“วุฒิสาร” แนะ อปท.จัดการศึกษาให้ได้คุณภาพต้องแก้ที่กระบวนการ-วิธีการ เน้นใช้ทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นช่วยขับเคลื่อนตอบโจทย์ของพื้นที่ ชี้เงินไม่ใช่คำตอบยิ่งทุ่มเท่าไรผลสัมฤทธิ์เด็กไทยยิ่งตกต่ำ ขณะที่ “สมัชชา ร.ร.สังกั ดอปท.” เสนอ 7 กลไก เตรียมยื่นรัฐบาลใหม่ปฏิรูปการศึกษา
รศ.วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวในเวทีสมัชชาเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา : เครือข่ายโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า หนึ่งในปัญหาสำคัญของไทยคือ ความแตกต่างทางสังคม เศรษฐกิจ อปท.เป็นจุดสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างและเป็นคานงัดสำคัญของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำต่างๆ ข้อได้เปรียบของ อปท.ต่อกระบวนการจัดการศึกษาคือ อปท.มีต้นทุนทรัพยากรในพื้นที่ที่หลากหลายทั้งทุนคน ทุนภูมิความรู้ ฯลฯ อีกทั้งยังยืดหยุ่นและคล่องตัวกว่าระบบของกระทรวงศึกษาธิการ หากวางแนวทางปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและภูมิสังคม โดยใช้ปัญหาของสังคมหรือพื้นที่นั้นๆ เป็นโจทย์ขับเคลื่อนการเรียนการสอน ไม่เพียงแต่จะสร้างคุณภาพการศึกษา แต่ยังช่วยเรื่องทักษะดำรงชีวิตของเด็กด้วย มองว่าที่ผ่านมางบประมาณไม่ใช่คำตอบ เพราะยิ่งใส่งบประมาณเข้าไปมากเท่าไร ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กไทยยิ่งลดลง
“ต้องแก้ที่กระบวนการและวิธีการจัดการการศึกษา พร้อมสร้างสายธารความรับผิดชอบ คือให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจัดการศึกษา ทั้งผู้ปกครอง อปท.และคณะกรรมการการศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา สามารถเข้าถึงข้อมูลความสัมฤทธิ์ผลของโรงเรียน ไม่รายงานแค่เด็กสอบติดอะไร แต่ต้องรายงานถึงเด็กที่สอบตกและเรียนไม่ได้มาตรฐาน พร้อมค้นหาความสามารถที่แท้จริงของเด็ก เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่า เด็กที่ตกหล่นไปในระบบการศึกษา คือเด็กที่ค้นหาตัวเองไม่เจอว่าอยากเรียนอะไร” รศ.วุฒิสาร กล่าว
ด้าน นายอดุลย์ ภู่ภัทรางค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบัวลาย อบจ.นครราชสีมา และอุปนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันการศึกษาส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้ดีระดับหนึ่ง แต่ยังติดขัดเรื่องข้อกฎหมายที่ไม่ชัดเจน ทำให้การขับเคลื่อนงานทำได้ไม่เต็มที่ ทางออกจึงควรมีข้อกำหนดที่ชัดเจนเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ให้ท้องถิ่นมีอำนาจการบริหารงานศึกษา เช่นเดียวกับกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดงบประมาณที่ชัดเจนของรายได้ท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าการเมืองจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรือใครเป็นนายกรัฐมนตรี
อนึ่ง สำหรับความเห็นจากแกนนำโรงเรียนในสังกัด อปท.จากทั่วประเทศ เสนอแนวทางปฏิรูปการศึกษาผ่าน 7 กลไกสำคัญ ได้แก่ 1.ปฏิรูปนโยบายการศึกษา นำแผนที่มีมาทำเป็นวาระแห่งชาติ 2.ปฏิรูปโครงสร้างการบริหาร ผนึก อบต. อบจ. เทศบาล ร่วมจัดตั้งองค์กรท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนแผนการศึกษาท้องถิ่น 3.ปฏิรูปกฎหมาย ต้องมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท้องถิ่น และมีงบประมาณชัดเจน 4.ปฏิรูปการบริหารจัดการ ด้วยการสร้างทัศนคติกับผู้บริหารแบบใหม่ สถานศึกษาต้องมีอิสระในการจัดการ 5.ปฏิรูปหลักสูตร ให้เยาวชนมีความรู้ เข้าใจชุมชน และมีทักษะอาชีพ 6.ปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษาทุกภาคส่วน ให้เป็นมืออาชีพ 7.ปฏิรูปการสื่อสาร เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้ชุมชนเข้าใจการศึกษาเชิงคุณภาพที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม ข้อเสนอทั้งหมด จะนำไปหารือร่วมกับตัวแทนจากอีก 8 เครือข่ายร่วมปฏิรูปการศึกษา วันที่ 24 เม.ย.เพื่อจัดทำแม่แบบการศึกษาไทย ส่งมอบรัฐบาลชุดต่อไปพิจารณา
รศ.วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวในเวทีสมัชชาเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา : เครือข่ายโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า หนึ่งในปัญหาสำคัญของไทยคือ ความแตกต่างทางสังคม เศรษฐกิจ อปท.เป็นจุดสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างและเป็นคานงัดสำคัญของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำต่างๆ ข้อได้เปรียบของ อปท.ต่อกระบวนการจัดการศึกษาคือ อปท.มีต้นทุนทรัพยากรในพื้นที่ที่หลากหลายทั้งทุนคน ทุนภูมิความรู้ ฯลฯ อีกทั้งยังยืดหยุ่นและคล่องตัวกว่าระบบของกระทรวงศึกษาธิการ หากวางแนวทางปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและภูมิสังคม โดยใช้ปัญหาของสังคมหรือพื้นที่นั้นๆ เป็นโจทย์ขับเคลื่อนการเรียนการสอน ไม่เพียงแต่จะสร้างคุณภาพการศึกษา แต่ยังช่วยเรื่องทักษะดำรงชีวิตของเด็กด้วย มองว่าที่ผ่านมางบประมาณไม่ใช่คำตอบ เพราะยิ่งใส่งบประมาณเข้าไปมากเท่าไร ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กไทยยิ่งลดลง
“ต้องแก้ที่กระบวนการและวิธีการจัดการการศึกษา พร้อมสร้างสายธารความรับผิดชอบ คือให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจัดการศึกษา ทั้งผู้ปกครอง อปท.และคณะกรรมการการศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา สามารถเข้าถึงข้อมูลความสัมฤทธิ์ผลของโรงเรียน ไม่รายงานแค่เด็กสอบติดอะไร แต่ต้องรายงานถึงเด็กที่สอบตกและเรียนไม่ได้มาตรฐาน พร้อมค้นหาความสามารถที่แท้จริงของเด็ก เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่า เด็กที่ตกหล่นไปในระบบการศึกษา คือเด็กที่ค้นหาตัวเองไม่เจอว่าอยากเรียนอะไร” รศ.วุฒิสาร กล่าว
ด้าน นายอดุลย์ ภู่ภัทรางค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบัวลาย อบจ.นครราชสีมา และอุปนายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันการศึกษาส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้ดีระดับหนึ่ง แต่ยังติดขัดเรื่องข้อกฎหมายที่ไม่ชัดเจน ทำให้การขับเคลื่อนงานทำได้ไม่เต็มที่ ทางออกจึงควรมีข้อกำหนดที่ชัดเจนเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ให้ท้องถิ่นมีอำนาจการบริหารงานศึกษา เช่นเดียวกับกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดงบประมาณที่ชัดเจนของรายได้ท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาของท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าการเมืองจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรือใครเป็นนายกรัฐมนตรี
อนึ่ง สำหรับความเห็นจากแกนนำโรงเรียนในสังกัด อปท.จากทั่วประเทศ เสนอแนวทางปฏิรูปการศึกษาผ่าน 7 กลไกสำคัญ ได้แก่ 1.ปฏิรูปนโยบายการศึกษา นำแผนที่มีมาทำเป็นวาระแห่งชาติ 2.ปฏิรูปโครงสร้างการบริหาร ผนึก อบต. อบจ. เทศบาล ร่วมจัดตั้งองค์กรท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนแผนการศึกษาท้องถิ่น 3.ปฏิรูปกฎหมาย ต้องมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท้องถิ่น และมีงบประมาณชัดเจน 4.ปฏิรูปการบริหารจัดการ ด้วยการสร้างทัศนคติกับผู้บริหารแบบใหม่ สถานศึกษาต้องมีอิสระในการจัดการ 5.ปฏิรูปหลักสูตร ให้เยาวชนมีความรู้ เข้าใจชุมชน และมีทักษะอาชีพ 6.ปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษาทุกภาคส่วน ให้เป็นมืออาชีพ 7.ปฏิรูปการสื่อสาร เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้ชุมชนเข้าใจการศึกษาเชิงคุณภาพที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม ข้อเสนอทั้งหมด จะนำไปหารือร่วมกับตัวแทนจากอีก 8 เครือข่ายร่วมปฏิรูปการศึกษา วันที่ 24 เม.ย.เพื่อจัดทำแม่แบบการศึกษาไทย ส่งมอบรัฐบาลชุดต่อไปพิจารณา