกระดับโรงเรียนให้เท่าเทียมกัน การแก้ปัญหาอ่านออกเขียนได้ การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ และการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ โดยเฉพาะการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net และ 4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการในด้านต่างๆ อาทิ การปรับปรุงระบบค่าใช้จ่ายรายหัว ทั้งนี้ การสนองนโยบายทั้ง 4 ข้อของ คสช. เป็นภารกิจเฉพาะหน้าแต่ภารกิจระยะยาวของ สพฐ. คือ การปฏิรูปการศึกษา ซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะมีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมากำหนดพิมพ์เขียวการศึกษาชาติ และ สพฐ. จะตั้งกรรมการของ สพฐ. ขึ้นมาทำงานล้อกับคณะกรรมการชุดดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนการมอบหมายงานจาก นายอภิชาติ จีระวุฒิ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขาธิการ กพฐ. นั้นได้ฝากงานให้สานต่อใน 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. การพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาตามกรอบแนวทางที่ สพฐ. วางไว้ 2. ให้ระมัดระวังเรื่องการจัดสอบบรรรจุข้าราชการครูเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ เพราะ สพฐ. เป็นองค์กรใหญ่เมื่อมีการจัดสอบอะไรจะกระทบกับคนจำนวนมาก
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (30 มิ.ย.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งให้ตนดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ กพฐ. นั้น เบื้องต้นได้กำหนดทิศทางการทำงานตามนโยบายของ คสช. ไว้ 4 นโยบาย ดังนี้ 1. การปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อสร้างคนไทยในศตวรรษที่ 21 ให้มีคุณลักษณะตามที่ต้องการ โดยเฉพาะมีความรักชาติและสามัคคี ซึ่งถ้าแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ ก็คือ การแยกวิชาประวัติศาสตร์และวิชาหน้าที่พลเมือง ที่ขณะนี้ สพฐ. กำลังอยู่ระหว่างเร่งการดำเนินการปรับปรุงการเรียนการสอน 2. การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เนื่องจากขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียนมาเป็นการจัดทำห้องเรียนอัจฉริยะ หรือห้องเรียนสมาร์ทคลาสรูม เพื่อให้นักเรียนทุกชั้นปีได้มีโอกาสเข้าไปใช้งานแทน โดยขณะนี้ สพฐ. กำลังเสนอเรื่องไปยังสำนักงบประมาณเพื่อขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 2556 - 2557 มาใช้ในการจัดทำห้องสมาร์ทคลาสรูม เบื้องต้นจะได้ประมาณ 15,000 - 18,000 ห้องเรียน รวมทั้งขอเปลี่ยนชื่อโครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ขณะเดียวกัน สพฐ. ได้จัดทำรายละเอียดของโครงการดังกล่าวส่งให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ของ คสช .แล้วเร็วๆ นี้ คงจะได้มีการหารือและขอความเห็นชอบต่อไป
“นอกจากนี้ สพฐ. ยังได้หารือจะสานต่อโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โรงเรียนวังไกลกังวล ให้สมบูรณ์ 100% ปัจจุบันมีการติดตั้งจานดาวเทียมและชุดรับสัญญาณให้โรงเรียนส่วนใหญ่ในสังกัด สพฐ. แล้วเพื่อรับชมรายการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่ถ่ายทอดจากโรงเรียนวังไกลกังวล เหลือโรงเรียนอีกจำนวนไม่มากที่ยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์การรับสัญญาณ ซึ่ง สพฐ. จะเร่งติดตั้งให้ครบทุกโรงเรียนและในวันที่ 5 ธันวาคม 2557 สพฐ. จะประกาศว่า จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมได้ครบทั่วประเทศ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้พระองค์ท่านทรงสบายพระทัยว่าโครงการในพระราชดำริของพระองค์ที่ทรงทำมานานได้กระจายไปสู่นักเรียนได้ทั่วถึง ซึ่งเมื่อทำสำเร็จเท่ากับว่านักเรียนทุกคนนจะมีโอกาสได้สัมผัสเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นห้องสมาร์ทคลาสรูม ห้องคอมพิวเตอร์และการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
นายกมล กล่าวต่อว่า นโยบายที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ำทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพการศึกษา เพราะปัจจุบันความเหลื่อมล้ำในเชิงปริมาณค่อนข้างบรรเทาลง เพราะว่าเด็กส่วนใหญ่ได้มีโอกาสเข้าเรียนและมีทุนการศึกษารูปแบบต่างๆ ให้เด็กด้วยแต่ยังมีความล้ำเชิงคุณภาพการศึกษาอยู่ โดยเฉพาะโรงเรียนในเมืองและพื้นที่ห่างไกล เพราะฉะนั้นภารกิจหลักของ สพฐ. คือ การยกระดับโรงเรียนให้เท่าเทียมกัน การแก้ปัญหาอ่านออกเขียนได้ การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ และการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ โดยเฉพาะการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net และ 4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการในด้านต่างๆ อาทิ การปรับปรุงระบบค่าใช้จ่ายรายหัว ทั้งนี้ การสนองนโยบายทั้ง 4 ข้อของ คสช. เป็นภารกิจเฉพาะหน้าแต่ภารกิจระยะยาวของ สพฐ. คือ การปฏิรูปการศึกษา ซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะมีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมากำหนดพิมพ์เขียวการศึกษาชาติ และ สพฐ. จะตั้งกรรมการของ สพฐ. ขึ้นมาทำงานล้อกับคณะกรรมการชุดดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนการมอบหมายงานจาก นายอภิชาติ จีระวุฒิ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขาธิการ กพฐ. นั้นได้ฝากงานให้สานต่อใน 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. การพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาตามกรอบแนวทางที่ สพฐ. วางไว้ 2. ให้ระมัดระวังเรื่องการจัดสอบบรรรจุข้าราชการครูเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ เพราะ สพฐ. เป็นองค์กรใหญ่เมื่อมีการจัดสอบอะไรจะกระทบกับคนจำนวนมาก
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่