โดย...อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ได้มีแนวคิดและข้อเสนอแนะที่มีนัยสำคัญต่อการศึกษาไทย โดยเฉพาะประเด็นความมุ่งหมายเข้มข้นในการปลูกฝังจิตสำนึกรักชาติและคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม ทำให้หลายสำนักได้รายงานข่าวตรงกันว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เตรียมบรรจุหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม หน้าที่พลเมือง เพิ่มจิตสำนึกรักชาติ เป็นวิชาเรียนหลัก เพื่อให้เด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติและรู้สิทธิหน้าที่ของตนเอง โดยนายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวในรายการเดินหน้าประเทศไทย ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าขานรับแนวคิดและข้อเสนอแนะดังกล่าว
เมื่อปีกลาย ผู้เขียนได้เสนอบทความ เรื่อง ข้อเสนอแนะประเทศไทย (2) : กรณีปฏิรูปการศึกษาไทย ตอนเหลียวหลัง ก่อนหยั่งสู่อนาคต เผยแพร่ในสื่อผู้จัดการออนไลน์ เพื่อแสดงทัศนะต่อพัฒนาการของการศึกษาไทย ใจความสำคัญของบทความสรุปว่า ประเทศไทย มีวาระปฏิรูปการศึกษาหลายยุคหลายสมัยในหลายรัฐบาล โดยมีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาทุกระดับหลายครั้งซึ่งคิดเฉลี่ยจะอยู่ในรอบสิบปี เปลี่ยนหลักสูตรหนึ่งครั้ง และในแต่ละครั้งมีแนวคิดหรือนโยบายการปฏิรูปการศึกษาหลากหลาย จากการแสดงเจตจำนงของนักวิชาการศึกษาแนวหน้าที่คิดว่า ประสงค์ให้การศึกษาไทยมีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงดัดแปลงหรือนำแนวคิดระบบการศึกษาของชาติตะวันตกมาสวมลงในระบบการศึกษาไทย เพื่อให้ตอบโจทย์ว่า ประเทศไทยได้พัฒนาทรัพยากรบุคคลผ่านระบบการศึกษาแบบก้าวกระโดด และยอมรับว่าหลายครั้งที่ระบบการศึกษาไทยได้เผชิญกับความล้มเหลวในการนำหลักคิดและนโยบายการศึกษาที่คิดอยู่ในความฝันไปสู่ภาคปฏิบัติ จนเป็นที่มาของวาทกรรมทางการศึกษา ว่า นักเรียนไทย คือหนูทดลองใช้หลักสูตรการศึกษา
ข้อสังเกตเกี่ยวกับพลวัตพัฒนาการของการศึกษาไทย ภายใต้บริบทของแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาว่า ระบบการศึกษาไทยที่ตราระเบียบ ข้อปฏิบัติหรือแนวปฏิบัติต่างๆ ยังมีข้อจำกัดด้านความเข้าใจของผู้กำกับนโยบายและผู้ปฏิบัติตามนโยบายที่ยังเดินสวนทางกัน เช่น การแบ่งระบบการศึกษา 3 ประเภท คือ การศึกษานอกระบบ ในระบบและตามอัธยาศัย ยังขาดการเชื่อมโยงสู่กัน ไม่มีวิธีการสร้างความยอมรับการในเทียบโอนความรู้หรือถ่ายโอนความรู้ระหว่างกัน และการศึกษาในระบบยังไม่สามารถใช้ชีวิตจริงเป็นตัวตั้งได้ เพราะผู้เรียนต้องใช้เนื้อหาสาระในหลักสูตรเป็นหลัก รวมทั้งในสภาพที่การศึกษาต้องรอมิติทางการเมืองมาขับเคลื่อน จึงทำให้เกิดจุดด้อยและไม่เต็มประสิทธิภาพตามหลักการและจุดมุ่งหมายของการศึกษาชาติ จากตัวอย่างสภาพปัญหาของการศึกษาที่ผ่านมา จึงส่งผลกระทบเป็นโดมิโนถึงกันระหว่างผู้กำกับนโยบายการศึกษาของชาติ (ที่อิงฝ่ายการเมือง) กับผู้ขับเคลื่อนซึ่งเป็นหน่วยงานตรงกลาง (หน่วยงานบริหารการศึกษากระทรวง กรม สำนักงานด้านการศึกษา) และผู้ปฏิบัติตาม
ค่านิยมความรักชาติ เปลี่ยนแปลงไปจากผลพวงของการศึกษาส่วนหนึ่ง ซึ่งมีความเข้มข้นในการปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ด้วยท่าทีเหมือนจะลดลงไปและไม่ต่อเนื่อง เพราะเวลาของผู้เรียนถูกใช้ไปกับเนื้อหาสาระที่เรียนเป็นจำนวนมาก ตามข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางที่บังคับสถานศึกษาไว้ โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการศึกษาหลักสูตรของต่างประเทศและเพื่อนบ้านอาเซียน ที่ให้ความสำคัญกับวิชาประวัติศาสตร์ความเป็นพลเมือง และหน้าที่ศีลธรรม พบว่า ออสเตรเลีย ฮ่องกง ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สวีเดน อังกฤษ อเมริกา มาเลเซีย และสิงคโปร์ ให้ความสำคัญกับการศึกษาประวัติศาสตร์มาก ซึ่งจัดมีการเรียนการสอนถึงระดับอุดมศึกษาเป็นวิชาเอก โดยมีความมุ่งหมายของหลักสูตรไม่ต่างจากแนวคิดที่บ้านเมืองเราต้องการ แต่เมื่อมองย้อนกลับไปดูหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2521 ของไทยที่ได้จัดหลักสูตรแบ่งเป็น 5 กลุ่มประสบการณ์ตามหลักสูตรนั้น ได้มีการบรรจุรายวิชาหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ไว้อย่างสมดุล โดยครูผู้สอนแบ่งเวลาเรียน-สอนและบูรณาการเนื้อหากับวิธีการเรียนการสอน ที่สามารถศึกษาแนวคิดและวิธีการนั้นเป็นกรณีตัวอย่างได้
อนึ่ง ผู้เขียน ยังคิดเห็นว่า คงต้องยอมรับความจริงถึงปัจจัยทางการเมืองที่ได้ครอบงำและมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาไทยมาระยะหนึ่ง จึงทำให้ค่านิยมทางการเมืองและค่านิยมความรักชาติ รวมไปถึงค่านิยมการคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม เปลี่ยนแปลงไป และผลพวงของนโยบายประชานิยมอาจเป็นคำตอบหนึ่งที่ผูกติดกันไว้ด้วย โดยสิ่งเหล่านี้จะต้องศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบข้อสมมติฐานเพิ่มขึ้น และจากสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนคิดว่า คนไทยคงจะต้องร่วมขอบคุณวิกฤตการณ์ต่างๆ ของชาติ ที่ผ่านมา ซึ่งจะได้ใช้เป็นบทเรียนในการทบทวนและร่วมเดินหน้าประเทศไทย เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งชาติ
จากบริบทของการศึกษาไทยในเบื้องต้น และสภาพปัญหาของสังคมไทยส่วนหนึ่ง ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะต่อการบรรจุวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม และหน้าที่พลเมืองต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ได้แก่
1. ควรถือโอกาสทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปัจจุบัน ก่อนจะปรับปรุงเป็นหลักสูตรใหม่ 6 กลุ่มประสบการณ์ที่คิดจะทำ และคิดจะประกาศใช้ โดยควรพินิจเนื้อหาสาระมากเกินความจำเป็นต่อผู้เรียน โดยวิธีการยุบหรือควบรวมให้เป็นเนื้อหาเดียว จากสาระการเรียนรู้ที่ซ้ำซ้อนกันอยู่
2. การบรรจุวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม และหน้าที่พลเมือง ควรมีข้อเสนอแนะและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา โดยไม่ใช่เน้นความรู้ความจำ แต่ควรเน้นผลการนำไปสู่ภาคปฏิบัติ
3. กระบวนการวัดผลการเรียนรู้ในวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม และหน้าที่พลเมือง ควรเน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี โดยมีตัวชี้วัดด้านกระบวนการปฏิบัติที่วัดผลและประเมินผลจากการปฏิบัติจริง
4. ควรมีการศึกษาวิจัยถึงผลลัพธ์และผลกระทบที่มีต่อวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม และหน้าที่พลเมือง ต่อผู้เรียนในทุกระดับการศึกษา
5. ควรสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทุกภาคส่วน และให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังค่านิยมสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มุ่งหมายเพื่อประเทศของเรา
ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดและข้อเสนอแนะของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการพัฒนาค่านิยมด้านความรักชาติและต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะรู้ซึ้งและเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติและรู้สิทธิหน้าที่ของตนเอง โดยเสนอให้บรรจุวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม และหน้าที่พลเมือง ให้กับผู้เรียนทุกระดับการศึกษา จึงเป็นมิติสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ที่เริ่มต้นจากการศึกษา โดยการปลูกฝังลงไปที่ผู้เรียนซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนของชาติ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงนักการเมืองและนักเขียนคนสำคัญของอังกฤษอย่าง เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) ซึ่งเคยกล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ ไว้ว่า “Those Who do not Know History are Destined to Repeat it.” “ผู้ไม่รู้ประวัติศาสตร์ มักจะกระทำซ้ำรอยเดิม” จึงขอร่วมเป็นหนึ่งแรงคิด หนึ่งแรงกายและหนึ่งแรงใจ ของคนไทย ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย เพื่อความสงบสุขของคนไทยทั้งประเทศ
คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ได้มีแนวคิดและข้อเสนอแนะที่มีนัยสำคัญต่อการศึกษาไทย โดยเฉพาะประเด็นความมุ่งหมายเข้มข้นในการปลูกฝังจิตสำนึกรักชาติและคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม ทำให้หลายสำนักได้รายงานข่าวตรงกันว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เตรียมบรรจุหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม หน้าที่พลเมือง เพิ่มจิตสำนึกรักชาติ เป็นวิชาเรียนหลัก เพื่อให้เด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติและรู้สิทธิหน้าที่ของตนเอง โดยนายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวในรายการเดินหน้าประเทศไทย ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าขานรับแนวคิดและข้อเสนอแนะดังกล่าว
เมื่อปีกลาย ผู้เขียนได้เสนอบทความ เรื่อง ข้อเสนอแนะประเทศไทย (2) : กรณีปฏิรูปการศึกษาไทย ตอนเหลียวหลัง ก่อนหยั่งสู่อนาคต เผยแพร่ในสื่อผู้จัดการออนไลน์ เพื่อแสดงทัศนะต่อพัฒนาการของการศึกษาไทย ใจความสำคัญของบทความสรุปว่า ประเทศไทย มีวาระปฏิรูปการศึกษาหลายยุคหลายสมัยในหลายรัฐบาล โดยมีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาทุกระดับหลายครั้งซึ่งคิดเฉลี่ยจะอยู่ในรอบสิบปี เปลี่ยนหลักสูตรหนึ่งครั้ง และในแต่ละครั้งมีแนวคิดหรือนโยบายการปฏิรูปการศึกษาหลากหลาย จากการแสดงเจตจำนงของนักวิชาการศึกษาแนวหน้าที่คิดว่า ประสงค์ให้การศึกษาไทยมีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงดัดแปลงหรือนำแนวคิดระบบการศึกษาของชาติตะวันตกมาสวมลงในระบบการศึกษาไทย เพื่อให้ตอบโจทย์ว่า ประเทศไทยได้พัฒนาทรัพยากรบุคคลผ่านระบบการศึกษาแบบก้าวกระโดด และยอมรับว่าหลายครั้งที่ระบบการศึกษาไทยได้เผชิญกับความล้มเหลวในการนำหลักคิดและนโยบายการศึกษาที่คิดอยู่ในความฝันไปสู่ภาคปฏิบัติ จนเป็นที่มาของวาทกรรมทางการศึกษา ว่า นักเรียนไทย คือหนูทดลองใช้หลักสูตรการศึกษา
ข้อสังเกตเกี่ยวกับพลวัตพัฒนาการของการศึกษาไทย ภายใต้บริบทของแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาว่า ระบบการศึกษาไทยที่ตราระเบียบ ข้อปฏิบัติหรือแนวปฏิบัติต่างๆ ยังมีข้อจำกัดด้านความเข้าใจของผู้กำกับนโยบายและผู้ปฏิบัติตามนโยบายที่ยังเดินสวนทางกัน เช่น การแบ่งระบบการศึกษา 3 ประเภท คือ การศึกษานอกระบบ ในระบบและตามอัธยาศัย ยังขาดการเชื่อมโยงสู่กัน ไม่มีวิธีการสร้างความยอมรับการในเทียบโอนความรู้หรือถ่ายโอนความรู้ระหว่างกัน และการศึกษาในระบบยังไม่สามารถใช้ชีวิตจริงเป็นตัวตั้งได้ เพราะผู้เรียนต้องใช้เนื้อหาสาระในหลักสูตรเป็นหลัก รวมทั้งในสภาพที่การศึกษาต้องรอมิติทางการเมืองมาขับเคลื่อน จึงทำให้เกิดจุดด้อยและไม่เต็มประสิทธิภาพตามหลักการและจุดมุ่งหมายของการศึกษาชาติ จากตัวอย่างสภาพปัญหาของการศึกษาที่ผ่านมา จึงส่งผลกระทบเป็นโดมิโนถึงกันระหว่างผู้กำกับนโยบายการศึกษาของชาติ (ที่อิงฝ่ายการเมือง) กับผู้ขับเคลื่อนซึ่งเป็นหน่วยงานตรงกลาง (หน่วยงานบริหารการศึกษากระทรวง กรม สำนักงานด้านการศึกษา) และผู้ปฏิบัติตาม
ค่านิยมความรักชาติ เปลี่ยนแปลงไปจากผลพวงของการศึกษาส่วนหนึ่ง ซึ่งมีความเข้มข้นในการปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ด้วยท่าทีเหมือนจะลดลงไปและไม่ต่อเนื่อง เพราะเวลาของผู้เรียนถูกใช้ไปกับเนื้อหาสาระที่เรียนเป็นจำนวนมาก ตามข้อกำหนดของหลักสูตรแกนกลางที่บังคับสถานศึกษาไว้ โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการศึกษาหลักสูตรของต่างประเทศและเพื่อนบ้านอาเซียน ที่ให้ความสำคัญกับวิชาประวัติศาสตร์ความเป็นพลเมือง และหน้าที่ศีลธรรม พบว่า ออสเตรเลีย ฮ่องกง ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สวีเดน อังกฤษ อเมริกา มาเลเซีย และสิงคโปร์ ให้ความสำคัญกับการศึกษาประวัติศาสตร์มาก ซึ่งจัดมีการเรียนการสอนถึงระดับอุดมศึกษาเป็นวิชาเอก โดยมีความมุ่งหมายของหลักสูตรไม่ต่างจากแนวคิดที่บ้านเมืองเราต้องการ แต่เมื่อมองย้อนกลับไปดูหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2521 ของไทยที่ได้จัดหลักสูตรแบ่งเป็น 5 กลุ่มประสบการณ์ตามหลักสูตรนั้น ได้มีการบรรจุรายวิชาหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ไว้อย่างสมดุล โดยครูผู้สอนแบ่งเวลาเรียน-สอนและบูรณาการเนื้อหากับวิธีการเรียนการสอน ที่สามารถศึกษาแนวคิดและวิธีการนั้นเป็นกรณีตัวอย่างได้
อนึ่ง ผู้เขียน ยังคิดเห็นว่า คงต้องยอมรับความจริงถึงปัจจัยทางการเมืองที่ได้ครอบงำและมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาไทยมาระยะหนึ่ง จึงทำให้ค่านิยมทางการเมืองและค่านิยมความรักชาติ รวมไปถึงค่านิยมการคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม เปลี่ยนแปลงไป และผลพวงของนโยบายประชานิยมอาจเป็นคำตอบหนึ่งที่ผูกติดกันไว้ด้วย โดยสิ่งเหล่านี้จะต้องศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบข้อสมมติฐานเพิ่มขึ้น และจากสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนคิดว่า คนไทยคงจะต้องร่วมขอบคุณวิกฤตการณ์ต่างๆ ของชาติ ที่ผ่านมา ซึ่งจะได้ใช้เป็นบทเรียนในการทบทวนและร่วมเดินหน้าประเทศไทย เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งชาติ
จากบริบทของการศึกษาไทยในเบื้องต้น และสภาพปัญหาของสังคมไทยส่วนหนึ่ง ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะต่อการบรรจุวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม และหน้าที่พลเมืองต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ได้แก่
1. ควรถือโอกาสทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปัจจุบัน ก่อนจะปรับปรุงเป็นหลักสูตรใหม่ 6 กลุ่มประสบการณ์ที่คิดจะทำ และคิดจะประกาศใช้ โดยควรพินิจเนื้อหาสาระมากเกินความจำเป็นต่อผู้เรียน โดยวิธีการยุบหรือควบรวมให้เป็นเนื้อหาเดียว จากสาระการเรียนรู้ที่ซ้ำซ้อนกันอยู่
2. การบรรจุวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม และหน้าที่พลเมือง ควรมีข้อเสนอแนะและพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา โดยไม่ใช่เน้นความรู้ความจำ แต่ควรเน้นผลการนำไปสู่ภาคปฏิบัติ
3. กระบวนการวัดผลการเรียนรู้ในวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม และหน้าที่พลเมือง ควรเน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี โดยมีตัวชี้วัดด้านกระบวนการปฏิบัติที่วัดผลและประเมินผลจากการปฏิบัติจริง
4. ควรมีการศึกษาวิจัยถึงผลลัพธ์และผลกระทบที่มีต่อวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม และหน้าที่พลเมือง ต่อผู้เรียนในทุกระดับการศึกษา
5. ควรสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทุกภาคส่วน และให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังค่านิยมสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่มุ่งหมายเพื่อประเทศของเรา
ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดและข้อเสนอแนะของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการพัฒนาค่านิยมด้านความรักชาติและต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะรู้ซึ้งและเห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติและรู้สิทธิหน้าที่ของตนเอง โดยเสนอให้บรรจุวิชาประวัติศาสตร์ ศีลธรรม และหน้าที่พลเมือง ให้กับผู้เรียนทุกระดับการศึกษา จึงเป็นมิติสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ที่เริ่มต้นจากการศึกษา โดยการปลูกฝังลงไปที่ผู้เรียนซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนของชาติ ทำให้ผู้เขียนนึกถึงนักการเมืองและนักเขียนคนสำคัญของอังกฤษอย่าง เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) ซึ่งเคยกล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ ไว้ว่า “Those Who do not Know History are Destined to Repeat it.” “ผู้ไม่รู้ประวัติศาสตร์ มักจะกระทำซ้ำรอยเดิม” จึงขอร่วมเป็นหนึ่งแรงคิด หนึ่งแรงกายและหนึ่งแรงใจ ของคนไทย ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย เพื่อความสงบสุขของคนไทยทั้งประเทศ