คุรุสภา ชงประเด็น ผลิตครูระบบปิด ควบคุมทุกสถาบันอุดมศึกษา ผลิตครูตามใบสั่งทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยวิเคราะห์ตัวเลขความต้องการครูแต่ละสาขาวิชาในรอบปีแล้วค่อยแจกงานให้สถาบันและแห่งผลิตตามนั้น
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาครั้งหน้า ตนจะนำเสนอแนวคิดในการผลิตและพัฒนาครูของนักวิชาการจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แนวคิดดังกล่าวตอบโจทย์ปัญหาสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งผลิตบัณฑิตสายครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์จนล้นตลาดและยังไม่มีคุณภาพสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้ สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเพราะขาดระบบประสานงานและควบคุมดูแลการผลิตครูอย่างจริงจัง สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดหลักสูตรผลิตครูกว่า 100 แห่ง จึงต่างคนต่างผลิตโดยไม่ได้ดูความต้องการที่แท้จริงของตลาด
“แนวคิดของนักวิชาการจาก สกอ. จึงเสนอระบบผลิตครูเป็นระบบปิดที่ควบคุมดูแลระบบรับเข้าและระบบการผลิตครูในภาพรวมทั้งประเทศ ไม่ปล่อยให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตครูตามใจโดยไม่ดูความต้องการที่แท้จริงอีกต่อไป เพราะปัจจุบัน ยอดรวมบัณฑิตสายครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ จบออกมาปีละกว่า 50,000 คน ขณะที่ความต้องการแค่ 20,000 คน แต่ต้องมีการกำหนดเป้าหมายการผลิตครูแต่ะสาขาวิชาในแต่ละปี จากนั้น สกอ. ก็รับเอาเป้าหมายในการผลิตครูนี้ ไปประสานกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เพื่อผลิตครูตามเป้าหมายดังกล่าวทั้งในแง่ของประมาณและคุณภาพ เมื่อบัณฑิตสำเร็จการศึกษา ก็รับบรรจุเข้าเป็นครูด้วย ดังนั้น ระบบรับเข้าจะต้องคัดเลือกคนที่เก่ง มีความสามารถจริงๆ มาเรียนครู และต้องมีการกำหนดเงื่อนไขด้วยว่า เจ้าตัวไม่สามารถเลือกสถานที่บรรจุได้ ส่งไปเป็นครูที่ไหนก็ต้องไป เพราะถือว่าตัวเองได้โอกาสที่ดีกว่าคนอื่น มีการการันตีเรื่องตำแหน่งงานหลังเรียนจบให้” ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า ระบบการผลิตครูแบบปิดนี้ จะช่วยให้การผลิตและพัฒนาครูมีคุณภาพมากขึ้น และได้ครูตรงกับสาขาวิชาที่ขาดแคลนครู อย่างไรก็ตาม อาจต้องแลกกับการให้สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งต้องหยุดหรือลดการผลิตครู จากเคยผลิตปีละเป็นพันคนอาจต้องลดลงเหลือหลักร้อยคน เพื่อให้สมดุลย์กับความต้องการครูที่แท้จริง ทั้งนี้ คุรุสภาได้นำเสนอแนวคิดดังกล่าวต่อ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศับ รมว.ศึกษาธิการ แล้วระหว่างที่ รมว.ศึกษาธิการมาตรวจเยี่ยมคุรุสภาเมื่อวันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา และหลังจากนี้ ก็จะนำเข้าไปพูดคุยในบอร์ดคุรุสภาต่อไป
ด้าน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า แนวคิดนี้ได้ให้คุรุสภาไปศึกษาข้อมูลมาเพิ่มเติม เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบค่อนข้างมาก แนวคิดนี้ ถ้าทำได้ก็ดี แต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายเรื่อง และต้องดูความต้องการครูในอนาคต และต้องคำนึงถึงประเด็นการให้บัณฑิตที่จบจากสาขาวิชาอื่นๆ มาเป็นครูได้ด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาครั้งหน้า ตนจะนำเสนอแนวคิดในการผลิตและพัฒนาครูของนักวิชาการจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แนวคิดดังกล่าวตอบโจทย์ปัญหาสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งผลิตบัณฑิตสายครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์จนล้นตลาดและยังไม่มีคุณภาพสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้ สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเพราะขาดระบบประสานงานและควบคุมดูแลการผลิตครูอย่างจริงจัง สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดหลักสูตรผลิตครูกว่า 100 แห่ง จึงต่างคนต่างผลิตโดยไม่ได้ดูความต้องการที่แท้จริงของตลาด
“แนวคิดของนักวิชาการจาก สกอ. จึงเสนอระบบผลิตครูเป็นระบบปิดที่ควบคุมดูแลระบบรับเข้าและระบบการผลิตครูในภาพรวมทั้งประเทศ ไม่ปล่อยให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตครูตามใจโดยไม่ดูความต้องการที่แท้จริงอีกต่อไป เพราะปัจจุบัน ยอดรวมบัณฑิตสายครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ จบออกมาปีละกว่า 50,000 คน ขณะที่ความต้องการแค่ 20,000 คน แต่ต้องมีการกำหนดเป้าหมายการผลิตครูแต่ะสาขาวิชาในแต่ละปี จากนั้น สกอ. ก็รับเอาเป้าหมายในการผลิตครูนี้ ไปประสานกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เพื่อผลิตครูตามเป้าหมายดังกล่าวทั้งในแง่ของประมาณและคุณภาพ เมื่อบัณฑิตสำเร็จการศึกษา ก็รับบรรจุเข้าเป็นครูด้วย ดังนั้น ระบบรับเข้าจะต้องคัดเลือกคนที่เก่ง มีความสามารถจริงๆ มาเรียนครู และต้องมีการกำหนดเงื่อนไขด้วยว่า เจ้าตัวไม่สามารถเลือกสถานที่บรรจุได้ ส่งไปเป็นครูที่ไหนก็ต้องไป เพราะถือว่าตัวเองได้โอกาสที่ดีกว่าคนอื่น มีการการันตีเรื่องตำแหน่งงานหลังเรียนจบให้” ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า ระบบการผลิตครูแบบปิดนี้ จะช่วยให้การผลิตและพัฒนาครูมีคุณภาพมากขึ้น และได้ครูตรงกับสาขาวิชาที่ขาดแคลนครู อย่างไรก็ตาม อาจต้องแลกกับการให้สถาบันอุดมศึกษาบางแห่งต้องหยุดหรือลดการผลิตครู จากเคยผลิตปีละเป็นพันคนอาจต้องลดลงเหลือหลักร้อยคน เพื่อให้สมดุลย์กับความต้องการครูที่แท้จริง ทั้งนี้ คุรุสภาได้นำเสนอแนวคิดดังกล่าวต่อ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศับ รมว.ศึกษาธิการ แล้วระหว่างที่ รมว.ศึกษาธิการมาตรวจเยี่ยมคุรุสภาเมื่อวันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา และหลังจากนี้ ก็จะนำเข้าไปพูดคุยในบอร์ดคุรุสภาต่อไป
ด้าน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า แนวคิดนี้ได้ให้คุรุสภาไปศึกษาข้อมูลมาเพิ่มเติม เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบค่อนข้างมาก แนวคิดนี้ ถ้าทำได้ก็ดี แต่ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายเรื่อง และต้องดูความต้องการครูในอนาคต และต้องคำนึงถึงประเด็นการให้บัณฑิตที่จบจากสาขาวิชาอื่นๆ มาเป็นครูได้ด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่